วันพฤหัสบดีที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2558

วัดดอยน้อย อำเภอเกาะคา


ของดีมีอยู่ทั่วเมืองไทย วันนี้ผมขอแนะนำวัดดอยน้อย ที่บ้านนางแตน หมู่ ๑ ตำบลท่าผา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง...

จากสามแยกสะพานข้ามแม่น้ำวัง อำเภอเกาะคา ถ้าขับรถไปเรื่อย ๆ ตามทางหลวงชนบท ลป. 5006 ระยะทางประมาณ ๔ กิโลเมตรก็จะเห็นโรงเรียนบ้านนางแตนทางซ้ายมือ จากนัั้นให้คอยสังเกตทางด้านขวา ไปอีกไม่ไกลจะมีป้ายบอกทางเข้าวัดดอยน้อย เลี้ยวขวาเข้าไปตามถนนคอนกรีตขนาบข้างด้วยบรรยากาศท้องทุ่งงดงาม...



ประมาณ ๑ กิโลเมตรก็จะเห็นบันไดนาค ทางขึ้นสู่วัดดอยน้อย....


มีซุ้มป้ายชื่อวัดเห็นได้แต่ไกล....


แลต้นโพธิ์ซึ่งจะขาดเสียมิได้...


ถ้าสภาพร่างกายไม่อำนวยก็ไม่ต้องเดินขึ้นบันไดนาค เพื่อน ๆ ขับรถอ้อมไปด้านหลัง สามารถขึ้นไปถึงลานจอดเลยครับ...



เดินขึ้นไปข้างบนก็จะเห็นป้ายประวัติวัดพระธาตุดอยน้อยตั้งอยู่...


