ดูจากแผนผังบริเวณวัดบ้านปาง จะเห็นได้ว่ากู่พระครูบาเจ้าศรีวิชัยอยู่ด้านหน้า ต้องเดินผ่านพระธาตุซึ่งสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๘ ก่อน...
พระครูบุญญาภินันท์ (บุญชู จันทสิริ) ได้เขียนไว้ใน "ประวัติครูบาศรีวิชัย" ว่า...
ครูบาศรีวิชัยได้คืนกลับสู่บ้านปาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูนอีกครั้ง เมื่อปลายปี พ.ศ. ๒๔๖๓ เพราะโยมมารดา คือนางอุสาห์ได้ถึงแก่กรรม เวลานั้นอายุได้ ๗๐ ปี ชีวิตในบั้นปลายของโยมอุสาห์ มารดาของครูบาศรีวิชัยนั้น ปรากฏว่าได้เข้าวัดถือศีล ณ วัดบ้านปางนั่นเอง อิ่มเอิบในผลบุญกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต ครูบาศรีวิชัยได้ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้โยมมารดาด้วยอาการปกติ ไม่เศร้าโศกอะไรมากนัก เพราะท่านทราบดีว่า การเกิดแก่เจ็บตายนั้นเป็นวัฏสงสารของมนุษย์ ตามกรรมเก่าแต่ชาติปางก่อน ไม่มีใครสามารถหลีกเลี่ยงได้ จะช้าหรือเร็วเท่านั้น ในการกลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดบ้านปางอีกครั้งนี้ ครูบาศรีวิชัยได้ก่อสร้างพระเจดีย์ใหญ่หลังโบสถ์ ที่สร้างค้างไว้แต่เมื่อหลายปีก่อน จนกระทั่งสำเร็จเรียบร้อย....
ส่วนพระวิหารสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๙...
บนลานกว้างตรงเนินเขาด้านติดกับถนน มีรูปปั้นครูบาศรีวิชัยขนาดใหญ่มองเห็นได้แต่ไกล...
ผมเดินย้อนขึ้นไปถึงบันไดนาคซึ่งเป็นทางเดินขึ้นมาจากเบื้องล่าง เห็นประตูพระวิหารเปิดอยู่...
พระประธานภายในวิหาร...
พระอุโบสถเก่าแก่....
มีพระประธานองค์ใหญ่ประดิษฐานอยู่กลางแจ้ง...
พระนอนประดิษฐานอยู่ในศาลาพระนอนใหญ่...
เจดีย์สามครูบาอยู่ด้านข้างกู่พระครูบาเจ้าศรีวิชัย...
พระมหาสะง่า ธีรสํวโร ไชยวงค์ได้เขียนไว้ที่ GotoKnow ในหัวข้อ "ประวัติ ปฏิปทา ครูบาศรีวิชัย" ๒ ย่อหน้าสุดท้ายมีใจความว่า....
ครูบาศรีวิชัยซึ่งเป็นคนร่างเล็กผอมบางผิวขาว ไม่ใช่คนแข็งแรง แม้ท่านจะไม่ต้องทำงานประเภทใช้แรงงาน แต่การที่ต้องนั่งคอยต้อนรับและให้พรแก่ผู้มาทำบุญกับท่านนั้น ท่านจะต้อง “นั่งหนัก” อยู่ตลอดทั้งวัน ด้วยเหตุนี้ท่านจึงอาพาธด้วยโรคริดสีดวงทวารซึ่งสะสมมาแต่ครั้งการตระเวนก่อ สร้างบูรณะวัดในเขตล้านนา และการอาพาธได้กำเริบขณะที่สร้างสะพานข้ามแม่น้ำปิง
ครูบาศรีวิชัยถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ ๒๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ที่วัดบ้านปาง ขณะมีอายุได้ ๖๐ ปี ๙ เดือน ๑๑ วัน และตั้งศพไว้ที่วัดบ้านปางเป็นเวลา ๑ ปี บางท่านก็ว่า ๓ ปี จากนั้นได้เคลื่อนศพมาตั้งไว้ที่วัดจามเทวี จังหวัดลำพูน จนถึงวันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๙ จึงได้รับพระราชทานเพลิงศพ เมื่องานพระราชทานเพลิงศพเสร็จสิ้นจึงได้มีการแบ่งอัฐิของท่านไปบรรจุไว้ตาม ที่ต่างๆ เช่น ที่วัดจามเทวีจังหวัดลำพูน วัดสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่ วัดพระแก้วดอนเต้า จังหวัดลำปาง วัดศรีโคมคำ จังหวัดพะเยา วัดพระธาตุช่อแฮ จังหวัดแพร่ และที่วัดบ้านปาง จังหวัดลำพูน อันเป็นวัดดั้งเดิมของท่าน เป็นต้น
ภาพจากบทความของพระมหาสะง่า ธีรสํวโร ไชยวงค์ |
พระครูบุญญาภินันท์ (บุญชู จันทสิริ) ยังได้เขียนไว้อีกว่า "มีใครจะเชื่อหรือไม่ว่า มีพระภิกษุธรรมดาๆ องค์หนึ่งซึ่งเข้าร่วมห่มผ้าเหลืองมาเป็นพระเข้าบวชเรียน จากสามเณรสู่พระภิกษุ และ ท้ายที่สุดก็สิ้นอายุขัยในผ้าเหลืองในระยะเวลา ๔๒ ปี โดยไม่เคยได้รับสมณศักดิ์ใดๆ ไม่ได้เป็นพระอุปัชฌาย์ ไม่เคยมีพัดยศ หรือตำแหน่งทางคณะสงฆ์ แต่ทว่า พระภิกษุรูปนี้กลับเป็นผู้สามารถทำให้วัดต่างๆ ที่เชียงใหม่ และลำพูนพัฒนาขึ้นมาใหม่เป็นจำนวนมาก..."
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น