วันศุกร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2564

วัดแจ่งหัวริน ต.หัวเวียง จ.ลำปาง

คำเมืองที่ว่า “แจ่ง” นั้นแปลว่า "มุม"  กำแพงเมืองเชียงใหม่มีอยู่ ๔ แจ่งหรือ ๔ มุม...

แจ่งหัวลิน เป็นแจ่งด้านตะวันตกเฉียงเหนือ ตั้งอยู่ตรงข้ามโรงพยาบาลเชียงใหม่ราม เป็นมุมเมืองที่เป็นต้นร่องน้ำที่มาจากห้วยแก้วบนดอยสุเทพ ซึ่งเป็นน้ำที่ใช้หล่อเลี้ยงตัวเมืองเชียงใหม่มาแต่โบราณ

"แจ่งหัวลิน" ผมรู้จักดีเพราะเคยนั่งรถเมล์สาย ๓ ผ่านเช้าเย็นตอนไปเรียนที่วิทยาลัยเทคนิคภาคพายัพ หลังจากนั้นก็ยังเคยไปเล่นดนตรีที่ร้านอาหารศรีสุรางค์ตรงมุมถนนสายห้วยแก้วอยู่นานปี...

หัวลิน หมายถึง จุดเริ่มต้นของการรับน้ำด้วยการผ่านรางน้ำ ในอดีตมุมกำแพงเมืองนี้เป็นที่รับน้ำจากห้วยแก้วเพื่อนำเข้ามาใช้ในเมือง จึงเรียกมุมกำแพงเมืองนี้ว่า แจ่งหัวลิน ป้อมที่แจ่งนี้บูรณะขึ้นใหม่ในสมัยพระเจ้ากาวิละ ประมาณ พ.ศ. ๒๓๔๔  คำว่า "หัวลิน" นี้อาจารย์ถิ่น รัติกนก ได้อธิบายไว้ว่า คำว่า "ลิน" เป็นคำนาม หมายถึง ราง น้ำ คำว่า "หัว" ตามความที่ใช้ของคนภาคเหนือ หมายถึง แรก, เริ่ม ฉะนั้นความหมายของ "หัวลิน" จึงเป็นจุดเริ่มต้นของรางน้ำนั่นเอง

เขลางค์นครก็มีแจ่งหัวลินเหมือนกัน อยู่ใกล้ ๆ กับแม่น้ำวัง แถวนั้นอยู่ในเขตตำบลเวียงเหนือ...

วัดแจ่งหัวริน ตั้งอยู่เลขที่ ๔๑๑๘ บ้านแจ่งหัวริน ตำบลเวียงเหนือ อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง สังกัดมหานิกาย มีที่ดินเกือบ ๒ ไร่ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๒๕๐ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ. ๒๓๖๐...

เวลาประมาณบ่าย ๓ โมงกว่า ผมมาถึงวัดแจ่งหัวรินเพื่อสำรวจวัดในนครลำปาง จากถนนตรอกแจ่งหัวรินเห็นรั้ววัดเรียบง่าย เก็บภาพสิงห์คู่และยักษาซึ่งเฝ้าอยู่หน้าวัดไว้เอาไว้ก่อน

 

 

เข้ามาแล้วหันกลับไปเก็บภาพประตูวัด (1) ไว้อีก ๑ บาน... 

 

 ตรงมุมรั้วผมเห็นหอระฆัง (3) ตั้งอยู่ดูเรียบง่าย...
 
 
 
 
 
แหม... ตีซะกลองแตกเลย อิอิ

 

ถัดจากหอระฆังเป็นศาลเจ้าแม่กวนอิม ผมเห็นหอเสื้อวัดด้วย...


อาคารหลังยาว (6) ตั้งอยู่ติดรั้วฝั่งตรงข้าม น่าจะใช้เป็นศาลาอเนกประสงค์...

 
กุฏิสงฆ์ครับ... 
 

เดี๋ยวไปดูถาวรวัตถุอื่น ๆ ด้วยกันน้า...

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น