วันพฤหัสบดีที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ฝ่าลมหนาวแอ่วลาวเหนือ – สรุปค่าใช้จ่าย

ารเดินทาง “ฝ่าลมหนาวแอ่วลาวเหนือ” ของผมเริ่มต้นที่สถานีขนส่งเชียงใหม่ เช้าวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๖ และสิ้นสุดเมื่อเดินทางกลับสู่สถานีขนส่งเชียงใหม่อีกครั้ง วันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๖ เวลาประมาณหนึ่งทุ่ม รวมระยะเวลาของการแบกเป้ท่องโลกได้ ๘ วันเต็ม 


ผมใช้เวลาเกือบ ๒ เดือนเขียนเล่าให้เพื่อน ๆ อ่านในบล็อก “ฟังลุงน้ำชาคุย”  และจบลงตรงที่ได้กลับมาสู่ไออุ่นบนผืนแผ่นดินไทยอีกครั้งเมื่อวันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๖

วันนี้ผมขอสรุปค่าใช้จ่ายในการ “ฝ่าลมหนาวแอ่วลาวเหนือ” เพื่อให้เรื่องนี้สมบูรณ์   ค่าใช้จ่ายนั้นคิดรวมหมด ตั้งแต่ค่ารถ ค่าที่พัก ค่าอาหารน้ำดื่ม ค่าเช้าชมพิพิธภัณฑ์ ค่าเช่าจักรยาน ค่าไปรษณียบัตร และค่าเข้าห้องน้ำ อิอิ  ท่องโลก ๘ วัน… ผมได้เยือนหลวงน้ำทา เมืองสิง เมืองลอง เวียงภูคา นอนเชียงของ ๒ คืน และยังมีโอกาสได้แวะชมเมืองและเที่ยวงานดอกไม้บานที่เชียงรายก่อนกลับสู่เชียงใหม่  ค่าใช้จ่ายรวมทั้งสิ้น คือ ๓,๓๔๓ บาท เป็นค่าที่พัก ๑,๒๘๐ บาท (37%) ค่ารถ ๑,๖๘๙ บาท (50%) ค่าอาหารและอื่น ๆ ๔๒๔ บาท (13%)

 

เฉลี่ยแล้วตกวันละ ๔๑๘ บาทครับ!

วันพุธที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ฝ่าลมหนาวแอ่วลาวเหนือ – กลับเมืองไทย

ปรแกรม Google Maps ในโทรศัพท์ราคาสองพันกว่าบาทของผม แสดงให้เห็นเส้นทางจากเวียงภูคาที่จะกลับไปยังประเทศไทยว่าอยู่ไม่ไกลแล้ว…แค่ร้อยกว่ากิโลเมตร!

แต่ผมก็ยังหารถไปบ่อแก้วไม่ได้ ต้องนั่งรอตั้งแต่ ๘ โมงเช้า สายแล้วก็ยังไม่มีรถ!  หญิงวัยกลางคนหน้าตาดี เจ้าของร้านที่อยู่ติดกับสถานี่ขนส่ง (เรียกไปอย่างนั้นแหละ จริง ๆ แล้วก็ไม่อยากเรียกสักเท่าไหร่) และทำหน้าที่ขายปี้โดยสารไปด้วย บอกผมให้เฝ้าดูรถที่วิ่งมาจากหลวงน้ำทา ถ้าเห็นมาก็ให้รีบออกไปโบกมือ แต่คันแล้วคันเล่า ผมออกไปโบกแล้วก็ไม่เห็นจอดรับ รถที่มาจากจีน รถไทย ทั้งรถตู้รถบัส ไม่เห็นว่าจะชะลอ!

