วันจันทร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

ตุงไจยวัดป่าเป้า

ที่วัดป่าเป้า จังหวัดเชียงใหม่ ผมเห็นเสาตุงไจย (ธงชัย) สีทองตั้งอยู่ข้าง ๆ เจดีย์สร้างใหม่ พ.ศ. ๒๕๙๙....

กล่าวว่าชนชาติมอญมีการสร้าง "เสาหงส์" เป็นพุทธบูชามาตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ คือในปี พ.ศ. ๑๑๔๓  เปรียบเสมือน “เสาธง” ตามความเชื่อเรื่องการบูชาพระพุทธเจ้าด้วยธง...

ตุงล้านนา หมายถึงเครื่องใช้ในการประดับหรือใช้ในการประกอบพิธีกรรมอย่างหนึ่งของคนล้านนา คำว่า “ตุง” ตรงกับภาษาบาลีว่า “ปฏากะ” หรือ "ธงปฏาก"  มีลักษณะเป็นแผ่นวัตถุทำจากผ้าหรือไม้ก็ได้ ส่วนปลายจะแขวนห้อยเป็นแผ่นยาวลงมา

 

ตุงกระด้างมีลักษณะเป็นธงตะขาบ ทำด้วยแผ่นไม้ สังกะสี หรือวัสดุอื่น ประดับด้วยลวดลายวิจิตรบรรจง ที่สวนปลายทั้งสองด้านมักจะทำให้แหลมขนาดพอเหมาะใช้แขวนติดกับเสา ลวดลายที่แกะสลักบนตุงกระด้างได้แก่ ลายพฤกษา ลายดอกไม้ ลายนักษัตร สันนิษฐานว่า ตุงกระด้าง เป็นวัฒนธรรมที่ล้านนารับมาจากพม่า ชาวพม่านิยมสร้างตุงกระด้างสำหรับถวายแด่พระรัตนตรัยอย่างถาวร มักถวายเป็นคู่ไว้หน้าพระประธานหรือหน้าอุโบสถ วิหาร บางแห่งทำไว้กลางลานวัดหรือใกล้พระเจดีย์  

ตามตำนานกล่าวว่าสร้างขึ้นเพื่อบูชาพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งเสด็จลงมาจากดาวดึงส์ หลังไปเทศน์โปรดพุทธมารดา ดังนั้นบนยอดเสาธงจึงทำเป็นรูปสัตว์ต่างๆ ในวรรณคดี เช่น ช้างสามเศียร ม้า กินนร กินรีเป็นต้น ไม่จำเป็นต้องเป็นรูปหงส์ ส่วน “เสาหงส์” สร้างขึ้นตามตำนาน “หงสาวดี” ในอดีตวัดมอญจึงมีการสร้างเสาทั้ง ๒ ชนิด นั่นคือ เสาธง ๑ เสา และ เสาหงส์ ๑ เสา ภายหลังคงพิจารณาเห็นว่า เกิดความยุ่งยาก สิ้นเปลือง จึงรวมความเชื่อทั้งสองประการเข้าไว้ด้วยกัน เหลือเพียงเสาหงส์เสาเดียวใช้แขวนธงด้วย

(ที่มา - chiangmainews.co.th  และ thai.tourismthailand.org)

ผมขออนุญาตนำภาพจากอินเทอร์เน็ตมาให้เพื่อน ๆ ดูอีก ๒ บานดังนี้...

วัดช้างมูบ จ.เชียงรายสร้างโดยกลุ่มชนไทใหญ่ เมื่อ พ.ศ.2420 - ที่มา board.postjung.com

เสาหงส์วัดไจ๊ปุ่น เมืองพะโค (หงสาวดี) : ที่มา wp.me

นี่ครับที่ วัดป่าเป้า เสาตุงตั้งอยู่บนฐาน ๖ เหลี่่ยม...


