วันเสาร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2564

วิหารวัดจู้ดหลวง

 

วิหารวัดจู้ดหลวง (8) หลังคาลดชั้น ๒ ระดับ หันหน้าไปทางทิศเหนือ ในกำแพงแก้วซึ่งมีซุ้มประตูโขงอยู่ตรงกลาง ตรงกับพระเจดีย์ (7)...

 

ผมเก็บภาพมาให้เพื่อน ๆ แล้วดังนี้...

ฐาปกรณ์ เครือระยา นักวิจัยประจําศูนย์วิจัย วิทยาลัยอินเตอร์เทคลําปาง เขียนไว้ในงานวิจัยเรื่อง “การศึกษารูปแบบและแนวคิด ซุ้มประตูโขงและโขงพระเจ้าสกุลช่างลําปาง ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๒๑-๒๕” ว่า....

สําหรับซุ้มประตูโขงวัดจู้ดหลวงนั้นมีรูปแบบและลวดลายปูนปั้นคล้ายคลึงกับซุ้มประตูโขงวัดพระธาตุลําปางหลวง เพียงแต่มีขนาดเล็กและรายละเอียดน้อยกว่า จารึกบนซุ้มประตูโขงระบุว่า “สร้างจ.ศ. 112” (ตรงกับ พ.ศ. 2436) แสดงให้เห็นว่าคติแนวคิดการสร้างซุ้มประตูโขงไว้หน้าวิหารยังคงได้รับความนิยมและสืบทอดต่อมาจนถึงช่วงเวลานี้ อย่างไรก็ดีปัจจุบันซุ้มประตูโขงวัดจู้ดหลวงได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ใหม่ซึ่งมีผลทําให้ลวดลายปูนปั้นบนซุ้มประตูเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม...

 

  

 

 

มีประตูด้วยนะครับ...

 
 
ปกติทั้งสองบานประตูปิด อย่าได้คิดผ่าน ผมต้องใช้ประตูสแตนเลสทางด้านข้างครับผม...
 
 
 
ตาเฒ่าเดินเข้ามาข้างใน เห็นศาลารายรอบวิหาร ด้านหน้ามีบันไดพร้อมสิงห์คู่ผู้พิทักษ์ ขึ้นสูงมุขโถงด้านหน้า....
 
 
 
 
 
แหงนหน้ามองหน้าบันและช่อฟ้าใบระกางามวิจิตร...
 
 
 
 
 
 
 
 
ด้านหน้ามีสามประตู ตรงกลางใหญ่กว่าเพื่อน...
 
 
 
ซุ้มเหนือประตูลวดลายพญาครุฑ...
 
 
 
ประตูข้างลวดลายนกยูงเสริมประดับบานลงรักปิดทองลวดลายทวารบาลในป่าหิมพานต์
 
 
 
 
 
ไม่ได้เห็นข้างในก็ไม่เป็นใร ผมสวมหัวใจนักสำรวจ ตรวจดูรอบ ๆ วิหาร...
 

 
ตื่นตาตื่นใจกับลวดลายวิจิตรพิสดารของหางหงส์ คันทวยและซุ้มหน้าต่าง...
 
 
 
 
 
ด้านหลังก็ยังมีประตูเข้า...
 
 
บันไดไม่กี่ขั้น หากเปิดประตูลวดลายหน้าตัวมอมเข้าไปข้างใน คงได้เห็นพระประธานองค์ใหญ่... 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
พยายามคันหาภาพภายในวิหารในอินเทอร์เน็ตแล้วไม่เจอ! หมดปัญญาครับ!

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น