วันอังคารที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

FB Trip ไปอุบล - วัดใหญ่ชัยมงคล พระนครศรีอยุธยา

 

กลับไปตั้งต้นใหม่ที่เจดีย์วัดสามปลื้ม ผมปั่นจักรยานผ่านนักเลงตรงไปยัง "วัดใหญ่ชัยมงคล" ด้วยระยะทางเกือบ ๒ กิโลเมตร...


ถึงแล้วอ้อมไปจอดตรงทางเข้าด้านทิศตะวันออก (P)...


คล้องรถไว้กับเสาแล้วเดินข้ามสะพานไปยังตัววัด พบป้ายตั้งอยู่...อ่านหน่อยครับ!
วัดใหญ่ชัยมงคล วัดนี้เดิมพระเจ้าอู่ทองทรงสร้างเมื่อ พ.ศ. ๑๙๐๐ สำหรับเป็นสำนักของพระสงฆ์ซึ่งไปไปบวชเรียนมาแต่สำนักพระวันรัตนมหาเถรในประเทศลังกา เรียกนามนิกายนี้ว่า “คณะป่าแก้ว” จึงได้นามว่า "วัดป่าแก้ว" ต่อมาคนทั้งหลายพากันเลื่อมใสบวชเรียน พระสงฆ์นิกายนี้ก็เจริญแพร่หลาย พระราชาธิบดีจึงตั้งอธิบดีสงฆ์นิกายนี้เป็นสมเด็จพระวันรัตนมีตำแหน่งเป็นสังฆราชฝ่ายขวา คู่กับพระพุทธโฆษาจารย์เป็นอธิบดีสงฆ์ฝ่ายคันถธุระคือสังฆราชฝ่ายซ้าย และวัดนี้เป็นที่สถิตของสมเด็จพระสังฆราชจึงได้ชื่อว่า“วัดเจ้าพญาไท” สำหรับอุโบสถของวัดนี้พระเฑียรราชาเคยไปเสี่ยงเทียนอธิฐานแข่งบารมีกับขุนวงศาธิราช ก่อนที่จะได้ราชสมบัติในแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระมหาอุปราชาแห่งพม่าได้ยกกองทัพเข้าตีกรุงศรีอยุธยาเมื่อ พ.ศ. ๒๑๓๕ หมายจะปราบปรามเมืองไทยไว้ในอำนาจ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงยกกองทัพออกไปต่อสู้ข้าศึก จนได้ชนช้างกับพระมหาอุปราชาที่ตำบลหนองสาหร่าย แขวงเมืองสุพรรณบุรี สมเด็จพระนเรศวรมหาราชมีชัยชนะทรงฟันคู่ต่อสู้สิ้นพระชนม์บนคอช้าง แต่ครั้งนั้นไม่สามารถจะตีกองทัพของข้าศึกให้แตกแยกยับเยินไปได้ เนื่องจากกองทัพต่าง ๆ ติดตามไปไม่ทันพระองค์ ครั้นเมื่อเสร็จการสงครามแล้ว สมเด็จพระนเรศวรมหาราชจึงทรงพิโรธแม่ทัพนายกองเหล่านั้น จะให้ประหารชีวิตแม่ทัพนายกองที่ตามเสด็จไปไม่ทันเสียให้หมด สมเด็จพระวันรัตนวัดป่าแก้วถวายพระพร ขอพระราชทานโทษไว้ แล้วทูลแนะให้ทรงสร้างเจดีย์ไว้เป็นที่ระลึกเพื่อเฉลิมพระเกียรติยศ ที่ได้มีชัยชนะอันยิ่งใหญ่ในครั้งนั้น สมเด็จพระนเรศวรมหาราชจึงโปรดให้สร้างเจดีย์ใหญ่ขึ้นที่วัดนี้ เจดีย์ที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงสร้างขึ้นที่วัดนี้ขนานนามว่า  “พระเจดีย์ชัยมงคล” ต่อมาเรียกวัดนี้ว่า “วัดใหญ่ชัยมงคล”


รูปแบบสันนิษฐานของวัดใหญ่ชัยมงคล...


นั่นไงครับ... “พระเจดีย์ชัยมงคล”





มีผู้คนหลั่งไหลไปบูชากราบไหว้กันมากมาย...



 


วิหารพระพุทธไสยาสน์สร้างในสมัยสมเด็จนเรศวรมหาราช เพื่อเป็นที่สักการะบูชาและปฏิบัติพระกรรมฐาน พระพุทธรูปได้รับการปฏิสังขรณ์ใหม่ในปี พ.ศ. ๒๕๐๘...





พระอุโบสถสร้างในสมัยพระเจ้าอู่ทอง เห็นแล้วก็รู้ว่าเก่า...


มีสิ่งแปลกปลอมตั้งอยู่ เป็นความน่าเกลียดที่เบียดบังความงดงาม...


 

ถึงอย่างไร ผมก็ต้องเดินหาใบเสมาให้เจอ...




หอระฆังดูสวยงาม...

 
 

เริ่มจะปวดเข่า พอดีเวลาก็เหลือน้อยเต็มที ผมก็เลยไม่ได้ขึ้นไปข้างบนโน่น! ขอเป็นคราวหน้าละกัน


คงต้องปั่นจักรยานกลับไปรอขึ้นรถไฟฟรีสู่จังหวัดอุบลราชธานีแล้วล่ะ!

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น