 
 

คิดถึงอาจารย์ดำ (ดร.ธงชัย) อ่ะ น่าจะตั้งชื่อใหม่ว่า "อาจารย์ตุงไชย" 555 :)

วัดป่าเป้า จ.เชียงใหม่

วัดป่าเป้า (W) ตั้งอยู่เลขที่ ๕๘ บริเวณแจ่งศรีภูมิ ถนนมณีนพรัตน์ ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่...

 

เป็นวัดพม่าที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นและสวยงาม สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๒๖ โดยหม่อมบัวไหล พระสนมเชื้อสายไทใหญ่ วัดนี้หาไม่ยากครับ ผมขอจัดให้เป็นอีกวัดหนึ่งซึ่งผู้ไปเยือนนครเชียงใหม่ต้องแวะชมให้ได้ (It's a must!) เหตุผลก็คือ ๑. อยู่ไม่ไกลจากศูนย์กลาง ไม่ว่าท่านจะพักอยู่ที่ไหนในตัวเมืองก็สามารถเดินไปถึงได้อย่างง่ายดาย (walkable distance) ๒. เป็นวัดเก่าที่ยังคงรักษาสภาพเดิมไว้ได้เป็นอย่างดี  ๓. วัดสถาปัตยกรรมพม่าเป็นศูนย์รวมใจไทใหญ่แห่งแรกในไทย ยังพอจะเห็นชาวไทใหญ่กับกิจกรรมและประเพณีที่หลงเหลืออยู่บ้าง

วันที่  ๒๔ มกราคม ๒๕๖๐ ผมปั่นจักรยานไปตามถนนมณีนพรัตน์ จากสี่แยกช้างเผือกเข้าใกล้แจ่งศรีภูมิ เห็นซุ้มประตูวัดป่าเป้าทางด้านซ้ายมือ ต้องหยุดรถเก็บภาพไว้...

 

 ขี่จักรยานเข้าไปจอดไว้ใกล้กำแพง...


ในอดีตเป็นป่ามีต้นเป้าปกคลุม จึงเป็นที่มาของชื่อวัด วันนั้นไม่เห็นต้นเป้า (ถึงเห็นก็คงไม่รู้จัก...ฮา) ผมกลับมาแล้วถึงได้เห็นรูปในอินเทอร์เน็ต..

 
 
๑๑ โมงเช้าแสงเงายังพอไหว... รีบออกเดินเก็บภาพทันที...
 
 
 
 
  
 
 
 
 
 
 
 
 

บรรยากาศพม่า ๆ เลยนะเนี่ย!

วันเสาร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

only have your guts and eyes

 

สั่งซื้อหนังสือมือสองจากร้านค้าออนไลน์... ผมได้มาอีก ๑ เล่ม  "Cape Town" เป็น guide book จากสำนักพิมพ์ Lonely Planet
 
 
พิมพ์เมื่อเดือนมีนาคม ๒๕๕๑  หนังสือหนา ๒๐๐ หน้า ยังสภาพใหม่อยู่เลยครับ หุ้มปกพลาสติกไว้อย่างดี ราคาปกคือ $12.95 แต่ผมซื้อมาในราคา ๓๐ บาท...

 
มีแผนที่และภาพพิมพ์สวยงามบนกระดาษเนื้อดี นับว่าคุ้มสุด ๆ สำหรับหนังสือราคาเท่ากับก๋วยเตี๋ยวร้านดังในห้างฉัตรเพียงแค่ครึ่งชาม!
 

วันนี้ที่จะพูดไม่ใช่เรื่องเมือง Cape Town ในอาฟริกาใต้ เพราะยังไง ๆ ก็ไปไม่ได้แล้ว แต่ผมอยากให้เพื่อน ๆ พิจารณารูปภาพที่เค้าลงไว้ในหนังสือท่องเที่ยวชั้นนำอย่าง Lonely Planet สักหน่อย

 
เวลาเดินทางท่องเที่ยวพร้อมกับกล้องถ่ายรูป (ไม่จำเป็นต้องราคาเป็นหมื่นเป็นแสน) ผมอยากให้เพื่อน ๆ กวาดสายตามองหา subject ที่มีสีสันแปลกตา มีแสงเงาที่ทำให้เกิดรูปทรง ถ้าพบเห็นก็ให้กดชัตเตอร์เก็บภาพเอาไว้ทันที อย่าได้รีรอนะครับ อย่างเช่นภาพนี้ที่ผมบันทึกไว้ได้ขณะที่นั่งอยู่บนเรือจากมัณฑะเลย์ซึ่งล่องไปพุกาม


หรืออะไรก็ตามที่ปรากฏอยู่เบื้องหน้าหรือกำลังเคลื่อนจะผ่านไป...


