วันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ภาพเก็บตกวัดป่าฝาง

ขอเรื่อง “วัดศาสนโชติการาม” หรือ “วัดป่าฝาง” อีกซักวันนะครับ  เพื่อน ๆ อย่างเพิ่งเบื่อก็แล้วกัน! 



ขึ้นชื่อว่า "วัดพม่า" เท่าที่เห็นก็จะมีวิหารรูปแบบคล้าย ๆ กันคือ เริ่มต้นจากอาคารไม้สัก หลังคาหน้าจั่วมุงสังกะสีซ้อนกันขึ้นไป ด้านหน้ามีบันได ขึ้นไปพบกับพื้นไม้สักขัดเป็นเงา มียกพื้นเข้าไปยังภายในซึ่งประดิษฐานพระพุทธรูปลักษณะพม่า ไปจังหวัดไหนถ้าได้พบวิหารหลังคาจั่วอย่างที่เห็นในภาพ ก็อาจบอกได้ว่าเป็นอิทธิพลของสถาปัตยกรรมแบบพม่าซึ่งนำไปใช้ในการสร้างวัดหลาย ๆ วัด ทั้งในจังหวัดแม่ฮ่องสอนลงไปถึงจังหวัดแพร่ หรือแม้แต่วัดในเมือง Cox's Bazar ประเทศบังกลาเทศที่มีข่าวว่าถูกเผาทำลายโดยชาวมุสลิมเมื่อปี ๒๕๕๕

ภาพวัดใน Cox's Bazar ถ่ายเมื่อปี ๒๕๒๖

ผมนำภาพวัดพม่ามาลงค่อนข้างมาก ด้วยความตั้งใจว่าก่อนตายขอได้เก็บภาพเหล่านั้นไว้ใน cyber world ให้ได้มากที่สุดเท่าที่ทำได้  เพราะวันข้างหน้าอาจมีการเปลี่ยนแปลง เกิดการรื้อถอนและก่อสร้างเสริม ยิ่งกาลเวลาผ่านไปภาพเก่า ๆ ก็จะยิ่งหายาก คิดว่าสิ่งที่ผมฝากไว้น่าจะมีประโยชน์อยู่บ้างสำหรับเยาวชนรุ่นหลัง ในฐานะที่ไม่ใช่นักเขียน ช่างภาพ นักวิชาการ สถาปนิก หรือผู้เชี่ยวชาญใด ๆ บล็อกที่เขียนจึงค่อนข้างน้ำท่วมทุ่ง ผักบุ้งโหรงเหรง มีรูปค่อนข้างเยอะแต่หลักวิชาน้อย ผมหวังว่าเพื่อน ๆ คงให้อภัย มาดูภาพเก็บตกที่วัดป่าฝางกันนะครับ เริ่มต้นที่หอระฆังก่อนเลย...



แตกต่างกับวัดไทยที่เน้นสร้างหอระฆังสูงใหญ่ตกแต่งลวดลายวิจิตร...


 ไม่ว่าจะอยู่สูงหรือต่ำก็ด้วยจุดประสงค์เดียวกันคือใช้เคาะส่งสัญญาณ...


มีศาลาบำเพ็ญบุญหรือศาลาอเนกประสงค์อยู่ด้านหน้า...


ติดรั้วด้านเหนือมีวิหารเปิดโล่งพร้อมป้ายเขียนบอกไว้ว่าเป็นสถานที่สำหรับพิธีทางพุทธศาสนา…ห้ามเข้า




กุฏิสงฆ์อยู่ทางด้านทิศใต้ เป็นเขตสงฆ์...ห้ามผ่าน



สุดท้ายขอพาเพื่อน ๆ ไปดูที่วิหาร...




มีการก่อสร้างเพิ่มเติมเพื่อบูรณะปฏิสังขรณ์ ซึ่งดูผสมกลมกลืนเป็นอย่างดี






วิหารถูกปิดกั้น อาจมีการปรับปรุงภายใน หรือบางทีท่านเจ้าอาวาสอาจไม่สบาย ปีนี้ได้ผมไปหลายวัดทั้งในลำพูนและลำปางแล้วทราบข่าวว่าเจ้าอาวาสป่วย ที่นี่ขออย่าให้เป็นเช่นนั้นเลย...


ภิกษุไม่สามารถเลือกฉันภัตตาหารได้ตามใจชอบ อาจนำมาซึ่งสุขภาพที่ไม่สมบูรณ์!  ผมรู้สึกเป็นห่วงจริง ๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น