วันศุกร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2564

อุโบสถวัดจู้ดหลวง

 
หอระฆังวัดจู้ดหลวง (5) ตั้งอยู่หน้าอุโบสถ (6) ใกล้รั้วด้านทิศเหนือ รูปลักษณ์แบบดั้งเดิม แสดงให้เห็นถึงความเก่าความแก่... 
 
 
 
เก็บภาพมาฝากเพื่อน ๆ แล้วดังนี้...
 
 
 
สถูปเจดีย์บรรจุอัฐิอดีตเจ้าอาวาสตั้งอยู่ใกล้ ๆ

อุโบสถ (6) หลังย่อมตั้งอยู่ในกำแพงแก้ว หลังคาลดชั้น ๒ ระดับ มีบันไดขึ้นสู่มุขโถงด้านหน้า...

 
 
 

 
 
 
ประตูเข้าโบสถ์มีเพียงหนึ่งเดียวอยู่ตรงกลาง...
 
 
 
 
ด้านข้างมี ๓ ช่องหน้าต่าง เพิ่มคุณค่าตัวโบสถ์ด้วยสถาปัตยกรรมที่เรียบง่ายแต่งดงาม...
 

 
 
 
 
 
 

ด้านหลังผนังทึบ ปราศจากสีสันแลลวดลาย...

 

เว็บพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น กล่าวถึงประวัติความเป็นมาของใบเสมาว่า...
ใบเสมา หรือ สีมา เป็นประติมากรรมหินสลัก ซึ่งใช้เป็นสัญลักษณ์หรือเพื่อแสดงขอบเขตพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์เนื่องในพุทธศาสนา จากการศึกษาพบว่ามีการสร้างอย่างแพร่หลายมาก  ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยช่วงพุทธศตวรรษที่  ๑๒-๑๖  ซึ่งเป็นยุคที่วัฒนธรรมทวารวดีเจริญรุ่งเรื่องขึ้น  การปักใบเสมาดังกล่าวอาจสืบเนื่องมาจากระบบคติความเชื่อ สันนิษฐานว่าอาจจะเกี่ยวกับ
-คติที่สืบทอดมาจากประเพณีการปักหินตั้ง (Megaliths) โดยเชื่อเรื่องการนับถือผีบรรพบุรุษของชนพื้นเมืองในเอเชียอาคเนย์
-คติการสร้างขึ้นเนื่องในพุทธศาสนา เพื่อเป็นหลักเขตกำหนดบริเวณศักดิ์สิทธิ์ หรือสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางพุทธศาสนา
-เป็นตัวแทนสถานที่ศักดิ์สิทธิ์สำหรับเคารพบูชา  ทำหน้าที่คล้ายสถูปเจดีย์หรือพระพุทธรูปเพื่อให้ผู้คนได้กราบไหว้บูชา
ลักษณะการปักใบเสมา
          -ปักหลักเดียว เพื่อแสดงเขตหรือตำแหน่งของบริเวณพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์
          -ปักเป็นกลุ่ม พบว่ามีการปักล้อมรอบเนินดินหรือพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์โดยไม่มีการกำหนดทิศทางแน่นอน
          -ปักประจำทิศ มีตั้งแต่การปัก ๔ ทิศ ๘ ทิศ ไปจนถึง ๑๖ ทิศ โดยปักล้อมรอบเนินดินหรือสิ่งก่อสร้างทางศาสนา เพื่อแสดงเขตของสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เช่น เจดีย์ พระธาตุ อุโบสถ พบว่ามีทั้งการปักใบเสมาเดี่ยว ปักเสมาคู่ หรือปักซ้อนกัน ๓ ใบ
รูปแบบและการประดับตกแต่งลวดลาย
          ใบเสมาที่พบในวัฒนธรรมทวารวดีทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย มีลักษณะเป็นแท่งหินขนาดใหญ่ อาจเป็นลักษณะแท่งหินธรรมชาติ หรือแผ่นหินที่ไม่มีการโกลนให้เป็นรูปร่าง แบบแผ่นหิน (Slab Type) ที่มีการถากโกลนให้เป็นแผ่น หรือแบบแท่งเสา (Pillar Type) ที่มีการถากโกลนให้เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยม หกเหลี่ยม แปดเหลี่ยม มีการตกแต่งลวดลายโดยการแกะสลักลงบนใบเสมา ลวดลายที่พบมาก เช่น
-แกะสลักรูปสันนูนทรงสามเหลี่ยมคล้ายสถูปบริเวณกึ่งกลางใบ สถูปเป็นสัญลักษณ์แทนพระพุทธเจ้า
-แกะสลักเป็นหม้อน้ำศักดิ์สิทธิ์ (หม้อปูรณฆฏะ) มีลักษณะเป็นภาชนะทรงกลม บางครั้งมีพวย หรือมีการประดับลายพรรณพฤกษาเรียงต่อเนื่องขึ้นเป็นรูปกรวยยอดแหลมหรือสันสถูป หม้อน้ำนี้เป็นสัญลักษณ์มงคลตามความเชื่อของอินเดียโบราณ แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์
-แกะสลักเป็นภาพเล่าเรื่องทางพุทธศาสนา เช่น พุทธประวัติ และชาดกตอนสำคัญ
-แกะสลักเป็นธรรมจักร พบทั้งที่สลักบริเวณกึ่งกลางใบและสลักบริเวณสันขอบของใบเสมา ธรรมจักรเป็นสัญลักษณ์ของพระพุทธศาสนาที่แสดงว่าพระพุทธศาสนาได้เผยแผ่มายังดินแดนแห่งนี้แล้ว
นับเป็นบุญตาได้มาเห็นใบเสมาที่อุโบสถวัดจู้ดหลวง...



ขอบคุณข้อมูลวิชาการจากเว็บพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่นด้วยครับ  _/|\_

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น