วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

พักค้างคืนที่วัดพรหมวนาราม

ลวงพ่อท่านเจ้าอาวาสวัดพรหมวนาราม อนุญาตให้ค้างคืนที่วัดได้ และที่ ๆ ผมจะได้นอนคือห้องพักเหนือสระบัว!


ห้องพักอาศัยต้องไต่ขึ้นบันได



หน้าเมรุเผาศพมีปะรำตั้งอยู่ ประดิษฐานพระพุทธรูปเรียงรายหลายองค์...


จอดรถไว้ใกล้ ๆ ตัว...

ท้องฟ้ามืดลงแล้ว!


ไม่อยากนอนสูงอยู่ข้างบน...ผมขอมากางเต็นท์ข้างล่าง นอนฟังเสียงปลาผลุบโผล่



หลับสบายทั้งคืน ตื่นตีห้าครับ!

วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

บริการหลังความตาย - วัดพรหมวนาราม พิษณุโลก

ภาพ capture จากวิดีโอรายการสาระดี - ขอขอบคุณ

ลังความตาย...พิธีกรรมแตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาค แต่ก็มุ่งไปจุดหมายเดียวกันคือ กำจัดซากศพที่ไม่ไหวติง ชาวทิเบตนำศพไปให้แร้งกิน ถือว่าเป็นกุศลอันยิ่งใหญ่

ภาพ capture จากวิดีโอรายการสาระดี - ขอขอบคุณ
 
สำหรับผมไม่ขออะไร หากตายเมืองไทยและสภาพศพยังดี ขอให้ส่งไปลงถังน้ำยาโดยไม่ต้องทำพิธีใด ๆ  แต่ส่วนใหญ่แล้ว ศพต้องนำไปทำพิธีที่วัดและเผาเมื่อถึงกำหนดเวลา ในภาคกลางแทบทุกวัดจะบริการหลังความตายตั้งแต้ต้นจนจบ...
 
 
ที่วัดพรหมวนาราม จังหวัดพิษณุโลก ผมเห็นศาลาเมรุเผาศพสร้างไว้เพื่อให้บริการหลังความตายกับชาวบ้านอย่างสะดวกสุด... 



หลังคาสูงเท่ากับปล่องไฟ...เพิ่งได้มาเห็นที่นี่


 
ศาลาเผาศพออกแบบและก่อสร้างเอง ภายใต้การนำของเจ้าอาวาสผู้ไม่สนพัดยศ เช้าตรู่ก่อนออกเดินทางต่อไปยังอุตรดิตถ์ ผมถือกล้องถ่ายรูปเข้ามาเก็บภาพให้เพื่อน ๆ ดูแล้วดังนี้...
 

ทุกอย่างอยู่ภายในศาลาหลังนี้...


 
โลงเย็นจัดเตรียมไว้ให้...ไม่ต้องกังวล

 
พระพุทธรูปและอาสนะสงฆ์พร้อมสรรพ...

 
 
 
เครื่องใช้ของถวายไทยทานเตรียมไว้ให้อยู่ในตู้...ดูเป็นระเบียบ

 
 ภายในอาคารกว้างปูพื้นลื่นเป็นเงา...


 
พัดลมไอเย็นอย่างดีมีให้ใช้ระบายความร้อน...


ผมเห็นทั้งโรงครัวและห้องน้ำ...

 
 
โต๊ะเก้าอี้มีพร้อม!
 
 
 
 เก็บภาพมาให้ดูอีกหน่อย มีห้องอาบน้ำด้วย โอย...อะไรจะขนาดเนี้ย!
 
 
 



อยากให้วัดบ้านผมมีบริการจบครบถ้วนแบบวัดพรหมวนาราม แต่ความจริงเป็นไปไม่ได้ เพราะในล้านนาเค้านิยมเคลื่อนศพไปเผาที่ป้าช้า

วัด DIY

มาเห็นวัดพรหมวนารามที่อำเภอพรหมพิรามแล้ว...ผมอยากจะขนเครื่องมือช่างที่มีอยู่ทั้งหมดมาให้ในบัดดล!

วัดนี้มีการก่อสร้างและประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้เอง (DIY) อย่างต่อเนื่อง...

สร้างศาลาพร้อมทางเดินปูด้วยไม้กระดานเหนือสระน้ำเลี้ยงปลา...

สร้างผาม (ปะรำ) ไว้ให้ผู้คนได้นั่งพักใต้ชายคา มองดูหมู่ปลาผุดว่ายในสระบัว....



ภิกษุผู้คุมงานบอกว่าวัดนี้เน้นเรื่องการทำงานมากกว่า เรียกว่านอกจากปฏิบัติกิจของสงฆ์แล้ว ตั้งแต่เช้าจรดเย็นมีแต่ทำงาน...ทำงาน...ทำงาน ภายในเวลา ๒-๓ ปี สามารถเนรมิตวัดป่าที่สวยงามและบำรุงสุขบำบัดทุกข์ให้ชาวบ้านได้อย่างเป็นที่น่าศรัทธา อาคารเมรุเผาศพหลังคาสูงอย่างที่เห็นเป็นการออกแบบของท่านเจ้าอาวาสผู้ไม่ใฝ่ในตำแหน่งหรือพัดยศใด ๆ แต่มุ่งหน้าสร้างประโยชน์ให้กับชาวบ้านเป็นหลัก...

 
หลังคาเมรุเผาศพ งานไม้หรืองานเหล็กท่านออกแบบเองหมด โดยมีช่างไม้ผู้มีศรัทธามาอาศัยและช่วยกันสร้าง... 

 

 

 
 



 

 
ไอเดีย DIY ใช้ไม้ ๔ เล่มกันส้มกลิ้ง....
 
 
 
อาศัยเครื่องไม้เครื่องมือที่มีอยู่...


นับว่าเป็นวัด DIY จริง ๆ นะ!