วันศุกร์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2565

ประวัติสถานีรถไฟเชียงใหม่

๒๒ ธันวาคม ๒๕๖๕ เวลา ๐๘.๒๖ น. ผมปั่นจักรยานมาซื้อตั๋วโดยสารที่สถานีรถไฟเชียงใหม่...

ด้านข้างมีป้ายบรรยายประวัติสถานีรถไฟเชียงใหม่ติดอยู่ เพื่อน ๆ อ่านหน่อยน้า ผมพิมพ์ให้แล้ว......

 
 "ประวัติสถานีรถไฟเชียงใหม่" 
สถานีรถไฟเชียงใหม่ (หลังแรก) ชาวบ้านเรียกสถานีนี้ว่า "สถานีป๋ายราง" หมายถึงที่สิ้นสุดของรางรถไฟ  สร้างเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กชั้นเดียว ถือได้ว่าเป็นอาคารที่สวยงามมาก เพราะเป็นประตูผ่านเข้าออกระหว่างเชียงใหม่กับต่างจังหวัดที่มีคนใช้กันมากที่สุด หลังการก่อสร้างสถานีรถไฟเชียงใหม่เสริจก็ได้มีพิธีเปิดทำการเดินรถไฟสายเหนือขึ้นเมื่อวันที่ ๑ มกราคม ๒๔๖๔

สถานีรถไฟเชียงใหม่หลังแรกนี้เคยถูกใช้เป็นที่รับเสด็จ ฯ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗  และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินประพาสมณฑลพายัพ ในสมัยสงครามโลก
 
สถานีรถไฟหลังนี้ ถูกเครื่องบินของฝ่ายสัมพันธมิตรทิ้งระเบิดพังพินาศไปพร้อมกับชีวิตคนนับร้อย รวมท้้งอาคารบ้านเรือน โกดังเก็บสินค้าที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงราบเรียบไปหมดเมื่อวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๔๘๖ หลังจากสถานีเชียงใหม่ถูกระเบิด ทางราชการต้องประกาศงดใช้สถานีรถไฟแห่งนี้ไปหลายปี ผู้โดยสารที่เดินทางโดยรถไฟต้องไปขึ้นลงที่สถานีป่าเส้า จังหวัดลำพูนแทน

เมื่อสงครามสงบลง (พศ. ๒๔๘๘) จึงได้สร้างสถานีรถไฟขึ้นมาใหม่ในพื้นที่เดิมและใช้มาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งปีที่จัดสร้างอาคารหลังนี้ไม่มีหลักฐานแน่ชัด แต่มีหลักฐานถึงผู้ออกแบบซึ่งปรากฏในหนังสือวารสารรถไฟ ปีที่ ๑๒ ฉบับที่ ๑๒ เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๑๑ มีภาพสถานีรถไฟเชียงใหม่ เต็ม ๒ หน้า และมีคำบรรยายภาพว่า "สถานีรถไฟเชียงใหม่" คุณถาวร บุณยเกตุ สถานปนิกให้เรียกว่า แบบไทยเหนือ เพื่อรับกับภูมิประเทศและบรรยากาศของภาคเหนือ ออกแบบโดย ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าโวฒยากร วรวรรณ ในสมัยที่พระองค์ยังทรงเป็น ครฟ. รับราชการในกรมรถไฟเมื่อเกือบ ๘๐ ปีก่อน คือประมาณปี พ.ศ. ๒๔๘๑

นอกจากนี้แล้ว ศ.มจ.โวฒยากร วรวรรณ ยังทรงออกแบบสถานีรถไฟธนบุรี ซึ่งสร้างเสร็จในปี พ.ศ. ๒๔๙๓ ทั้งสถานีเชียงใหม่และสถานีธนบุรีมีจุดเด่นคือ "หอนาฬิกา" ซึ่งสันนิฐานได้ว่าสถานีเชียงใหม่คงจะสร้างขึ้นในระยะใกล้เคียงกับสถานีธนบุรี คือระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๘๘ - ๒๔๙๓ เพราะในวารสารรถไฟ ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๙ ก็มีภาพสถานีเชียงใหม่ปรากฏ    
ใกล้ ๆ กันผมเห็นตารางเดินรถสายเหลือ (time table) ตั้งอยู่...รถดีเซลรางธรรมดา 408 ออกเวลา 09.30 น. 


พาเจ้า Banian มานั่งรอที่ม้าบนชานชาลา...

เก็บภาพฆ่าเวลา...


 
และมองดูผู้โดยสารที่กำลังจะไปกับขบวนรถด่วน 


รวมทั้งนักท่องเที่ยวมากมายที่มากับขบวนรถไฟเที่ยวขึ้น...


๙ โมง...รถไฟขบวน 408 เข้าเทียบชานชาลา ผมพาเจ้า Banian ขึ้นนั่ง


เลือกที่นั่งประจำ...ม้ายาวข้างประตู

ดูดิ...ข้างล่างแสงแดดกำลังดี เหมาะกับการเก็บภาพ

 
นี้แหละ...FB Trip กับเจ้า Banian และกล้องถ่ายรูปตัวเล็ก ๆ ของผม!

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น