วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

พระเจดีย์วัดยางอ้อย

พระเจดีย์วัดยางอ้อยทรงล้านนา ระฆังคว่ำบนฐานยกเก็จย่อมุม ตั้งอยู่หลังอุโบสถ...


baanjomyut.com มีข้อมูลของพระเจดีย์ทรงระฆังไว้ดังนี้...

เจดีย์ทรงระฆัง
มีองค์ระฆังเป็นลักษณะเด่น โดยมีแท่นฐานรองรับอยู่ส่วนล่าง เหนือองค์ระฆังเป็นส่วนยอด มีบัลลังก์รูปสี่เหลี่ยมต่อขึ้นไปเป็นทรงกรวยเป็นปล้องไฉนและปลี
เจดีย์ทรงระฆังที่มีช้างล้อมที่ฐาน  ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นอิทธิพลศิลปะที่แพร่หลายมาจากศิลปะลังกา นิยมเรียกว่า เจดีย์ทรงลังกา แต่กลับเรียกเจดีย์ช้างล้อมตามลักษณะเด่นชัดที่มีช้างล้อมที่ฐาน
เจดีย์ทรงระฆังที่ทำกลีบเล็กๆเป็นแนวตั้งไว้โดยรอบองค์ระฆังก็มี ที่เรียกว่ายอดเจดีย์ทรงกลีบมะเฟือง
เจดีย์ทรงระฆังที่เป็นเจดีย์สี่เหลี่ยมย่อมุม ยกมุม หรือ เพิ่มมุม เรียกว่าเจดีย์ย่อมุม
ที่มา : ชุมศรี ศิวะศริยานนท์. 2542. สถาปัตยกรรม
ไทยพื้นฐาน. พิมพ์ครั้งที่ 12 กรุงเทพมหานคร :
บัวองค์ประกอบเจดีย์ทรงระฆัง ที่มา - baanjomyut.com  (ขอขอบคุณ)

พระเจดีย์วัดยางอ้อยองค์นี้ มีฐานยกเก็จ รูปปั้นเทพพนมทั้งสี่มุม...


silpa-mag.com กล่าวว่า...
เจดีย์ทรงระฆังในศิลปะล้านนาอาจเริ่มรับอิทธิพลจากเจดีย์แบบดังกล่าวของศิลปะพุกามตั้งแต่ราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ภายหลังจากคลี่คลายอยู่ระยะหนึ่ง ก็กลายมามีลักษณะใหม่โดยเพิ่มฐานสี่เหลี่ยมยกเก็จ ทรงของฐานข้างสูงฐานแบบพิเศษนี้ รองรับชุดวงแหวนเรียงซ้อนประกอบกันเป็นจังหวะคล้ายรูปฐานกลมสามฐาน ตั้งซ้อนลดหลั่นกันขึ้นไป ซึ่งคลี่คลายมาจากระเบียบที่มีอยู่ของเจดีย์ฉปัต ทำให้ความสูงขององค์เจดีย์เพิ่มมากยิ่งขึ้นขนาดของทรงระฆังที่ตั้งซ้อนขึ้นไปจึงย่อมมีขนาดเล็กตามลำดับไปด้วย เหนือทรงระฆังมักมีบัลลังก์รับส่วนยอดทรงกรวยที่มีขนาดเล็กตามไปอีก
เก็บภาพมาฝากเพื่อน ๆ แล้วดังนี้...
 
 

 
ผมมีภาพที่ถ่ายไว้เมื่อ ๔ ปีก่อน ขอนำกลับมาโพสต์ให้เพื่อนพิจารณาเปรียบเทียบ ภาพเหล่านี้คือสิ่งที่ผมจะเหลือไว้บน cyber world ไว้ให้ยุวชนคนรุ่นหลังได้ดู
 

 
 
เคยซูมเก็บภาพยอดฉัตรไว้ด้วยเช่นกัน (ตอนนั้นใช้กล้อง Ricoh) 


มุมกำแพงแก้วตั้งเสาสูงประดับด้วยฉัตรทอง...
 
 
 
 
 
 
จะเข้าไปภายในกำแพง ต้องผ่านซุ้มประตูโขง...
 
 

 
ที่ฐาน...ผมเห็นลวดลายปูนปั้น ๑๒ นักษัตรทาสีทองบนพื้นสีขาว




โพสต์ภาพมากหน่อยนะครับ... ค่อย ๆ ว่าไป!

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น