เธอปลอบใจว่าวันนี้ต้องได้ไปแน่ รถจากหลวงน้ำทาก็กำลังจะมา! มาจริง ๆ ด้วย แต่ดันไม่จอดรับ ผู้โดยสารที่จะไปน้ำทาได้ไปกันหมดแล้ว ตอนนี้เหลือผมคนเดียว รอรถไปบ่อแก้วมาได้ครึ่งวันแล้ว! ประมาณบ่ายสองโมงผมเห็นรถบัสวิ่งมาแต่ไกล รีบออกไปยืนโบก รู้สึกดีใจเมื่อเห็นรถชะลอแล้วจอด

ผมคว้าเป้ ตะโกนขอบคุณสาวลาวใจดี แล้วข้ามถนนไปขึ้นรถด้วยความยินดี  เอาเป้ไว้ข้างบน…

รถพาผมเดินทางสู่บ่อแก้ว  ข้างหน้าผมเห็นคนไทย ๓ คน สองคนเป็นหญิงนั่งอยูหลังคนขับ เธอคุยกันเสียงดัง ได้ยินถามคนขับว่าบ่อแก้วกับห้วยทรายที่เดียวกันหรือเปล่า?

วิ่งไปได้ไม่นานรถก็จอดริมทางให้ผู้โดยสารได้ “เบา” ผมก็เป็นอีกคนหนึ่งที่ไปร่วมให้ปุ๋ยยูเรียแก่ต้นกล้วย…

รถวิ่งต่อไป…

ผ่านบ้านเรือนหลายรูปแบบ…

รถซึ่งอาจจะสภาพดีกว่ารถเมล์เขียวที่วิ่งระหว่างลำปาง-เชึยงใหม่…แต่ไม่มากเท่าไหร่  เมื่อวิ่งขึ้นเขา…บางจุดสูงชันต้องคลานขึ้นช้า ๆ เครื่องส่งเสียงครวญครางปานว่าจะหลุดออกเป็นชิ้น ๆ  ผมแปลกใจยิ่งนักที่เห็นผู้โดยสารส่วนใหญ่ไม่สนใจการวิ่งของรถและสภาพของถนนหนทาง เห็นบางคนนั่งหลับ…

เขาไม่รู้เลยว่า ช่วงอันตรายคนขับต้องให้เด็กรถคอยดึงคันเกียร์ไว้ ในขณะใช้เท้ายันไปข้างหน้า คงเกรงว่าเกียร์จะหลุด!!  การเดินทางเช่นนี้ผมไม่เคยหลับ จะตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา ต้องคอยระวังตัว พร้อมเสมอสำหรับเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่คาดฝัน…

ในที่สุดก็ถึงจุดหมายปลายทางที่สถานีขนส่งบ้านห้วยทราย ผมลงจากรถแล้วตรงไปยังรถสองแถวที่จอดรออยู่ทันที  ถามว่าด่านปิดหรือยัง? สารถีลาวบอกว่าปิด ๔ ทุ่มโน่น ถามว่าไปด่านค่ารถเท่าไหร่? คำตอบคือ “๒๐ พัน” ผมคิดในใจว่านั่งรถร้อยกว่าหลักมาจากเวียงภูคา ขึ้นเขาด้วย เสีย ๒๐๐ บาท แต่เนี่ยแค่ไปสะพานฯ ไม่กี่หลักเอง ล่อตั้ง ๘๐ บาท! แต่ผมก็ไม่ได้พูดอะไร รีบเหวี่ยงเป้กระโดดขึ้นรถโดยไม่รีรอ  คนไทยอีก ๓ คนตามมา  ผมแกล้งทำเป็น backpacker ญี่ปุ่น นั่งเงียบ…เงี่ยหูฟังว่าคนไทยเค้าคุยอะไรกันบ้าง  ยังไม่ได้ทันได้ความ…รถก็ถึง ตม. ลาว!

ขาออกไม่ต้องทำอะไรมาก แค่เซ็นชื่อใน departure card ที่ได้เก็บรักษาแนบไว้กับหนังสือเดินทาง แล้วยื่นให้เจ้าหน้าที่  อ่อ…วันนี้เป็นวันอาทิตย์ ต้องจ่ายค่าล่วงเวลาให้เป็นพิเศษ ๕ พันกีบ เจ้าหน้าที่ประทับตราให้แล้วยื่นหนังสือเดินทางคืนให้ จากนั้นก็ไปซื้อตั๋วโดยสารรถบริการของลาวอีก ๗,๐๐๐ กีบ เพื่อข้ามสะพานไปยัง ตม.ไทย หุหุ…รถ บขส. ไทย ๒๐ บาทก็ว่าแพงแล้ว แต่รถของลาวกลับแพงกว่า!

