วันเสาร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2562

วิหารหลวงวัดฟ้าฮ่าม จ.เชียงใหม่


จากวัดศรีโขง (1) ผมปั่นจักรยานแบบชิว ๆ ๑.๒ กิโลเมตร ก็ถึงวัดฟ้าฮ่าม (2) วัดเก่าอายุกว่า ๖๐๐ ปี




มีประวัติวัดให้อ่านด้วย...
ประวัติวัดฟ้าฮ่าม
"พระเจ้าแสนเมืองมา" พระเจ้าลักขบุราคม พระองค์เป็นกษัตริย์ราชวงค์มังราย (เม็งราย) องค์ที่ ๙ ทรงเป็นราชโอรสของพระเจ้ากือนาธรรมมิกราช กษัตริย์องค์ที่ ๘  เมื่อพระชมมายุได้ ๑๕ พรรษา ในเวลานั้นพระเจ้าพรหม พระมาตุลาของพระองค์ ครองเมืองเชียงราย ได้ยกทัพมาตีนพบุรีศรีนครพิงค์ (เชียงใหม่) เพื่อแย่งชิงราชบัลลังก์ แต่ถูกทัพหลวงตีพ่าย จึงขอความช่วยเหลือจากพระอินทรราชากษัริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา แต่ก็ถูกตีพ่ายไปอีก
ต่อมาอีกไม่นาน พระเจ้าพรหมก็เสด็จมานพบุรีศรีนครพิงค์อีก เพื่อขอพระราชทานอภัยโทษ โดยนำพระพุทธสิพิงค์ (พระสิงห์) องค์สำคัญคู่บ้านคู่เมือง (สร้างเมื่อ พ.ศ. ๗๐๐ ตามตำนาน "สิงหลปฏิมา" และ ชินกาลมาลีปกรณ์ สร้างขึ้นที่ประเทศศรีลังกา นัยหนึ่งว่าที่เมือง "อนุราชสิงหล" ประเทศเดียวกัน ครั้งเมื่อพ่อขุนรามคำแหงได้แต่งราชฑูตไปขอมาจากประเทศศรีลังกา) มาจากเมืองกำแพงเพชร ประมาณ พ.ศ. ๑๙๓๓ (พงศาวดารโยนก) อัญเชิญไปไว้ที่เชียงราย ใน พ.ศ. ๑๙๓๔ แล้วต่อมาได้นำมาถวายพระเจ้าแสนเมืองมา เพื่อขอพระราชทานอภัยโทษ โดยอัญเชิญจากเชียงรายทางลำน้ำกก แล้วมาขึ้นที่สบฝางกุสะนคร (เมืองฝาง) จากนั้นอัญเชิญขึ้นหลังช้างไปเชียงดาว เพื่อล่องเรือตามเส้นทางลำน้ำแม่ระมิงค์ (แม่ปิง) ครั้นถึงนพบุรีศรีนครพิงค์แล้ว อัญเชิญขึ้นที่ท่าวังสิงห์คำ เหนือท่าเจดีย์งามประมาณ ๕๐ วา แต่เกิดเหตุการณ์ปาฏิหารย์ขององค์พระพุทธสิหิงค์ ปรากฏว่าท้องฟ้าที่สว่างก็มืดลง และ มีพระรัศมีจากองค์พระพุทธสิหิงค์ พุ่งไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นลำแสงสีทองดั่งรุ้งกินน้ำ ยาวประมาณ ๒,๐๐๐ วา และสิ้นสุดที่แห่งหนึ่ง ท้องฟ้าที่นั้นก็สว่าง ซึ่งเป็นที่น่าอัศจรรย์ใจยิ่งนัก
พระเจ้าแสนเมืองมาจึงโปรดเกล้าให้สร้างอารามขึ้น ณ ที่ลำแสงสิ้นสุดนั้นว่า "อารามฟ้าฮ่าม" (วัดฟ้าฮ่าม) หมายถึงฟ้าสว่าง-อร่ามเรืองรอง สร้างเมื่อ พ.ศ. ๑๙๓๔ (นับเป็นเวลาถึงปัจจุบัน พ.ศ. ๒๕๕๒ วัดฟ้าฮ่ามมีอายุได้  ๖๑๘ ปี)  จากนั้นนำพระพุทธสิหิงค์ไปประดิษฐาน ณ.วัดลีเชียงพระ (วัดพระสิงห์) ในปัจจุบัน

เว็บระบบสาระสนเทศวัด กล่าวว่า...
วิหารวัดฟ้าฮ่าม สร้างในสมัยใดไม่ปรากฏชัดเจน สร้างแบบศิลปะไทยลานนา มีการแกะสลักลายไม้หน้าวิหาร ปิดทองและประดับกระจกสี ภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปปั้นศิลปะลานนา ต่อมาได้ชำรุดทรุดโทรมลงตามกาลเวลา ได้รับการฐูรณะครั้งหลังสุดในสมัยของพระครูลิงหวิชัย (หลวงปู่ครูบาสิงห์) และได้มีการวาดภาพพุทธประวัติและพระเจ้าสิบชาติบนฝาผนังภายในวิหาร    
โชคดีที่วิหารหลวงเปิดอยู่ ผมนำภาพมาฝากเพื่อน ๆ แล้วดังนี้...




  



 




 


 



         

   

เพื่อน ๆ ลองทายซิว่ามีพระเจดีย์อยู่หลังวิหารหรือเปล่า?

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น