วันพฤหัสบดีที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2558

Travellin’ light ไปเวียดนาม – ปิดฉากพระราชวังต้องห้าม

ยิ่งเดินเที่ยวลึกเข้าไปในพระราชวังต้องห้ามแห่งเวียดนาม ผมก็ยิ่งรู้สึกเสียดายที่มีเวลาน้อยเกินไป เพราะยังมีอะไรดี ๆ ให้ดูอีกเยอะ....


ผมเดินดูพวกกำแพงเมือง ซุ้มประตู ต้นไม้ และตัวอาคารเก่า ทำให้คิดถึงภาพวาดสีน้ำหรือภาพลายเส้น คิดว่าผู้ที่ถนัดทางจิตรกรรมคงจะชอบถ้าได้มาเห็น...






ถ้าไม่มีนักเลงโตอย่างอเมริกามาทิ้งระเบิดปราบเวียดกงในช่วงสงครามเวียดนาม บริเวณที่เห็นโล่งเตียนเบื้องหน้าอาจมีอะไรให้ได้ดูมากกว่านี้...


ช่วงเดินต่อจากพระราชวัง Dien Tho ผมต้องเร่งเท้าก้าวตาม ขอแค่กดชัตเตอร์เก็บภาพมาฝากก็พอนะ...


ภาพประวัติศาสตร์เรียกได้ทั้งน้ำตาแห่งความขมขื่น แลรอยยิ้มด้วยความภาคภูมิใจ...















ไปถึงโรงละครแต่ไม่ได้เข้าไปดูหรอก...




ถึงทางออกแล้ว ไกด์บอกให้ลูกทัวร์เดินไปขึ้นรถกันเอง...


ช่วงกลับไปที่รถ อย่าเผลอเดินพลัดหลงนะครับ...เกาะกลุ่มกันให้ดี!

วันพุธที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2558

อนุสาวรีย์สามครูบา อำเภอลี้

อำเภอลี้ได้ชื่อว่าเป็น "เมืองแห่งนักบุญของล้านนา"  จากวัดบ้านปางขับรถลงใต้ไปตามทางหลวงหมายเลข 106 อีกประมาณเกือบ ๔๐ กิโลเมตรก็เข้าเขตเทศบาลตำบลวังดิน...


พอเข้าเขตชุมชน ถนนเปลี่ยนเป็น ๘ เลน ไปอีกไม่ไกลก็ถึงสี่แยกไฟแดง...


มองให้ดีจะเห็นลานอนุสาวรีย์สามครูบา (1) อยู่ทางด้านขวามือ...


ถัดจากลานอนุสาวรีย์สามครูบาคือ ศูนย์อาหาร ตลาดสดเทศบาลตำบลวังดิน (2)...


เพื่อน ๆ ต้องขับเลยสี่แยกไปก่อน แล้วค่อยยูเทิร์นกลับมาหาที่จอดรถแถว ๆ ตลาดหรือข้างลานอนุสาวรีย์ฯ...


เดินเข้าไปสักการะบูชาได้เลย...



องค์กลาง (1) คือ ครูบาเจ้าศรีวิชัย แห่งวัดบ้านปาง ต.ศรีวิชัย...


ด้านซ้ายของครูบาศรีวิชัย ครูบาเจ้าอภิชัย (ขาวปี) หรือครูบาขาวปี (2) วัดพระพุทธบาทผาหนาม ต.ป่าไผ่...


ด้านขวาคือครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนา (3) วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ต.นาทราย  ครูบาทั้งสามมีถิ่นกำเนิดอยู่ในอำเภอลี้ จังหวัดลำพูน เป็นอริยสงฆ์ผู้เป็นที่เคารพนับถือของคนล้านนาและพุทธศาสนิกชนทั่วไป...



จากสี่แยกลานอนุสาวรีย์สามครูบา ผมเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1274 เพื่อกลับลำปาง...



Google Maps บอกว่าระยะทางจากลี้ไปลำปาง ๙๘.๗ กิโลเมตร ใช้เวลา ๑ ชั่วโมง ๔๖ นาที ถ้าการจราจรไม่ติดขัด...


ผมกลับถึงลำปางทุ่มกว่าเมื่อท้องฟ้ามืดมิด... สิ้นสุด behind the wheel trip เมื่อวันที่ ๘ มกราคม ๒๕๕๘ แล้วครับ!

วันอังคารที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2558

กู่พระครูบาเจ้าศรีวิชัย วัดบ้านปาง

"กู่พระครูบาเจ้าศรีวิชัย" อยู่ที่วัดบ้านปาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ขอเชิญเพื่อน ๆ ตามมากับทริป behind the wheel เมื่อต้นเดือนมกราคม ๒๕๕๘...


ดูจากแผนผังบริเวณวัดบ้านปาง จะเห็นได้ว่ากู่พระครูบาเจ้าศรีวิชัยอยู่ด้านหน้า ต้องเดินผ่านพระธาตุซึ่งสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๘ ก่อน...

