วันอังคารที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

พระเจดีย์ย่อมุมไม้ ๒๘ วัดป้านปิง

ท้องฟ้าและแสงแดดวันนี้ดีเหลือเกิน! ผมยืนอยู่ที่พระเจดีย์วัดป้านปิง (2) ถ่ายภาพพระพุทธรูป

พระเจดีย์ (2) ตั้งอยู่หลังวิหาร (1) รูปทรงแบบล้านนา...


 

เจดีย์เป็นแบบฐานสูงย่อมุมไม้ ๒๘ ทรง ๑๒ เหลี่ยม เป็นเจดีย์คู่วัดมาตั้งแต่ต้น มีฐานกว้าง ๑๐.๒๐ เมตร สูงประมาณ ๒๕ เมตร เจดีย์เป็นทรงแบบล้านนาฝีมือช่างหลวง และได้บูรณะครั้งสุดท้ายเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๕... 


นิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับเดือนกันยายน ๒๕๕๖ รศ.สมใจ นิ่มเล็ก เขียนว่า...

คำว่า ย่อมุม เป็นวิธีการหนึ่งของการปฏิบัติงานของสถาปัตยกรรมไทยที่เกี่ยวข้องกับผังพื้นที่ของฐาน แท่น ตัวอาคาร หรือรูปทรงของเสา และส่วนยอดหรือส่วนหลังคา การย่อมุม คือวิธีการแตกมุมใหญ่ของสิ่งต่าง ๆ ให้เป็นมุมย่อย แต่เดิมมักทำกับเสาไม้ ฐาน หรือแท่นไม้ ช่างจึงเรียกวิธีการนี้ว่าย่อมุมไม้... ต่อมาก็เรียกการย่อมุมของอาคารสถาปัตยกรรมไทยที่เป็นอาคาร เครื่องก่อ เสาที่ก่อด้วยอิฐ โดยมีคําว่า ไม้อยู่ด้วย เช่น การย่อมุมของเจดีย์ที่มีสิบสองมุม หรือยี่สิบมุม ว่า เจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง หรือเจดีย์ย่อมุมไม้ยี่สิบ...



คงไม่ต้องนับแล้วว่าย่อไว้ ๒๘ มุมหรือเปล่า?  

อุโบสถวัดป้านปิง

อุโบสถวัดป้านปิง (3) หลังเล็ก ตั้งอยู่ไม่ไกลจากวิหาร หันหน้าไปทางเดียวกัน ผมดูก็รู้ว่าเก่ามาก!

ดูใบเสมากำหนดเขตพัทธสีมาซิครับ รับประกันได้ว่าเก่าจริง!

 

ไม่สามารถเห็นได้ซึ่งภายใน ตาแก่เมืองรถม้าได้แต่เก็บภาพความงามอันล้ำค่าจากภายนอกมาฝากเพื่อน ๆ
 
 
 
 
 
ด้านหน้าอุโบสถมีสถูปเจดีย์บรรจุอัฐิพระครูสังฆกิจวิรุฬห์ (สิงห์คำ ธมฺมทินฺโน) อดีตเจ้าอาวาสวัดป้านปิง (พ.ศ. ๒๔๗๐ - ๒๕๓๖) ตั้งอยู่ ท่านเป็นประธานในการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดป้านปิงครั้งสุดท้าย

 
สาตุ๊ ๆๆ ขอกราบท่านพระครูผู้สร้างและพัฒนา...

วิหารวัดป้านปิง

วิหารวัดป้านปิง (1) งดงามตามรูปแบบสถาปัตยกรรมล้านนา มีบันได ๑๐ กว่าขั้นขึ้นสู่มุขหน้า ผมเห็นพญาสิงห์นั่งผงาดอยู่เหนือเสา... 
 
 
 
กำแพงสีขาวล้อมรอบวิหาร (1) และพระเจดีย์ (1) (จะเรียกว่ากำแพงแก้วได้หรือเปล่าน้า???)

 
 
หลังคาวิหาร (1) ลดชั้น ๓ ระดับ ประกอบด้วยช่อฟ้าใบระกา คันทวย หางหงส์แลหน้าบันที่งดงามอ่อนช้อย
 
 
ลวดลายวิจิตรเหนือประตูกลาง...
 
 
 
ประตูข้าง...

 

กล่าวว่าพระประธานและพระอันดับด้านขวาเป็นพระสิงห์หนึ่งที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของล้านนา (ไม่ปรากฏนามผู้สร้าง) เป็นพระพุทธรูปศิลปะแบบเชียงแสน ซึ่งบางทีก็เรียกว่า "พระเพชรสิงห์หนึ่ง" 

 
องค์พระประธานหน้าตักกว้าง ๑.๗๐ เมตร องค์รองด้านขวาหน้าตักกว้าง ๑.๓๐ เมตร 

เพดานวิหารงดงามยิ่ง ต้องแหงนหน้าขึ้นเก็บภาพมาฝากเพื่อน ๆ...