ในที่สุดผมก็ได้ก้าวลงเหยียบผืนแผ่นดินไทย ต้องจ่ายค่าล่วงเวลาให้เจ้าหน้าที่ ตม.ไทยอีก ๒๐ บาท  งานนี้มีแต่ควักกระเป๋าจ่ายลูกเดียวครับ…พ่อแม่พี่น้อง!

การเดินทางฝ่าลมหนาวแอ่วลาวเหนือของผมก็จบลงด้วยประการฉะนี้แล

ฝ่าลมหนาวแอ่วลาวเหนือ – ท่ารถเวียงภูคา

๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๖ หลังจากเที่ยวชมตลาดเช้าจนอิ่มใจ ผมก็เดินกลับที่พัก จัดของลงเป้ สำรวจดูความเรียบร้อย ก่อนที่จะปิดประตูห้อง เช็คเอ้าท์แล้วเดินไปท่ารถ…   

 

หาท่ารถอยู่นาน ผมต้องถามชาวบ้านถึง ๓ ครั้ง ได้มาซึ่งคำตอบที่คล้าย ๆ กัน แต่ก็ใช่ว่าจะหาเจอง่าย ๆ สถานีขนส่งที่เมืองลอง ผมว่าเล็กแล้วนะ แต่ที่เวียงภูคากลับเล็กกว่า คงเป็นเพราะผมวาดภาพเกินจริงไว้มาก จึงได้มองข้ามไป เดินผ่านไปผ่านมา…หาสถานีขนส่งเวียงภูคาไม่เจอ!  จริง ๆ แล้วมันก็อยู่ตรงสี่แยกที่่จะไปตลาดนั่นแหละ….

เป็นห้องเล็ก ๆ หลบมุมอยู่ข้างถนน พอดีมีการขุดถนนวางท่อ ก็เลยทำให้คล้ายมีผีบังตา ผมไม่่รู้ว่านั่นคือ “ท่ารถ”!!

ทีแรกผมไม่เห็นแม้แต่ป้ายที่บอกว่า “สมาคมรถขนส่งโดยสาร เมืองเวียงภูคา แขวงหลวงน้ำทา”

เก้าอี้ผู้โดยสาร…

สาวเจ้าอยากจะนั่งยอง ๆ มากกว่า เธอกำลังจะไปน้ำทา…

หนุ่มคนนี้ก็จะไปน้ำทาเช่นกัน ดูท่าทางน่าจะเป็นไกด์…

มีชายคนหนึ่งเป็นคนภูคา  พอมาถึงก็บอกว่าจะไปบ่อแก้ว ผมดีใจที่จะมีเพื่อนร่วมทาง หลังจากรออยู่ประมาณ ๒ ชั่วโมง ไม่มีรถเค้าก็จากไป ทำให้ผมต้องลุ้นอยู่คนเดียวว่าวันนี้จะได้ไปบ่อแก้วหรือเปล่า?

 

สองแถวไปน้ำทามาแล้ว ไม่มีเวลาออกที่แน่นอน ไกด์หนุ่มแนะนำให้ผมกลับไปขึ้นรถที่น้ำทา สถานีขนส่งเวียงภูคาจะทำให้ผมจดจำไปจนตาย ไม่มีที่ไหนเทียบได้อีกแล้ว การได้ไปรอรถอยู่ที่นั่นนับเป็นรสเผ็ดมันของการเดินทางอย่างแท้จริง

เพื่อน ๆ มีโอกาส อย่าลืมแวะไปสัมผัสดูนะครับ!

วันอาทิตย์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ฝ่าลมหนาวแอ่วลาวเหนือ – ตลาดเช้าเวียงภูคา

๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๖…  เหลืออีก ๓ วันก็จะสิ้นปีแล้ว  ที่เฮือนพักในเวียงภูคา ผมตื่นขึ้นมาด้วยความคิดว่าวันนี้จะต้องเดินทางกลับเมืองไทยให้ได้!