แม้แต่ขณะนั่งอยู่บนรถเมล์ที่แออัด แม่ค้าที่หาบสินค้าเข้ามาประชิดหน้าต่างก็เป็นภาพที่คุ้มค่าต่อการเก็บไว้เป็นบันทึกแห่งความทรงจำ...

 
ได้ภาพมาแล้ว ไม่ว่าจะผ่านไปนานเท่าใด ผมก็ยังบอกได้เสมอว่าเป็นที่ใด ตอนนั้นกำลังทำอะไร อย่างเช่นภาพนี้แม้จะไม่สามารถระบุวันเวลา แต่ก็บอกได้ว่าเป็นคืนวันเพ็ญเมื่อผมเดินเที่ยวอยู่ในฮอยอัน ประเทศเวียดนาม...
 
 
สิ่งที่ได้จากการเดินทาง นอกจากประสบการณ์แล้ว หากเพื่อน ๆ มีสายตาสอดส่ายหาสีสันและแสงเงาในแต่ละสถานที่ที่ไปเยือนเพื่อเก็บภาพกลับมา มันก็คือรางวัลซึ่งมีค่าเกินกว่าจะบรรยายแล้วล่ะ

วันศุกร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

ภาพเก็บตกวัดอุปคุต

วัดไม่ใช่บาร์ ศาลาไม่ใช่บ่อน...
 
 
สำหรับผู้ที่มีกล้องถ่ายรูปอยู่ในมือ นอกจากความสุขสงบแล้วยังอาจได้รูปที่มีสีสันแปลกตาเก็บไว้ชื่นชมในภายหลังได้
 
 
 
ความสุขของผมนั้นมีอยู่ทุกขณะในที่ ๆ มิใช่บาร์หรือบ่อน! ผมมีภาพเก็บตกวัดอุปคุตเหลืออยู่อีกไม่น้อย ขออนุญาตนำมาแบ่งปันบ้างตามสมควรดังนี้....

 
 
หอกลอง-หอระฆัง หากไม่มีลังเบียร์ก็อาจไม่รู้ว่ากลองนั้นใหญ่แค่ไหน? อิอิ  ฆ้องอยู่ที่นี่กั๊บ...


วัดดี ๆ อย่างนี้ แสงสีมีให้เลือกเยอะครับ...










 
จบได้แล้ว...วัดอุปคุต (ฮา)

วันพุธที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

วิหารวัดอุปคุต จ.เชียงใหม่

 
จากถนนท่าแพเดินผ่านซุ้มประตู (1) เข้ามาในวัดอุปคุต ตาแก่เมืองรถม้าขอหันหลังกลับไปเก็บภาพพระพุทธรูปสีทองซึ่งประดิษฐานอยู่ในซุ้มจระนำมาอวดเพื่อน ๆ หน่อยนะ...
 
 
ถัดมาทางนี้ (2) เป็นวิหารหันหน้าไปทางทิศเหนือ...
 
 
 
 
 
ข้างวิหารด้านทิศตะวันออกมีมุขขึ้นสู่ประตูทางเข้า (ขึ้นบันไดเพียงไม่กี่ขั้น)  เทวดารักษาประตูเชิญชวนให้ก้าวเข้าไปชมภายในวิหาร...

 

 ภายในวิหารดูลานตา เก็บภาพมาฝากเพื่อน ๆ แล้วดังนี้...





 
 

 
งดงามจริง ๆ ครับ...วิหารวัดอุปคุต