สวนพฤกษศาสตร์เป็นแหล่งรวบรวมพรรณพืชที่มีชีวิต ซึ่งเป็นพืชประจำถิ่นหรือนำมาปลูกจากต่างถิ่น เพื่อใช้ในการศึกษาค้นคว้าวิจัย เพื่อให้ได้ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับพืช ภายในสวนพฤกษศาสตร์มีการปลูกพืชอย่างมีระบบเป็นหมวดหมู่ ทั้งด้านอนุกรมวิธานและการใช้ประโยชน์ มีการปลูกเพิ่มจำนวนชนิดพืชอยู่ตลอดเวลา พืชที่รวบรวมไว้นั้นมีทั้งพืชถิ่นเดียว พืชหายากและใกล้สูญพันธุ์ เพื่อการจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติด้านพืชอย่างยั่งยืน สวนพฤกษศาสตร์ยังเปิดกว้างในการศึกษาหาความรู้แก่สาธารณชน เป็นดุจดังพิพิธภัณฑ์ให้แก่ผู้ที่มาเยือน ได้ทุกเพศทุกวันและทุกระดับความรู้ เพื่อจะเรียนรู้และชื่นชมต่อธรรมชาติสวนพฤกษศาสตร์มีความสำคัญในแง่ของการอนุรักษ์พันธุ์พืช เป็นสิ่งจำเป็นที่จะให้คนท้องถิ่นได้รู้จักสังคมพืชและพืชประจำถิ่น เพื่อให้ทราบถึงประโยชน์ของพืชประจำถิ่นที่จะพัฒนาท้องถิ่นได้ในอนาคต สวนพฤกษศาสตร์จึงจัดได้ว่าเป็นประตูสู่วิทยาศาสตร์ การศึกษาและการอนุรักษ์ในอาณาจักรพืชส่วนสวนรุกขชาติ (Arboretum) มีลักษณะดังนี้...
สวนรุกขชาติเป็นแหล่งรวบรวมพรรณไม้ท้องถิ่น รวมแม่ไม้ที่มีค่าทางเศรษฐกิจ พืชหายากและใกล้สูญพันธุ์ ในท้องถิ่นนั้น พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่หย่อมป่าสงวนดั้งเดิ่ม มีต้นไม้เดิมหรือบางทีเป็นพื้นที่สวนป่าเดิมที่ไม่มีการบำรุงต่อไปแล้ว จึงได้เปลี่ยนเป็นสวนรุกขชาติ มีการปลูกพรรณไม้เสริมพร้อมกับติดป้ายชื่อพรรณไม้ ให้ความรู้ชนิดพรรณไม้แก่ประชาชน เพื่อเป็นแหล่งศึกษาวิจัยพรรณไม้ต่างๆ ที่รวบรวมไว้ เช่น การเจริญเติบโต การขยายพันธุ์การปลูกพรรณไม้ในสวนรุกขชาติส่วนใหญ่จะเป็นไม้ต้นปลูกปะปนกันไป โดยเน้นความสวยงามตามธรรมชาติ ให้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ของประชาชนสวน National_Kandawgyi_Botanical_Gardens" ถูกเรียกว่าเป็นสวนพฤกษศาสตร์ (Botanical garden) แต่ผมอยากจะเรียกว่าสวนรุกขชาติมากกว่า คิดว่าสวนพฤกษศาสตร์จริง ๆ แล้วน่าจะมีลักษณะเหมือนกับ สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ ซึ่งผมอยากจะเขียนถึง...
สมัยรัฐบาลนายชวนกู้มิยาซาว่า ๕ หมื่นล้านมากระตุ้นเศรษฐกิจ ทำให้ผมมีโอกาสเข้าอบรมเกี่ยวกับการท่องเที่ยวและการโรงแรมที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ช่วงนั้นผมเล่นเปียโนอยู่ที่โรงแรมอมิตี้กรีนฮิลล์ (อยู่เยื้องกับวัดเจ็ดยอดเชียงใหม่) ผู้เข้าอบรมนอกจากได้เรียนฟรีกินฟรีแล้วยังไปเที่ยวฟรีอีกด้วย หนึ่งในสถานที่ ๆ อาจารย์พาไปทัศนะศึกษาคือ สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
สมัยนั้นยังไม่มีกล้องถ่ายรูปดิจิตอล ผมใช้กล้องฟิล์มธรรมดา ๆ ราคาพันกว่าบาท บันทึกภาพไว้ได้ ๒๐ กว่าบาน พอดีวันนี้เครื่องสแกนเนอร์ใช้งานได้แล้ว จึงอยากนำภาพที่ได้มาโพสต์ให้เพื่อน ๆ ดู ขอเปลี่ยนบรรยากาศจากพินอูลวินไปที่เชียงใหม่สัก ๑ วันก็ยังดี!
สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ อยู่ในตำบลแม่แรม อำเภอแม่ริม บนทางหลวงหมายเลข 1096 (แม่ริม-สะเมิง) ขับรถเข้าไปประมาณ ๑๒ กิโลเมตร จะเห็นทางเข้าอยู่ทางด้านซ้ายมือ สมัยนั้นมีต้นไม้ใหญ่ต้นหนึ่งอยู่ด้านหน้า...ไม่แน่ใจตอนนี้ยังอยู่หรือเปล่า?
นี่คือรถที่พาพวกเราไปกันในวันนั้น...
เว็บ emagtravel.com บรรยายว่า..
ผู้ที่ต้องการศึกษาเกี่ยวกับพันธุ์ไม้ สามารถขับรถเที่ยวชมรอบๆได้ โดยเฉพาะพรรณไม้หายากและมีความโดดเด่นเป็นพิเศษ ซึ่งประกอบด้วยเรือนกระจก 3 แบบ มีทั้งหมด 12 โรงเรือน ได้แก่...เพื่อน ๆ ดูรูปกันเองก็แล้วกัน...
1. เรือนแสดงไม้ป่าดิบชื้น จัดแสดงสภาพป่าและพันธุ์ไม้ป่าดงดิบ สร้างบรรยากาศภายในเสมือนอยู่ในป่าจริงๆ
2. เรือนไม้น้ำ จัดแสดงไม้น้ำและพืชชุ่มน้ำชนิดต่าง ๆ โดยเน้นพันธุ์บัวของไทย เป็นหลักและเสริมด้วยพรรณไม้น้ำ ไม้ชุ่มน้ำต่างๆและพืชกินแมลง
3. เรือนกล้วยไม้และเฟิร์น จัดแสดงกล้วยไม้และเฟิร์นชนิดต่างๆ
4. เรือนพืชทนแล้ง เป็นพืชสกุลกระบองเพชรชนิดต่างๆ พืชสกุลศรนารายณ์ กุหลาบหิน เสมา และไม้แล้งทรงสูง
5. เรือนรวมพรรณบัว โดยรวมพรรณบัวโดยเฉพาะของไทยและของเอเชีย
6. เรือนแสดงพันธุ์สัปปะรดสี เป็นพันธุ์สัปปะรดสีที่มีการนิยมปลูกกันในประเทศไทย
7. เรือนแสดงบอนสีและหน้าวัว จัดแสดงบอนสี บอนป่า หน้าวัว ไม้ด่าง ไม้แคระ และพืชขนาดเล็กที่สวยงาม
8. เรือนแสดงส้มกุ้ง จัดแสดงพืชสกุลส้มกุ้งที่รวบรวมจากในประเทศและต่างประเทศ
9. เรือนแสดงไม้ดอกไม้ประดับ ไม้ด่าง จัดแสดงไม้ดอกไม้ประดับ ไม้ลูกผสมและไม้ต่างประเทศที่พบทั่วไปในท้องตลาด
10. เรือนแสดงไม้ไทยหายาก จัดแสดงไม้ไทยและไม้ไทยหายากชนิดต่างๆ มีป้ายชื่อบอกรายละเอียดโดยย่ออย่างชัดเจน
11 – 12 เรือนแสดงพืชสมุนไพร จัดแสดงพืชสมุนไพรของภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือพร้อมป้ายบอกชื่อสรรพคุณต่างๆ โดยย่อ
ตั้งแต่ไปครั้งนั้นแล้วก็ยังไม่เคยกลับไปเยือนอีกเลย ถ้ามีโอกาสผมจะกลับไปเก็บภาพมาให้เพื่อน ๆ ดูอีกนะ (ยิ่งตอนนี้ 60 up ไม่ต้องเสียค่าผ่านประตูแล้วด้วย ซำบายเลย 555)
(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูล)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น