วันจันทร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2558

สุสานทหารสัมพันธมิตรดอนรัก กาญจนบุรี


ดูหนังเกี่ยวกับสะพานข้ามแม่น้ำแควมาก็หลายเรื่อง (ล่าสุดก็เรื่อง The Railway Man) วันนี้มีโอกาสได้มาเยือนเมืองกาญจน์...ผมไม่รีรอที่จะปั่นจักรยานไปยัง "สุสานทหารสัมพันธมิตร (War Cemetery)"





วิกิพีเดียบรรยายว่า...
"สุสานทหารสัมพันธมิตรดอนรัก" หรือ "สุสานทหารสหประชาชาติ" หรือที่ชาวจังหวัดกาญจนบุรีทั่วไปเรียกว่า "ป่าช้าอังกฤษ" เป็นสุสานขนาดใหญ่บนพื้นที่ ๑๗ ไร่ บรรจุศพเชลยศึกที่เสียชีวิตระหว่างการสร้างทางรถไฟสายมรณะถึง ๖,๙๘๒ หลุม โดยเชลยศึก ๓๐๐ คนเสียชีวิตด้วยอหิวาตกโรคและฝังไว้ที่ค่ายนิเกะ (ประมาณ ๑๕ กิโลเมตร ก่อนถึงด่านเจดีย์สามองค์) ส่วนที่เหลือได้จากหลุมฝังศพเชลยศึกตามค่ายต่างๆและยังมีสุสานช่องไก่ ซึ่งรัฐบาลไทยและฝ่ายสัมพันธมิตรได้ตกลงกันเมื่อวันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๙๗ เพื่อสร้างสุสานสองแห่งนี้ขึ้น บรรยากาศในสุสานเงียบสงบและร่มรื่น พื้นที่ภายในได้รับการตกแต่งไว้อย่างเป็นระเบียบสวยงาม เหนือหลุมฝังศพทุกหลุมมีแผ่นทองเหลืองจารึก ชื่อ อายุ และประเทศของผู้เสียชีวิต บรรทัดสุดท้ายเป็นคำไว้อาลัยที่โศกเศร้า..."

อ่านป้ายหน่อยน้า  ผมพิมพ์ออกมาให้แล้ว...
สุสานสงครามกาญจนบุรีเมื่อเดือนธันวาคม ปี ค.ศ. 1911 หลังจากที่ญี่ปุ่นเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่สองแล้ว กองทัพญี่ปุ่นได้ยึดครองดินแดนส่วนใหญ่ในเอเซียอาคเนย์อย่างรวดเร็ว ต่อมาในปี ค.ศ. 1942 ญี่ปุ่นตัดสินใจใช้แรงงานเชลยศึกและกรรมการพลเรือนสร้างทางรถไฟทางเดียวที่บ้านโป่งทางด้านตะวันออกเชื่อมกับสถานีรถไฟเมืองทันยูชายัค ทางด้านตะวันตกเพื่อนร่นระยะการเดินทาง และปกป้องเส้นทางการลำเลียงระหว่างประเทศสยาม (ประเทศไทยในปัจจุบัน) และประเทศพม่า (ปัจจุบันคือเมียนมา) การสร้างทางรถไฟดังกล่าวมีผู้เสียชีวิตที่เป็นเชลยศึกไปประมาณ ๑๕,๐๐๐ คน และพลเรือนอีก ๑๐๐,๐๐๐ คน เนื่องจากประสบโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ การขาดอาหาร ความเหน็ดเหนื่อยอ่อนเพลีย และการทารุณกรรม
สุสานแห่งนี้เป็นสุสานใหญ่ที่สุดในจำนวนทั้งสามแห่งที่ตั้งอยู่ตลอดเส้นทางรถไฟพม่า-ไทย ตั้งอยู่ใกล้สถานที่ตั้งค่ายกักกันเชลยศึก "กาญจนบุรี" ในอดีต ซึ่งเป็นสถานที่ที่เชลยศึกส่วนใหญ่เดินทางผ่านไปที่ค่ายอื่น Colin St Chair Oakes เป็นผู้ออกแบบสุสานซึ่งหน่วยสุสานทหารบก (The Army Graves Service) สร้างขึ้นหลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง หน่วยงานดังกล่าวได้ดำเนินการย้ายศพจากที่ฝังศพของค่ายต่าง ๆ และสถานที่อื่น ๆ ตลอดเส้นทางรถไฟช่วงล่างในฝ่ายไทยรวมทั้งสถานที่อื่น ๆ ในประเทศไทยด้วย
สุสานแห่งนี้สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงผู้เสียชีวิตจากประเทศในเครือจักรภพมากกว่า ๕,๐๐๐ คน และจากฮอลันดา ๑,๘๐๐ คน และในจำนวนนี้มีผู้เสียชีวิตจากโรคภัยต่าง ๆ ที่ Nieke และ Changaraya ประมาณ ๓๐๐ คน หลังจากดำเนินการเผาศพแล้วได้นำอังคารไปฝังที่หลุมฝังศพสองแห่ง ภายในสุสาน สำหรับรายนามของผู้เสียชีวิตจารึกไว้ที่ศาลาของสุสาน นอกจากนั้นหลุมฝังศพทหารของกองทัพอินเดีย สิบเอ็ดคนที่ฝังอยู่ตามสถานที่อื่นในประเทศไทยซึ่งไม่สามารถดูแลรักษาได้ รายนามเหล่านั้นถูกจารึกไว้ที่ผนังตึก ทางเข้าสุสาน
คณะกรรมาธิการสุสานสงคราม (The Commonwealth War Graves Commission) รับผิดชอบในการดูแลบำรุงรักษาสุสานและอนุสาวรีย์ประมาณ ๑๕๐ ประเทศ ซึ่งระลึกถึงทหารจากประเทศต่าง ๆ ในเครือจักรภพประมาณ ๑,๗๐๐,๐๐๐ คน ซึ่งเสียชีวิตในระหว่างสงครามโลกทั้งสองครั้ง ผู้ที่ได้รับการระลึกถึงทั้งที่นี่และที่อื่น ๆ รวมผู้ชายและผู้หญิงที่ให้ความช่วยเหลือในช่วงสงคราม ซึ่งเป็นผู้ที่นับถือศาสนาต่าง ๆ และผู้ที่ไม่เลื่อมใสในศาสนาใด














๑๑ ชื่อของทหารกองทัพอินเดียซึ่งมิได้ถูกฝังที่นี่...


คริสตศักราช 1939 - 1945  แผ่นดินซึ่งเป็นที่ตั้งของสุสานแห่งนี้เป็นสมบัติของประชาชาวไทย ได้อุทิศให้เป็นสถานที่พักตลอดกาลสำหรับทหารเรือ ทหารบก และทหารอากาศ ผู้ซึ่งได้รับเกียรติ ณ ที่นี้...


มีป้ายบอกกฎระเบียบในการเข้าเยี่ยมชมไว้ด้วย...



บั้นปลายของชีวิตเหมือนดั่งใบไม้ร่วง เกิดมาแล้วอย่าให้เสียชาติเกิด!

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น