วันจันทร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2560

FB Trip ไปพิษณุโลก - โบราณสถานวัดอรัญญิก


จากวัดเจดีย์ยอดทอง (1) ตั้งใจจะไปตลาดนัดสินค้ามือสองที่วัดธรรมจักร พอข้ามทางรถไฟแล้วไม่ได้เลี้ยวซ้าย ผมกลับปั่นตรงไปเรื่อย ๆ จนพบกับวัดอรัญญิก (2)


เก็บภาพซุ้มประตูสวยไว้ก่อนแล้วปั่นตรงเข้าไป...


วิกิพีเดียให้ข้อมูล "วัดอรัญญิก" ไว้ว่า...
วัดอรัญญิก เป็นวัดโบราณสมัยสุโขทัย ตั้งอยู่อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก บริเวณนอกกำแพงเมือง ประมาณ ๑ กิโลเมตร ตามความนิยมในสมัยสุโขทัยที่สร้างวัดในป่าและ ให้ชื่อว่า "อรัญญิก"  ลักษณะสถาปัตยกรรมของวัด เจดีย์องค์ประธานเป็นทรงลังกา ฐานกลม องค์ระฆังเหลือครึ่งซีกจนถึง บัลลังก์ พบร่องรอยการบูรณะจึงมีรูปแบบผสมผสาน พบซากอุโบสถ ซากใบเสมาหินศิลปสมัยสุโขทัย พระพุทธรูปศิลปะเชียงแสน สุโขทัย และอยุธยา มีคูน้ำล้อมเนินดิน
ผมชอบตรงที่มีป้ายบอกทางอย่างชัดเจน...


มีแผ่นป้ายขนาดใหญ่บอกให้ทราบถึงประวัติวัดอรัญญิก


ณ จุดที่ตั้งก็มีป้ายบอกไว้....


บรรยากาศร่มรื่นด้วยแมกไม้และคูวัด เป็นเขตอภัยทาน มีจุดให้อาหารปลา...


หอระฆังสวยงาม...


มณฑป...




ผมปั่นจักรยานไปยังอุโบสถเก่า ซึ่งจัดเป็นโบราณสถานวัดอรัญญิก




ลูกนิมิตโบราณนำมาวางรวมไว้ตรงนี้...

ประวัติอุโบสถอุโบสถ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเจดีย์ประธานและระเบียงคด มีขนาด ๒๖.๒๐ x ๑๒ เมตร โครงสร้างหลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้องดินเผาแบบแผ่นเรียบ ลักษณะการเรียงอิฐแบบด้านยาวสลับด้านสั้น ส่วนฐานล่างมีศิลาแลงประกอบอยู่บางส่วน และพบว่ามีการซ้อนทับการอย่างน้อยสองครั้งที่ส่วนฐานและฐานชุกชี ซึ่งแบบเดิมเป็นลักษณะที่พบในกลุ่มโบราณสถานสมัยสุโขทัย และมีการขยายฐานออกเมื่ออยุธยาได้เข้ามามีอำนาจเหนือหัวเมืองฝ่ายเหนือ ดังนั้นอาคารเดิมจึงเป็นอาคารที่ร่วมสมัยกับเจดีย์ช้างล้อมและในภายหลังมีการปรับให้เป็นพระอุโบสถในสมัยอยุธยา น่าจะพร้อม ๆ กันกับการก่อสร้างระเบียงคดเพิ่มเติม ผนังโบสถ์หน้า ๓๐ ซม. มีเสาติดผนังขนาด ๕๕ x ๕๕ ซม. ส่วนเสาคู่ในเป็นเสากลมแถวละ ๕ ต้น ก่อด้วยศิลาแลงฉาบปูนขนาด ๘๐ x ๘๐ ซม. อยู่ด้านข้างของฐานชุกชีบางส่วน ด้านหน้าฐานพระเป็นเสาก่ออิฐขนาด ๔๐ x ๖๐ ซม. ฐานชุกชีมีขนาด ๓.๙๓ เมตร สูง ๑.๐๘ เมตร ยกเก็จเพิ่มมุมทั้ง ๔ ด้าน ลักษณะเป็นฐานหน้ากระดาน ๒ ชั้น รองรับบัวคว่ำและลูกฟักมีร่องรอยการฉาบปูนด้วยหินทราย ด้านใต้พื้นลงไป พบเดิมของอาคารรูปด้วยอิฐขนาด ๗ x ๑๕.๕ x ๓๐ ซม. ฐานเสมาอยู่ห่างจากโบสถ์ประมาณ ๑.๘๐ - ๒.๓๐ เมตร เหลือแนวฐานก่ออิฐรูปสี่เหลี่ยมขนาด ๑.๒๐ x ๑.๒๐ เมตร
พระพุทธรูปหินทราย ประทับนั่งปรางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๗๗ ซม. หนา ๔๐ ซม. สูง ๙๙ ซม. พระเนตรเหลือบต่ำลง พระชนงโก่ง พระนาสิกแต่งเป็นสัน พระโอษฐ์สองชั้น ครองจีวรห่มเฉียง ชายสังฆาฏิจดพระนาภี ส่วนปลายเป็นแบบเขี้ยวตะขาบ เม็ดพระศกเล็ก รัศมีเป็นเปลงเพลิงทรงกรวยสามเหลี่ยม องค์พระแกะสลักจากหินทรายเป็นหลายชั้นต่อกัน พระพาหาและพระกรรณด้านขวาหายไป ศิลปะสุโขทัยตอนปลาย-อยุธยาตอนต้น พุทธศตวรรษที่ ๑๐- ๒๓
ที่มา - แผ่นป้าย ณ ที่ตั้ง




ผมเก็บภาพใบเสมาตามหน้าที่


เจดีย์ประธานทรงลังกาหรือทรงระฆังแบบศิลปะสุโขทัย ก่อด้วยศิลาแลงและอิฐ โคนฐานรากชั้นแรกก่อด้วยศิลาแลงขนาด ๒๔.๘๐ x ๒๔.๘๐ เมตร ฐานลึกลงไปในดินราว ๑.๗๐ เมตร...




เจดีย์รายเหลือแค่นี้เองครับ...



๖ โมงกว่าแล้ว ผมต้องรีบไปวัดธรรมจักร ก่อนตลาดสินค้ามือสองจะวาย...

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น