วันศุกร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

วัดสันป่าเลียง เชียงใหม่

คำว่า "สัน" หมายถึง "ที่เนินเป็นทางยาวอยู่ระหว่างพื้นที่อยู่อาศัยกับพื้นที่ใช้ทำประโยชน์  ในเชียงใหม่มีหลายหมู่บ้านที่ใช้คำนำหน้าว่าสัน เช่น สันทราย สันผีเสื้อ สันพระเนตร ฯลฯ และที่ผมอยากเขียนถึงในวันนี้ก็คือ "วัดสันป่าเลียง" 


เว็บวัดสันป่าเลียงเขียนเล่าว่า...
ท่านครูบาธรรมธิ ได้เดินธุดงค์หาที่ปลีกวิเวกเพื่อปฏิบัติธรรม จนมาถึงสถานที่ซึ่งเป็นป่าทึบ และมีความสงบร่มรื่น ท่านครูบาเห็นว่าเป็นที่สัปปายะ เหมาะแก่การปฏิบัติธรรม จึงปักกลดจำพรรษา ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียง ได้พากันมาทำบุญฟังธรรม และเกิดความเลื่อมใส จึงร่วมใจกันสร้างกุฏิ เพื่อให้เป็นที่พักอาศัยของท่านครูบา แล้วอาราธนาให้ท่านสร้างวัดขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางรวมจิตใจของชาวบ้าน และเรียกวัดแห่งนี้ว่า "วัดสามปอเลียง" เนื่องจากมีต้นปอใหญ่ ๓ ต้นขึ้นเรียงกันอยู่บนสันนาในบริเวณที่สร้างวัด ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "วัดสันปอเลียง" แล้วเรียกชื่อเพี้ยนเป็น "วัดสันป่าเลียง" มาจนถึงปัจจุบัน
วัดสันป่าเลียงเป็นวัดมหานิกาย ตั้งอยู่หมู่ ๔ ตำบลหนองหอย จังหวัดเชียงใหม่ มีเนื้อที่ ๒ ไร่ ๓ งาน ๖๙ ตารางวา ได้รับอนุญาตตั้งเป็นวัดเมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๕ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๙  เราเข้าไปดูกันดีกว่า สิ่งแรกที่ผมประทับใจคือซุ้มประตูซึ่งมิได้อลังการเหมือนกับหลาย ๆ วัดที่ได้เห็น...


ตั้งเด่นเป็นสง่าคือ "หอธรรม" รูปแบบศิลปะสถาปัตยกรรมพื้นบ้านล้านนา ใช้เป็นที่เก็บรักษาพระไตรปิฏกและเอกสารสำคัญในทางพระพุทธศาสนา...


แต่เดิมผนังด้านนอกของหอธรรมเป็นงานเขียนสีฝุ่นผสมน้ำ ภาพเทพบุตร เทพธิดา ภาพ 12 ราศี ซึ่งชำรุดทรุดโทรม ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๖ ได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์หอธรรมหลังนี้ขึ้นใหม่ โดยรักษาโครงสร้างและศิลปะสถาปัตยกรรมตามแบบเดิมไว้ทุกประการ แต่เปลี่ยนจากภาพเขียนสีฝุ่นผสมน้ำเป็นภาพประติมากรรมปูนปั้นลงรักปิดทอง...




พระวิหารเก่าแก่กำลังอยู่ระหว่างการบูรณะฯ....







ที่อยู่ติดกันคือพระอุโบสถซึ่งมีเจดีย์อยู่ด้านหลัง...



ใบเสมากำหนดเขตสำหรับการทำสังฆกรรม...


ประตูปิดเช่นกัน...





ด้านหลังพระอุโบสถ...


ที่เห็นเป็นรูปแบบเหมือนกันแทบทุกวัดก็คือพระเจดีย์อยู่ด้านหลัง...




องค์นี้มีชื่อว่า "เจดีย์มหารัชมงคล"



หอระฆังที่นี่ไม่เหมือนใคร...


สุนัขที่เฝ้ากุฏิเจ้าอาวาสเป็นพันธุ์บางแก้ว ระวังหน่อยนะ!!

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น