เว็บทัศนศึกษาออนไลน์ กล่าวเกี่ยวกับ "เขาหินปูน" ว่า...
"หินปูน" เป็นหินตะกอนที่พบมากทุกภาคในประเทศ โดยเฉพาะบริเวณภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคใต้ ลักษณะเขา ภูเขา และเทือกเขา ที่มียอดแหลม แนวสันเขาไม่เรียบ มักมีหน้าผาสูงชัน อาจเห็นโพรง และปากถ้ำ ล้วนเป็นลักษณะของเขา ภูเขา และเทือกเขาที่ประกอบด้วยหินปูน เขาหินปูนบางลูกอาจจะเห็นโพรงที่เกิดทะลุไปอีกด้านของเขา ซึ่งชาวบ้านจะตั้งชื่อเขาตามลักษณะของมัน เช่น เขาช่องกระจก และเขาทะลุ เขาหินปูนส่วนมากมีสีในโทนสีเทาจาง ถึงเทาเข้ม มักมีคราบสนิมสีน้ำตาล น้ำตาลเหลือง – ขาว เคลือบเป็นลาย บริเวณผิวของเขาหินปูนทั่วไป จะเกิดร่องและสัน เป็นแนวยาวขนานกันในแนวดิ่ง บางบริเวณจะพบผิวที่เป็นหลุมกลมขนาดเล็ก ติดต่อกันเป็นจำนวนมาก บริเวณขอบหลุมจะบางและคมแม่น้ำสุไหง-เคทิลอยู่ทางด้านขวามือ...
พบสะพาน (5) และเขาหินปูนอยู่ข้างหน้า....
ก่อนข้ามสะพาน ขอไปยืน (4) ถ่ายรูปไว้ก่อน ๑ บาน มีคนเดินอยู่ในลำน้ำด้วย...
จากนั้นก็กลับมาข้ามสะพาน คำว่า AWAS อ่านว่า "อาวาส" ภาษามาเลย์หมายถึง "ระวัง"
ผมเดินไปบนถนนที่ไม่มีรถวิ่งสวนมาแม้แต่คันเดียว...
เขาหินปูนยืนทะมึนขวางหน้าอยู่ตรงสามแยก ผมต้องเลี้ยวซ้ายแล้วเดินไปข้างหน้า...
ยังไม่ถึง ๑๐๐ เมตร ผมก็พบกับจุดที่จะถ่ายรูปเขาหินปูนมาให้เพื่อน ๆ ดู
ภายใต้เพดาน
ปากเขาหินปูนไร้ซึ่งสรรพสำเนียงใด ๆ
ถ้าจะได้ยินก็คงเป็นเสียงหัวใจเต้นและเสียงหายใจของตัวเอง...ในขณะที่ผมก้าว
เดินเข้าไป
เทวดาประจำเขาหินปูนลูกนี้คงต้องจดลงในสมุดบันทึกว่า วันที่ ๕ เมษายน ๒๕๕๘ มีคนไทยคนหนึ่งเหยียบย่ำเข้ามาถึงที่นี่!...
อย่างเนี้ยเลย...เขาหินปูน!
การมาเยือนเขาหินปูนครั้งนี้มีภาพที่ไม่อยากเห็น คือ ท่อนไม้ที่ถูกตัดทิ้งไว้ ลายสือของพวกมือบอน และขยะที่ถูกทิ้งขว้าง...
ผมกลับมานั่งพักบนชิงช้าข้างทาง...
"วัดไทยในบาลิง" คือจุดหมายต่อไป...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น