จักต้องอ่านเพื่อรู้ประวัติความเป็นมา...
ประวัติวัดพระธาตุดอยน้อยประวัติเดิมนั้นมีผูู้เฒ่าผู้แก่ได้อู้ได้เล่ากันมาว่าเป็นข๋วยตุ่นลำปาง ต่อมานาน ๆ เข้าข๋วยตุ่นก็มีต้นหญ้าต้นไม้เกิดขึ้นทั่วบริเวณชาวบ้านก็ได้เรียกกันว่า ดอย มีไม้ไผ่ ไม้ฮวก ไม้แงะ ไม้เปา เห็ดขอน เห็นดินเกิดขึ้น เป็นที่หาของป่าของชาวบ้าน ต่อมาในวันเดือน ๙ เป็ง ขึ้น ๑๕ ค่ำ พระพุทธองค์ได้เสด็จขึ้นมาดูบนดอยน้อย หลังจากที่ได้เสด็จไปปราบยักษ์ที่ม่อนปู่ยักษ์ และได้เสด็จไปจำศึลที่ม่อนจำศึลแล้วเสด็จไปที่วัดลำปางหลวง และเสด็จมาที่ดอยน้อยนี้อีก ก็พบคนเฒ่า ปู่และย่าสองผัวเมีย ได้เห็นพระพุทธองค์ทรงเสวยน้ำมิ้นเนรมิตเป็นบ้องไฟจี่ขึ้นที่ดอยก็เกิดความ อัศจรรย์ขึ้นโดยที่เกิดเมฆฝนบนท้องฟ้า ฟ้าร้อง ฟ้าคำราม และฝนก็ได้ตกลงมาอย่างหนักจนน้ำห้วยแก้วโป่งตู๋นไหลนองลงมาสู่ทุ่งนา ชาวบ้านก็ต่างปิติยินดีและได้ไถนาหว่านกล้า สองเฒ่าผัวเมียคือปู่และย่าก็ได้อู้จ๋ากั๋นว่าเป็นหน้าบุญของเฮามากนักและก็ ขอเอาเป็นประเพณีจิบ้องไฟสืบมา ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือน ๙ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ต่อมาชาวบ้านสบปรุง นางแตน บ้านใหม่ บ้านสองแควได้ปรึกษากับครูบาอาจารย์เจ้าตั้งหลายว่าสมควรย้ายวันประเพณีจาก เดิม ให้มาจัดในวันที่ ๑๗ เมษายน ของทุกปีหลังปีใหม่เมือง ต่อมาบนดอยน้อยได้มีป่าไม้อุดมสมบูรณ์ เป็นป่าหนาทึบและพระภิกษุที่แสวงหาความวิเวกได้ขึ้นมาปฏิบัติธรรม ได้มีชาวบ้านที่เลื่อมใสศรัทธาต่างพากันมาอุปฐากพระภิกษุโดยมาถากถางบริเวณ ป่าและสร้างกุฏิไม้ไผ่มุงด้วยหญ้าคาถวายพระภิกษุให้ท่านได้อยู่อาศัยเพื่อ ปฏิบัติธรรม พระภิกษุสงฆ์ก็ได้หมุนเวียนกันมาปฏิบัติธรรม บางช่วงก็รกร้างเพราะขาดพระภิกษุขึ้นมาพำนักอาศัย ต่อมามีพระภิกษุสงฆ์มาพำนักอาศัยปฏิบัติธรรมอีก ชาวบ้านและศรัทธาสาธุชนก็ได้สร้างเสนาสนะขึ้น เป็นต้นว่า กฺฏิและเจดีย์ เพื่อให้พุทธบริษัททั้งหลายได้เคารพกราบไหว้บูชา เมื่อเริ่มมีศาสนวัตถุและสิ่งก่อสร้างเกิดขึ้น คณะศรัทธาประชาชนก็ได้พร้อมใจ๋กันตั้งเป็นวัดขึ้น โดยตั้งชื่อว่าวัดดอยน้อย หรือบางคนเรียกว่าม่อนดอกด้าย เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๒๓๐ กาลต่อมา วัดดอยน้อยก็รกร้างเพราะขาดพระภิกษุสงฆ์มาพำนักอาศัย ศาสนวัตถุทั้งหลายเป็นต้นว่า กุฏิและเจดีย์ก็เสื่อมโทรมผุพังตามกาลเวลา ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๖๐ วัดดอยน้อยก็ได้รับการพัฒนาและบูรณะจากหลวงปู่ครูบาญาณรังสี สิงห์แก้ว ด้วยการสร้างถาวรวัตถุเพิ่มขึ้น และท่านก็จำพรรษาเรื่อยมา สำหรับหลวงปู่ครูบาญาณรังสี สิงห์แก้ว นั้นท่านได้ศึกษาธรรมและฝากตัวเป็นลูกศิษย์ของครูบาเจ้าศรีวิชัย และได้ชักชวนครูบาอภิชัยขาวปี วัดพระพุทธบาทผาหนาม อำเภอลี้ จังหวัดลำพูนให้มาร่วมสร้างพระเจดีย์ ใช้เงินทั้งสิ้น ๕๐๐ บาท ต่อมาหลวงปู่ครูบาญาณรังสี สิงห์แก้ว ได้ทำหนังสือแจ้งทางการไปตามลำดับ เพื่อขอให้ตั้งวัดดอยน้อยขึ้นเป็นวัดโดยสมบูรณ์ และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๑ ให้ชื่อว่า วัดดอยน้อย มีบริเวณพื้นที่ทั้งหมด ๖๕ ไร่ ๑ งาน ๔๔ ตารางวา สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย โดยมีหลวงปู่ครูบาญาณรังสี สิงห์แก้ว เป็นเจ้าอาวาสองค์แรก ในปี พ.ศ. ๒๔๗๐ ทางวัดดอยน้อยได้รับเมตตาจากครูบาศรีวิชัย ได้นำคณะศรัทธาสาธุชนทั้งหลายมาก่อสร้างพระวิหาร ขึ้นที่ทางทิศเหนือของพระเจดีย์ พร้อมทั้งสร้างพระพุทธรูปปูนปั้นประดิษฐานไว้ในพระวิหารโดยเรียกกันว่า วิหารหลังเปียง
ใกล้ ๆ กันคือ "อนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย" สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๐ เพื่อระลึกถึงคุณของครูบาศรีวิชัยที่ได้สร้างวัดและช่วยเหลือมาโดยตลอด...




ผมเดินรอบอุโบสถ ถ่ายภาพมาให้เพื่อน ๆ ดู...








พระอุโบสถวัดนี้มีลักษณะของ "ใบสีมา" หรือ "ใบเสมา" ที่ไม่เหมือนใคร เป็นเหมือนก้อนหินวางกำหนดเขตของสงฆ์...


หอธรรมหรือหอไตร...



หอระฆังดูเรียบง่าย ตั้งอยู่ข้างบันไดนาคขึ้นไปยังวิหารหลังเปียง...


ซุ้มประตูโขงตระหง่านอยู่นั่น...


เพื่อน ๆ เดินขึ้นไปด้วยกันเลยนะครับ....

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น