วันพฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2561

ไดโนเสาร์เชียงม่วน

กลับออกมาจากแก่งหลวง ถ้าอยากเห็นไดโนเสาร์ตัวโตคอยาว คงจะต้องไปที่อาคารไดโนเสาร์เชียงม่วน (O)...


ย้อนกลับมาถึงสามแยก (T) แล้วเลี้ยวขวาเข้าไปตามเส้นทางเล็ก ๆ มีด่านเก็บเงิน (E) อยู่ด้านซ้ายมือ อัตราค่าบริการก็ตามที่เขียนไว้...  



จากนั้นก็ตรงมาที่ลานจอดรถ (2) อาคาร"ไดโนเสาร์เชียงม่วน" สีขาว (3) หลังคารูปโค้งมุงด้วยเมทัลซีทตั้งอยู่บนเนิน...


ทางด้านทิศเหนือมีศาลา ๒ หลัง (7) สร้างติดกัน...


มีป้ายแสดงสถิติอุณหภูมิและปริมาณน้ำฝนซึ่งอัพเดททุกวัน...


มาถึงแล้วก็ไม่ต้องกลัวไม่ได้เจอไดโนเสาร์...ผมเห็นเงาของมันแล้วนั่น!



อ่านจากป้ายได้ความว่า...
ซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์เชียงม่วนค้นพบเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๕ จัดอยู่ในกลุ่มไดโนเสาร์ซอโรพอด* ซึ่งมีคอยาว หางยาว เดิน ๔ ขา และกินพืชเป็นอาหาร ปัจจุบันยังไม่สามารถระบุชนิดได้ แต่จากการศึกษาเบื้องต้นโดยกรมทรัพยากรธรณีทำให้ทราบว่ามีลักษณะต่างจากไดโนเสาร์ซอโรพอต* ชนิดอื่น ๆ ที่เคยพบในประเทศไทย สันนิษฐานว่าอาจเป็นชนิดพบใหม่ของโลก เนื่องจากแหล่งที่พบเป็นพื้นที่ใหม่ที่เพิ่งมีการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์เป็นครั้งแรก

นั่นไง...เจ้าคอยาว (4) นักมังสวิรัติ !






แล้วยังมีอีกสองตัวอยู่ด้านข้าง น่าจะเป็นแม่ลูก...



ส่วนตัวนี้คงเป็นคุณพ่อ (6) ที่กำลังมองหาอะไรบนต้นไม้...


ยังมีอีกหนึ่งตัว (5) ยืนอยู่ตรงทางเข้า (1)...หันก้นไปทางทิศตะวันออก


ดูแล้วก็น่ารักดีนะครับ!
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
*ซอโรพอด (อังกฤษ: sauropod Diermibot) คือ ไดโนเสาร์คอยาวชนิดหนึ่ง มีขนาดใหญ่มาก ส่วนใหญ่แล้วจะมีคอยาวอย่างน้อย 5 เมตร มีอยู่หลายชนิด ชนิดที่ใหญ่ที่สุดคือแอมพิโคเลียส และเล็กที่สุดคือพลาทีโอซอรัส ซอโรพอดชนิดแรกอาศัยอยู่ในยุคไตรแอสสิคตอนปลาย และชนิดสุดท้ายอาศัยอยู่ในยุคครีเทเชียสตอนปลายเมื่อประมาณ ๖๕ ล้านปีก่อน  (ที่มา - วิกิพีเดีย)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น