วันอาทิตย์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2566

สำนักวิปัสสนาวัดป่ากล้วย

าแก่เมืองรถม้าปั่นจักรยานจากวัดบุ่งวังงิ้ว (W1) ระยะทางประมาณกิโลเมตรครึ่ง ถึงปากทางเข้าวัดป่ากล้วย (W2) ซึ่งมีซุ้มประตูสวยตั้งอยู่ตรงปากทาง....
 

เลี้ยวซ้ายเข้าไปตามถนนเฉลิมพระเกียรติ ผ่านสำนักงานเทศบาลตำบลคุ้งตะเภา...

 
 
 
 
ด้านขวามือผมเห็นทางเข้าสำนักวิปัสสนาวัดป่ากล้วยมีป้ายบอกชัดเจน...
 
ภาพจาก google street views - ขอขอบคุณ
 
 
จอดจักรยานข้างรั้ว (2) 
 


สำนักวิปัสสนาวัดป่ากล้วย มีพระเฉลิมโชค ฉนฺทชาโต เป็นเจ้าสำนัก สำนักปฏิบัติธรรมมีทั้งอุบาสกและอุบาสิกาเข้ามาบวชถือศีล 8 ศีล 5 สำนักปฏิบัติธรรมนี้จัดแยกส่วนสัดสำนักปฏิบัติธรรมเป็นภูมิทัศน์แบบวัดป่า โดยแบ่งเขตพื้นที่ด้านทิศตะวันออกของทางวัดเป็นสำนักเอกเทศ  


เดินเข้าไปสำรวจโดยเร็ว...เห็นศาลามกุฏพันธนเจดีย์อนุสรณ์
 

 
 
 
มกุฏพันธนเจดีย์ คือสถานที่ถวายเพลิงพระบรมศพองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี กล่าวว่า.... 
มกุฏพันธนเจดีย์ เป็นสถูปโบราณที่ถูกสร้างขึ้นตรงสถานที่ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระของพระพุทธเจ้า ถูกสร้างขึ้นในรัชสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช บริเวณด้านตะวันออกของ เมืองกุสินารา หรือปัจจุบันคือ ตำบลกาเซีย รัฐอุตตรประเทศ ตรงบริเวณที่ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระของพระพุทธเจ้าในวันอัฏฐมีบูชา เดิมทีบริเวณมกุฏพันธนเจดีย์เป็นเชิงตะกอนไม้จันทน์หอมเพื่อใช้สำหรับถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระของพระพุทธเจ้า ต่อมาพระเจ้าอโศกมหาราชจึงสั่งให้สร้างพระสถูปครอบบริเวณนั้นลง แต่สมัยต่อมาเมืองกุสิรานาถูกรุกรานและพระสถูปองค์นี้ถูกทำลายลงเหลือเพียงแต่ซากปรักหักพัง ภายหลังได้มีการค้นพบเป็นซากพระสถูปขนาดใหญ่ดังที่เห็นในปัจจุบัน ซึ่งต่อมารัฐบาลอินเดียได้เข้ามาบูรณะซ่อมแซมพระสถูปองค์นี้ไว้อย่างดี ถ้าวัดรอบฐานของพระสถูปองค์นี้มีความยาวทั้งหมด 46.14 เมตร ส่วนเส้นผ่าศูนย์กลาง 37.18 เมตร
ภาพ capture จากคลิปวิดีโอใน YouTube - ขอขอบคุณ

เสียดายที่ไม่ได้เห็นสิ่งที่อยู่ภายในศาลามกุฏพันธนเจดีย์อนุสรณ์ ไม่เป็นไรครับ เก็บภาพอื่น ๆ ก็ได้...
 

โบสถ์หลังน้อย (3) งามล้ำ...





 
ผู้ต้อนรับตรงปากทางเข้าสวนป่าปฏิบัติธรรม... 

 
บริเวณลานธรรมะเดชสุภามีแม่ชีหลายคนกำลังทำงาน ผมย่องเข้ามาถ่ายรูปพระพุทธรูปและด้านข้างของศาลาพุทธบูชาเทวาลัย

 
 
 
 
 
 
 

มีถนนตรงไปยังสวนป่า แต่ผมไม่กล้าเดินเข้าไป เกรงว่าจะรบกวนความสงบสุขของสำนักวิปัสสนาแห่งนี้ ผมกลับออกมาเก็บภาพฌาปนสถานของวัดป่ากล้วยซึ่งสวยงามที่สุดเท่าที่เคยเห็น...






เสียดายที่ไม่ได้เก็บภาพส่วนที่เป็นของวัดป่ากล้วยซึ่งอยู่ข้าง ๆ เพราะผมไม่รู้จริง ๆ

อุโบสถวัดบุ่งวังงิ้ว จ.อุตรดิตถ์

วัดบุ่งวังงิ้วสังกัดมหานิกาย มีอุโบสถ (4) ตั้งอยู่ด้านหลัง...

 
แตกต่างจากส่วนใหญ่ที่ผมเคยเห็น อุโบสถวัดบุ่งวังงิ้วมีบันไดโค้งขึ้นสู่มุขหน้าซึ่งโล่งและมีเนื้อที่ไม่มาก ไม่ต้องมีมกรคายนาค ไม่มีสิงห์หรือมังกร เรียบง่ายสุด ๆ หลังคาลดชั้น 2 ระดับ ประดับประดาด้วยช่อฟ้าใบระกาและหน้าบันงดงามยิ่ง...

 
 



อ่อ...ลืมบอกไปว่าเสา (เหลี่ยม) ด้านหน้ามี 2 ต้น ในขณะที่ทั่วไปมี 4 ต้น ผมเห็นป้ายบอกว่าสร้างเมื่อ พ.ศ. 2525


 
 
 

ผนังด้านหลังกลับแตกต่าง มีซุ้มจระนำประดิษฐานพระพุทธรูปอ่อนช้อยสวยงาม...


ลวดลายวิจิตร ตระการตายิ่งนัก!

วันเสาร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2566

วัดบุ่งวังงิ้ว ต.ป่าเซ่า อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์

วัดบุ่งวังงิ้ว ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ ตำบลป่าเซ่า อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์...
 
 
 
จากวัดไผ่ล้อม (ท่าอิฐล่าง) (W1) ผมปั่นจักรยานข้ามสะพานน่านนทีฤดีเปรม (B) 
 
 
 
 
เลี้ยวซ้ายออกถนนเลียบแม่น้ำ (R1) ไปพบกับทางหลวงหมายเลข 1203 (R2) เห็นซุ้มประตู (1) วัดบุ่งวังงิ้ว (W2) ตั้งอยู่ริมทางแยก...

 
 
 
 
ตาแก่เมืองรถม้าปั่นจักรยานข้ามถนนเข้าสู่วัด เห็นอาคารหลังคาสีฟ้า (2) อยู่ด้านขวามือ...
 
 
หยุดรถเก็บภาพมาฝากเพื่อน ๆ เห็นพอระฆังตั้งอยู่หน้าวิหาร (4)
 
 

หมาหลายตัวเห่าและวิ่งไล่ ทำให้ผมไม่สามารถหยุดถ่ายภาพวิหารได้ ต้องขี่จักรยานตรงเข้าไปหลบภัยที่อุโบสถ (3)



เห็นเมรุเผาศพ (ฌาปนสถาน) ตั้งอยู่ไม่ไกล...
 


 

เพื่อน ๆ ไปดูอุโบสถด้วยกันนะครับ...