วันจันทร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

วัดสวนดอก อ.เมือง จ.เชียงใหม่

วัดสวนดอกตั้งอยู่เลขที่ ๑๓๙ ถนนสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่... 

 
เป็นวัดใหญ่สร้างในสมัยราชวงศ์มังราย พ.ศ. ๑๙๑๔ โดยประมาณ ที่ชื่อวัดสวนดอกเพราะอยู่ในเวียงสวนดอก พระราชอุทยานของราชวงศ์ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของเมืองเชียงใหม่ ใครมาเที่ยวเชียงใหม่ก็ต้องแวะเยือน วันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๖๐ ผมได้ปั่นจักรยานมาดูอีกครั้ง...
 
 
 
ผมเห็นซุ้มประตูโขงสีขาวใหญ่โต...
 
 
ลานจอดรถกว้างขวางรอบต้นโพธิ์...
 
 
 
วัดนี้เป็นพระอารามหลวง เห็นประกาศเก็บค่าบำรุงสถานที่จากนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ...ผมคิดว่าฝรั่งมังค่าผู้มาเยือนคงไม่แฮปปี้นัก



ถ้าต้องจ่ายตังค์เพื่อมาดูวิหารใหญ่ หรือเจดีย์เก็บอัฐิมากมาย ผมคิดย้อนกลับถึงการเดินทางไปมัณฑะเลย์เมื่อ ๔๐ กว่าปีก่อนและการย้อนกลับไปอีกครั้ง ผมเคยเขียนว่า "ถนนหนทางมีรถไม่มาก แค่ปั่นไปเรื่อย ๆ ยังไม่ทันจะเหนื่อยก็ถึงประตูวัด... ผมตั้งจักรยานไว้โดยไม่ลืมล็อคกุญแจ!"
 
 
 
จำได้ว่าที่วัดกุโสดอร์เค้าไม่เก็บตังค์นะ ผมเขียนว่า...
"วัดกุโสดอร์" สร้างโดยพระเจ้ามินดง (๒๓๕๑ - ๒๔๒๑) เปรียบได้ว่าเป็น หนังสือเล่มใหญ่ที่สุดในโลก (the world's largest book) คือมีพระไตรปิฎกซึ่งถูกจารึกไว้บนหินอ่อนจำนวน ๗๒๙ แผ่น ประดิษฐานไว้ในมณฑปสีขาวรายรอบพระเจดีย์...
 
 

ย้อนกลับมาดูที่วัดสวนดอก ผมเห็นกู่เจ้าหลวงเชียงใหม่ สถานที่บรรจุอัฐิ ตั้งแต่ปฐมกษัตริย์ถึงพระองค์สุดท้าย พระประยูรญาติ ในตระกูล ณ เชียงใหม่ และผู้สืบเชื้อสายสกุลเจ้าเจ็ดตน... 



วิหารหลวงใหญ่มากกกกกกกกกกกกกกกกก...
 
 
วิหารหลวง มีความกว้าง ๑๒ วา ๒ ศอก ยาว ๓๓ วาสร้างเมื่อพ.ศ. ๒๔๗๔ - ๒๔๗๕ อาคารคอนกรีตเสริมเหล็กโดยมีลักษณะพิเศษคือ เป็นวิหารโถงไม่มีฝาผนัง มีแต่ระเบียงโดยรอบ หน้าบันทั้งสองด้านมีลายปูนปั้นแบบเครือเถาศิลปะล้านนาที่สวยงาม...
(ที่มา - museumthailand.com)
 
 
 
สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๔ โดยเจ้าแก้วนวรัฐ โดยมีครูบาศรีวิชัยนักบุญแห่งล้านนาเป็นประธาน
 
 
พระประธานในวิหารหลวงสร้างในสมัยพระเจ้ากือนา หล่อด้วยทองสำริดขนาดเท่าพระวรกายของพระเจ้ากือนา โดยมีหน้าตักกว้าง ๒ เมตร สูง ๒.๕ เมตร เรียกชื่อตามภาษาถิ่นล้านนาว่า “พระเจ้าค่าคิง”
 
 

กู่บรรจุอัฐิครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๐ เพื่อเป็นอนุสรณ์ในคราวที่ครูบาศรีวิชัยได้บูรณปฏิสังขรณ์วัดสวนดอก...

 
 
 
 
 
สาตุ๊ ๆๆ ครูบาเจ้า! 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น