แหงนหน้าขึ้นชมความงดงามของซุ้มประตูโขง ก่อนที่ผมจะเดินขึ้นไปยืนอยู่บนบริเวณที่ตั้งของวิหารหลังเปียง...
คำว่า "เปียง" หมายถึง "เสมอกัน" ชื่อ "วิหารหลังเปียง" จึงมีความหมายว่าวิหารที่มีหลังคาเรียบเสมอกัน ผมได้เห็นก็รู้สึกตื่นตาตื่นใจไปกับสถาปัตยกรรมการสร้างวิหารที่แตกต่างกับที่อื่น....
ประตูเล็กด้านข้างเปิดอยู่ เดินเข้าไปข้างในวิหารได้ เสียงฆ้องซึ่งถูกตีเบา ๆ ดังกังวานไปทั่ว...
วัดดอยน้อยได้รับเมตตาจากครูบาศรีวิชัยนำคณะศรัทธาสาธุชนมาสร้างพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยไว้ภายในวิหารหลังเปียง...
เว็บ lannapost.net ได้ให้ข้อมูลไว้น่าสนใจว่า...
พระอธิการ ชรัด อริโย เจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยน้อย เล่าถึงความเป็นมาของเงาพระธาตุที่พบว่า ในปี พ.ศ. ๒๕๔๘ ท่านพบเจอเงาพระธาตุโดยบังเอิญ ตอนนั้นท่านมานั่งสมาธิในวิหารแห่งนี้ ขณะนั้นประตูวิหารปิดหมด และพบว่ามีเงาสะท้อนที่พื้นเห็นนกจับที่พระธาตุก็แปลกใจ ไปดูตรงรูที่แสงลอดลงมาจึงพบว่าเป็นเงาสะท้อนพระธาตุนั้นเอง จากนั้นจึงได้สังเกตทั่ววิหารพบว่า จุดที่พบว่ามีเงาพระธาตุเรียกกันถึง ๕ เงา อยู่ด้านซ้ายมือพระประธานอีกเงา เป็นเงาขนาดใหญ่อยู่ด้านขวามือองค์พระประธาน นอกจากนี้ยังพบมีเงาซุ้มประตูโขงอีกหลายเงา จึงเก็บเงียบมาเกือบ ๑ ปี ก่อนที่จะบอกให้ศรัทธาทราบ นอกจากจะมีเงาพระธาตุแล้ว ยังมีรอยพระพุทธบาทฝังอยู่บนก้อนหินขนาดใหญ่ ให้พุทธศาสนิกชนที่นับถือเข้ามาสักการะอีกด้วยผมบันทึกภาพเงาซุ้มประตูโขงและเงาพระธาตุมาไว้เป็นหลักฐานด้วย....
ก่อนที่จะพาเพื่อน ๆ ชมด้านข้างพระวิหาร...
เป็นสถาปัตยกรรมวิหารทรงสี่เหลี่ยม ศิลปะปาละ ตกแต่งด้วยปูนปั้นรูปนักษัตร ๑๒ ราศี....
ด้านหลังพระวิหาร....
นำเรื่องวิหารหลังเปียงและเงาพระธาตุมาลงยาวหน่อย เพราะเห็นว่าเป็นของดีที่ไม่เหมือนใคร ผมอยากให้เพื่อน ๆ ไปเห็นด้วยตาตนเองครับ!
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น