พระครูบุญญาภินันท์ (บุญชู  จันทสิริ) ได้เขียนไว้ใน "ประวัติครูบาศรีวิชัย" ว่า...
ครูบาศรีวิชัยได้คืนกลับสู่บ้านปาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูนอีกครั้ง เมื่อปลายปี พ.ศ. ๒๔๖๓ เพราะโยมมารดา คือนางอุสาห์ได้ถึงแก่กรรม เวลานั้นอายุได้ ๗๐ ปี ชีวิตในบั้นปลายของโยมอุสาห์ มารดาของครูบาศรีวิชัยนั้น ปรากฏว่าได้เข้าวัดถือศีล ณ วัดบ้านปางนั่นเอง อิ่มเอิบในผลบุญกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต  ครูบาศรีวิชัยได้ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้โยมมารดาด้วยอาการปกติ ไม่เศร้าโศกอะไรมากนัก เพราะท่านทราบดีว่า การเกิดแก่เจ็บตายนั้นเป็นวัฏสงสารของมนุษย์ ตามกรรมเก่าแต่ชาติปางก่อน ไม่มีใครสามารถหลีกเลี่ยงได้ จะช้าหรือเร็วเท่านั้น  ในการกลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดบ้านปางอีกครั้งนี้ ครูบาศรีวิชัยได้ก่อสร้างพระเจดีย์ใหญ่หลังโบสถ์ ที่สร้างค้างไว้แต่เมื่อหลายปีก่อน จนกระทั่งสำเร็จเรียบร้อย....

ส่วนพระวิหารสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๙...


บนลานกว้างตรงเนินเขาด้านติดกับถนน มีรูปปั้นครูบาศรีวิชัยขนาดใหญ่มองเห็นได้แต่ไกล...



ผมเดินย้อนขึ้นไปถึงบันไดนาคซึ่งเป็นทางเดินขึ้นมาจากเบื้องล่าง เห็นประตูพระวิหารเปิดอยู่...


พระประธานภายในวิหาร...









พระอุโบสถเก่าแก่....




มีพระประธานองค์ใหญ่ประดิษฐานอยู่กลางแจ้ง...



พระนอนประดิษฐานอยู่ในศาลาพระนอนใหญ่...



เจดีย์สามครูบาอยู่ด้านข้างกู่พระครูบาเจ้าศรีวิชัย...


พระมหาสะง่า ธีรสํวโร ไชยวงค์ได้เขียนไว้ที่ GotoKnow ในหัวข้อ "ประวัติ ปฏิปทา ครูบาศรีวิชัย"  ๒ ย่อหน้าสุดท้ายมีใจความว่า....
ครูบาศรีวิชัยซึ่งเป็นคนร่างเล็กผอมบางผิวขาว ไม่ใช่คนแข็งแรง แม้ท่านจะไม่ต้องทำงานประเภทใช้แรงงาน แต่การที่ต้องนั่งคอยต้อนรับและให้พรแก่ผู้มาทำบุญกับท่านนั้น ท่านจะต้อง “นั่งหนัก” อยู่ตลอดทั้งวัน ด้วยเหตุนี้ท่านจึงอาพาธด้วยโรคริดสีดวงทวารซึ่งสะสมมาแต่ครั้งการตระเวนก่อ สร้างบูรณะวัดในเขตล้านนา และการอาพาธได้กำเริบขณะที่สร้างสะพานข้ามแม่น้ำปิง
ครูบาศรีวิชัยถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ ๒๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ที่วัดบ้านปาง ขณะมีอายุได้ ๖๐ ปี ๙ เดือน ๑๑ วัน และตั้งศพไว้ที่วัดบ้านปางเป็นเวลา ๑ ปี บางท่านก็ว่า ๓ ปี จากนั้นได้เคลื่อนศพมาตั้งไว้ที่วัดจามเทวี จังหวัดลำพูน จนถึงวันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๙ จึงได้รับพระราชทานเพลิงศพ เมื่องานพระราชทานเพลิงศพเสร็จสิ้นจึงได้มีการแบ่งอัฐิของท่านไปบรรจุไว้ตาม ที่ต่างๆ เช่น ที่วัดจามเทวีจังหวัดลำพูน วัดสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่ วัดพระแก้วดอนเต้า จังหวัดลำปาง วัดศรีโคมคำ จังหวัดพะเยา วัดพระธาตุช่อแฮ จังหวัดแพร่ และที่วัดบ้านปาง จังหวัดลำพูน อันเป็นวัดดั้งเดิมของท่าน เป็นต้น
ภาพจากบทความของพระมหาสะง่า ธีรสํวโร ไชยวงค์






พระครูบุญญาภินันท์ (บุญชู  จันทสิริ) ยังได้เขียนไว้อีกว่า "มีใครจะเชื่อหรือไม่ว่า มีพระภิกษุธรรมดาๆ องค์หนึ่งซึ่งเข้าร่วมห่มผ้าเหลืองมาเป็นพระเข้าบวชเรียน จากสามเณรสู่พระภิกษุ และ ท้ายที่สุดก็สิ้นอายุขัยในผ้าเหลืองในระยะเวลา ๔๒ ปี โดยไม่เคยได้รับสมณศักดิ์ใดๆ ไม่ได้เป็นพระอุปัชฌาย์ ไม่เคยมีพัดยศ หรือตำแหน่งทางคณะสงฆ์ แต่ทว่า พระภิกษุรูปนี้กลับเป็นผู้สามารถทำให้วัดต่างๆ ที่เชียงใหม่ และลำพูนพัฒนาขึ้นมาใหม่เป็นจำนวนมาก..."