แต่อยากเห็น “ตลาดเช้า” ก่อน…ผมตื่นแต่ไก่โห่ เดินจากเฮือนพักมุ่งหน้าไปตลาดที่เคยไปมาเมื่อวานนี้!  เห็นร้าน “ศาลาเบียร์” อยู่ตรงมุมถนน  สงสัยจังว่าเมื่อคืนนี้เค้าปิดกี่โมง?

อากาศหนาว!!!  ผมกำลังฝ่าลมหนาวแอ่วลาวเหนือจริง ๆ  (เพื่อน ๆ คงจะเห็นกองไฟที่ชาวบ้านก่อไว้ผิง)

เจ้า White Fang คงไม่หนาวสักเท่าไหร่ ตื่นเช้าซะด้วย!

ผมเก็บภาพที่ “ตลาดเช้า” มาให้เพื่อน ๆ ดังต่อไปนี้…

อี้ยยยยยยยยย!!….

ขอปิดเรื่องตลาดเช้าด้วยไออุ่นจากเปลวไฟที่เห็น…

แหม…มันอุ่นเข้าไปถึงทรวงเลยนะเนี่ย!!

วันศุกร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ฝ่าลมหนาวแอ่วลาวเหนือ – กาดแลงเวียงภูคา

บ้านผมเรียกตลาดตอนเย็น ๆ ว่า “กาดแลง”  เย็นวันนี้…ผมขอเดินดูในตลาดเวียงภูคาหน่อยว่าจะมีอะไรกินบ้าง?

เพื่อน ๆ ดูเองก็แล้วกัน….

เจอแย้ว… อีตุยกับข้าวต้มมัด นั่นผมกินได้!!

ซื้ออีตุย ๒ ลูก ๆ ละ ๕๐๐ กีบ และข้าวต้มมัด ๒ มัด ๆ ละ ๕๐๐ กีบ ผมจ่ายเงินให้แม่ค้าผู้มีลูกชายสุดหล่อ ๒ พันกีบ แล้วขอถ่ายรูปไว้ด้วย….

เดินไปอีกหน่อย เจอแม้ค้าขายหมี่และไข่ทรงเครื่อง  อืมมมมม….อย่างเนี้ยก็กินได้!  ซื้อหมี่ ๒ ห่อ ๆ ละ ๑,๐๐๐ กีบ ไข่ทรงเครื่อง ๑ ฟอง (๒,๐๐๐ กีบ) จ่ายด้วยใบ ๕ พัน เงินทอนเอาข้าวเกรียบราคา ๑,๐๐๐ แทนก็ได้!

กำลังจะเดินออกจากตลาด เห็นขนมปังกับนมข้น  คนขายถามว่า “ข้าวจี่บ๋อ?”  ผมส่ายหน้าปฏิเสธด้วยรอยยิ้ม

ได้เวลากลับแล้ว….ผมกดชัตเตอร์บันทึกภาพบอร์ดสำหรับนักท่องเที่ยวไว้ ก่อนที่จะก้าวย่างสู่ที่พัก!

หยุดถ่ายภาพที่ทำการบริษัททัวร์ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับเฮือนพัก (ยามอาทิตย์กำลังลับทิวไม้) ไว้อีก ๑ บาน  ถ้าใครอยากเดินป่า เข้าถ้ำ หรือล่องเรือ ตอนกลางวันก็ไปติดต่อเค้าได้….

สำหรับผมไม่อยากไปไหนต่อ เข้าที่พักไปหม่ำดีกว่า! มองเห็นสายน้ำจุกไหลเอื่อย…นักเดินทางผู้เหนื่อยล้านั่งกินอาหารเย็นมื้อละ ๗ พัน (๒๘ บาท)อยู่ตรงระเบียงห้องพัก นึกถึงเพลงของ “อ้ายมัย” ที่ว่า “สุขจริงอิงกระแสธารา…..”

ฝ่าลมหนาวแอ่วลาวเหนือคุ้มสุด ๆ… พรุ่งนี้นั่งรถกลับเมืองไทยได้แล้วมั้ง?