 


มีฆ้องให้ตีบอกเทวดาว่ามาเยือน...


 

เดินมาดูด้านหลังด้วยกันครับ เห็นผนังเรียบง่ายแล้วชอบใจ...


ขอฝากภาพเหล่านี้ไว้ให้คนรุ่นหลังครับ!

วัดป้านปิง จ.เชียงใหม่

วัดป้านปิง ตั้งอยู่เลขที่ ๑๙๔ ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่...  

 ๒๔ มกราคม ๒๕๖๐ ผมปั่นจักรยานถึงวัดป้านปิงเมื่อเวลา ๑๑.๕๒ น.

คำว่า "ป้านปิง" หมายถึง "ขวางหรือกั้นกระแสน้ำปิงให้ไหลไปทางอื่น" ดูจากแผนที่แล้วพบว่าวัดป้านปิงนั้นตั้งอยู่ห่างจากแม่น้ำปิงมากทีเดียว ผู้รู้บางท่านสันนิษฐานว่าชื่อวัดอาจถูกเรียกเพี้ยนออกไปก็ได้...

วิกิพีเดียกล่าวว่า...

สันนิษฐานว่าวัดสร้างขึ้นในยุคต้นของอาณาจักรล้านนา ตั้งแต่สมัยพญามังรายจนถึงสมัยพญาแสนเมืองมา (ราว พ.ศ. ๑๘๓๙ - ๑๙๕๔) เมื่ออาณาจักรล้านนาล่มสลาย วัดต่าง ๆ จึงชำรุดทรุดโทรมลงรวมทั้งวัดป้านปิงด้วย จนกระทั่งถึงช่วงสถาปนาอาณาจักรล้านนาใหม่ ราว พ.ศ. ๒๓๒๖ ได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์ขึ้นมาใหม่
ไม่รู้ล่ะ...ตาแก่เมืองรถม้าออกเดินเก็บภาพมาให้เพื่อน ๆ ทันที แดดกำลังดีเลย 


 
มีป้ายประวัติวัดป้านปิงด้วย ตาแก่ไม่พิมพ์ให้แล้วนะ...ตาลายอ่ะ!  ฮา
 

ดินจี่ฮ่ออิฐฐานกุฏิ ทางวัดขุดพบจากบริเวณซากฐานกุฏิโบราณเมื่อตอนจะสร้างกุฏิเจ้าอาวาสหลังใหม่เมื่อ พ.ศ. 2475 วัดที่พบอิฐเผาชนิดนี้มี วัดพวกแต้มในเขตกำแพงเมือง พบหลายสิบก้อนและพบอีกเล็กน้อยที่วัดอุโมงค์ เชิงดอยสุเทพ ความสำคัญคือช่างล้านนาโบราณจะใช้สร้างฐานโฮงหลวง (กุฏิเจ้าอาวาส) ซึ่งเป็นอิฐเผาที่เชื่อกันว่าช่างล้านนาเรียนรู้มาจากจีนฮ่อ มณฑลยูนานที่ติดต่อค้าขายกับอาณาจักรล้านนาในยุคต้นๆ จึงเรียกอิฐนี้ว่า ดินจี่ฮ่อ เป็นอิฐดินเผาแบบจีนฮ่อ มีประมาณ ๒๐ ก้อนที่อยู่สภาพดี แต่ละก้อนยาว ๖๐ ซม. กว้างและหนา ๒๘ ซม. 

(ที่มา - templeofchiangmai.weebly.com)

 
หอไตรสวยล้ำค่า...
 

 
 
หอระฆังตั้งอยู่ข้างวิหาร....

มองจากในวิหารผ่านช่องหน้าต่าง...


เข้ามาอยู่ในวิหารแล้วครับ... เดี๋ยวถ่ายรูปให้ดู!

พระเจดีย์วัดพันอ้น

พระเจดีย์ (3) ทรงปราสาทล้านนาของวัดพันอ้น นามว่า "พระเจดีย์สารีริกธาตุสิริรักษ์ "  ทั้งองค์ทาด้วยสีทองดูงดงาม...

 

พระเจดีย์ (3) ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันตกของวิหาร (2)
 
 
ในซุ้มจระนำประดิษฐานพระพุทธรูป...

 
ตัวระฆังคว่ำหุ้มทองจังโก ซูมเก็บภาพมาให้เพื่อน ๆ ดูแล้วดังนี้...
 

 
  
 
 
 
 

งามแต้ ๆ น้อ!