วันพฤหัสบดีที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2561

FB Trip ไปลพบุรี - พระนารายณ์ราชนิเวศน์

จากเทวสถานปรางค์แขกผมปั่นจักรยานแค่เพียง ๒๐๐ กว่าเมตรก็ถึงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ ท่องเที่ยวด้วยจักรยานพับมันก็ดีตรงนี้เอง!


๑๐.๑๐ น. แสงแดดกำลังอบอุ่นพอดี ๆ  ไหน ๆ มาถึงแล้วผมก็ต้องแวะเข้าชมซะหน่อย... 


๑๐.๑๐ น. แสงแดดกำลังอบอุ่นพอดี ไหน ๆ มาถึงแล้วผมก็ต้องแวะเข้าชมซะหน่อย... 


จอดจักรยานไว้ข้างอาคารไม้แล้วเดินเข้าชมวังเจ้า หรือที่เรียกชื่อเต็ม ๆ ว่า "พระนารายณ์ราชนิเวศน์"


มีป้ายบรรยายบอกไว้ อ่านหน่อยนะครับ...
"พระนารายณ์ราชนิเวศน์" เป็นพระราชวังโบราณสร้างในสมัยอยุธยาที่มีความสำคัญและมีคุณค่าทางด้านสถาปัตยกรรม แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองสมัยหนึ่งของเมืองลพบุรีซึ่งมีลักษณะแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าเนื้อที่ ๔๑ ไร่เศษ ด้านหนึ่งหันเข้าตัวเมือง ด้านหลังติดแม่น้ำลพบุรี มีกำแพงก่ออิฐถือปูนและใบเสมาล้อมรอบ มีป้อมปืน ๗ ป้อม ประตูใหญ่รูปโค้งแหลม ๑๑ ประตู ที่ผนังประตูเจาะช่องรูปโค้งแหลมจำนวนมากสำหรับวางตะเกียงเพื่อสร้างความสว่างไสวให้แก่พระราชวังในยามค่ำคืน ซึ่งถือได้ว่าเป็นลักษณะทางสถาปัตยกรรมรูปแบบหนึ่งที่นิยมอย่างมากในสมัยรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ภายในพระราชวังแบ่งพื้นที่ออกเป็น ๓ เขต ได้แก่เขตพระราชฐานชั้นกลาง และเขตพระราชฐานชั้นใน โดยแต่ละเขตนั้นมีพระที่นั่งและสิ่งก่อสร้างที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ให้ศึกษามากมาย

วิกิพีเดียกล่าวถึงประวัติความเป็นมาว่า....
ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระมหากษัตริย์องค์ที่ ๒๗ แห่งกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. ๒๑๙๙ - พ.ศ. ๒๒๓๑) ทรงโปรดให้วิศวกรชาวฝรั่งเศสและอิตาลีร่วมกันออกแบบสร้างพระราชวังเมืองลพบุรี กำแพงเมืองและป้อมปราการต่างๆขึ้นในปี พ.ศ. ๒๒๐๙ เพื่อใช้เป็นที่ประทับว่าราชการงานเมือง ต้อนรับแขกเมือง พักผ่อน และล่าสัตว์ เสมือนเป็นราชธานีแห่งที่ ๒ รองจากกรุงศรีอยุธยา เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. ๒๒๓๑ เมืองลพบุรีก็หมดความสำคัญและถูกทิ้งร้างลง จนกระทั่งได้รับการซ่อมแซมบูรณะอีกครั้งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. ๒๓๙๔ - ๒๔๑๑) ทรงโปรดให้สร้างหมู่พระที่นั่งพิมาณมงกุฎและหมู่ตึกพระประเทียบขึ้นในปี พ.ศ. ๒๓๙๙ พระราชทานนามว่า “พระนารายณ์ราชนิเวศน์”.... 
ตาแก่จากเมืองรถม้าได้ทำหน้าที่เก็บภาพมาฝากเพื่อน ๆ แล้วดังนี้











ต้นจันเป็นไม้ยืนต้นรูปทรงสวยงาม มีผลสุกสีเหลือง กลิ่นหอม และรับประทานได้ จัดว่าเป็นไม้โบราณหายากที่เคยนิยมปลูกในวัดในวัง ต้นที่เห็นนี้น่าจะมีอายุประมาณ ๓๐๐ กว่าปี  ผมไม่ทราบว่าไม้จากต้นจันอย่างนี้หรือเปล่าที่ใช้สำเร็จโทษบรรดาราชวงศ์ไทย?


ช่างเหอะ... เข้าไปดูกันข้างในดีกว่า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น