สำหรับผมแล้ว…การเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์ก็เหมือนกับการเข้าร้านหนังสือ ถ้ารีบร้อนหรือมีเวลาจำกัดก็จะเสพได้ไม่เต็มอิ่ม ๑๐ เมษายน ๒๕๕๖… เป็นครั้งแรกที่ได้มาเยือนพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงแสน ผมต้องทำเวลาเพราะมีเวลาน้อย แต่ก็ได้สัญญากับตัวเองว่า สักวันหนึ่งจะกลับมาเยี่ยมชมอีกครั้ง!
ศิลปะล้านนา ราวพุทธศตวรรษที่ 20 – 21
สำริด กว้าง 55 ซม. สูง 70 ซม.
เลขทะเบียน 8/2504
พบที่วัดเจดีย์หลวง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย แล้วนำไปที่วัดมุมเมือง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย
เปลวรัศมี คือ
สัญลักษณ์แห่งการตรัสรู้ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้หล่อด้วยสำริด
ภายในกลวง ลักษณะเป็นเปลวรัศมี 9 แฉก แต่ยอดตรงกลางหักหายไป
มีช่องสำหรับใส่หินมีค่าเพื่อประดับตกแต่ง
ฐานด้านล่างมีกลีบบัวหงายรองรับและมีเดือยสำหรับสวมลงบนเศียรพระพุทธรูป
มีผู้สันนิษฐานว่าเปลวรัศมีนี้เป็นของพระพุทธรูปสำริดขนาดใหญ่
ซึ่งจมลงใต้แม่น้ำโขง ดังปรากฏว่าตำนานและพงศาวดารได้กล่าวถึงวัดบน
“เกาะบัลลังตระการ” หรือ “เกาะดอนแท่น” กลางแม่น้ำโขงเมืองเชียงแสน
อันเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำริดขนาดใหญ่องค์หนึ่งที่อัญเชิญมาจากเมืองเชียงใหม่
เกาะนี้น่าจะถล่มจมลงในแม่น้ำโขงก่อน พ.ศ. 2347
ที่เมืองเชียงแสนถูกเผาทำลายในรัชสมัยพระบาทสมเด็จฯ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
ศิลปะล้านนา ราวพุทธศตวรรษที่ 20 – 21สำริด กว้าง 55 ซม. สูง 70 ซม.
เลขทะเบียน 8/2504
พบที่วัดเจดีย์หลวง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย แล้วนำไปที่วัดมุมเมือง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงรายเปลวรัศมี คือ สัญลักษณ์แห่งการตรัสรู้ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้หล่อด้วยสำริด ภายในกลวง ลักษณะเป็นเปลวรัศมี 9 แฉก แต่ยอดตรงกลางหักหายไป มีช่องสำหรับใส่หินมีค่าเพื่อประดับตกแต่ง ฐานด้านล่างมีกลีบบัวหงายรองรับและมีเดือยสำหรับสวมลงบนเศียรพระพุทธรูปมีผู้สันนิษฐานว่าเปลวรัศมีนี้เป็นของพระพุทธรูปสำริดขนาดใหญ่ ซึ่งจมลงใต้แม่น้ำโขง ดังปรากฏว่าตำนานและพงศาวดารได้กล่าวถึงวัดบน “เกาะบัลลังตระการ” หรือ “เกาะดอนแท่น” กลางแม่น้ำโขงเมืองเชียงแสน อันเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำริดขนาดใหญ่องค์หนึ่งที่อัญเชิญมาจากเมืองเชียงใหม่ เกาะนี้น่าจะถล่มจมลงในแม่น้ำโขงก่อน พ.ศ. 2347 ที่เมืองเชียงแสนถูกเผาทำลายในรัชสมัยพระบาทสมเด็จฯ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น