
อุโบสถวัดสวนตาล (7) เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก กว้าง 7 เมตร ยาว 12 เมตร ตั้งหันหน้าไปทางทิศตะวันออก อยู่ข้างพระเจดีย์ (5) ไม่ไกลจากวิหารหลวง (4)
สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2303 - 2325 ผมเห็นบันไดมกรคายนาคนำทางขึ้นสู่มุขหน้า...


แน่นอนว่าโบสถ์เก่าไดัรับการบูรณะฯ เรียบร้อยแล้ว สีสันที่แต่งเติมดูสดใส...

เก็บภาพมาฝากเพื่อน ๆ แล้วดังนี้...









อี่ลุง...ย่างข้ามธรณีประตู๋เข้าไปเล้ย
หันหลังเก็บภาพบานประตูสลักลายทวารบาลหน่อยครับ...


จากป้ายพระศรีอาริยเมตไตรย์ ปางนั่งพับเพียง ซึ่งตั้งอยู่หน้าอุโบสถ ผมพิมพ์บางส่วนมาให้เพื่อน ๆ แล้วดังนี้...
อุโบสถวัดสวนตาลเป็นโบราณสถานอีกแห่งหนึ่งที่มีความเป็นมาที่เก่าแก่โบราณ เพื่อใช้เป็นสถานที่ประกอบศาสนพิธี การบรรพชาอุปสมบทพระภิกษุสามเณร ผู้สืบทอดบวรพุทธศาสนามาอยางต่อเนื่องยาวนาน
ประวัติการก่อสร้างอุโบสถในครั้งแรกไม่ปรากฏหลักฐานสร้างขึ้นเมื่อใด เพียงแต่มีข้อสันนิษฐานจากองค์ประกอบของอุโบสถที่สำคัญ พอประมาณอายุการก่อสร้างของพระอุโบสถได้ จากสภาพฐานชุกชี พระประธานในพระอุโบสถมีสภาพที่เก่าแก่ดั้งเดิม ฐานของชุกชีบริเวณด้านหน้าจะมีการตกแต่งประดับประดากระจกแก้วหลากสีมีความสวยงามบ่งบอกความจริงว่าเป็นศิลปกรรมฝีมือเช่างพม่า ซึ่งอดีตวัดสวนตาลจะมีวัดม่านหรือวัดพม่าอยู่คู่กันมา ในสมัยที่พม่าแผ่ขยายอำนาจเข้ายึดครองเมืองเชียงใหม่และหัวเมืองล้านนาทั้งหมดต้องตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า เมืองน่านต้องตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าด้วย โดยมีการส่งขุนนางจากเชียงใหม่มาปกครองนับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๓๐๓ - ๒๓๒๘ รวมเวลา ๒๒๕ ปี ในระยะเวลานั้นได้นำช่างมาก่อสร้างวัดวาอารามในเมืองน่าน และหัวเมืองล้านนาอื่น ๆ ด้วย สถานที่ก่อสร้างอุโบสถตั้งขึ้นบริเวณกึ่งกลางระหว่างวัดสวนตาลกับวัดม่าน ซึ่งในอดีตทั้งสองวัดได้ใช้อุโบสถแห่งนี้ในการประกอบพิธีทางศาสนาร่วมกันมาโดยตลอด ข้อสันนิษฐานที่สำคัญอีกประการหนึ่ง เกี่ยวกับอายุของอุโบสถซึ่งได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์มาอย่างต่อเนื่องตามลำดับ ระหว่างการบูรณธได้ตราจพบว่ามีพระไม้แกะสลักเป็นรูปพระประธานลงรักปิดทองขนาดต่าง ๆ จำนวนมากที่เก็บรักษาไว้บนเพดานหลังคาอุโบสถมีคำจารึกอักขระภาษาล้านนาหรือตั๋วเมือง......
ภายในพระอุโบสถของวัดสวนตาลมีศิลปกรรมที่สำคัญและมีอยู่หนึ่งเดียวในล้านนาที่มีอายุเก่าแก่ และมีลักษณะที่แปลกจากที่อื่นคือ ที่ฐานชุกชีองค์พระประธานในอุโบสถมีการสร้างพระพุทธรูปเป็นพระพุทธเจ้าไว้ ๔ องค์ กับเทวดาทรงเครื่่องนั่งพับเพียบและเท้าแขนอยู่ในตำแหน่งสุดท้ายอีก ๑ องค์ พระพุทธรูปทั้ง ๔ องค์หมายถึงอดีตพระพุทะเจ้า คือ ๑.พระกกุสันธะพุทธเจ้า ๒.พระโกนาคมนพุทะเจ้า ๓.พระกัสสปพุทธเจ้า และ ๔.พระโคดมพุทธเจ้า การนำรูปเทวดาหรือรูปบุคคลธรรมดาขึ้นไปตั้งเป็นพระอันดับอยู่กับพระพุทธเจ้านั้น คงต้องเป็นบุคคลสำคัญในทางพุทธศาสนาและจะเป็นใครไปไม่ได้ นอกจากพระศรีอาริยเมตไตย์ซึ่งจะมาอุบัติเป็นพระพุทธเจ้าองค์ต่อไปในอนาคต




พระประธานปางมารวิชัย ขนาดหน้าตัก กว้าง 127 นิ้ว สูง 175 นิ้ว สร้างเมื่อ พ.ศ. 2440

หลังคาลดชั้น 2 ระดับ ด้านข้างมี 3 หน้าต่าง...



ด้านหลังผนังทึบเรียบง่าย...
โพสต์รูปมากมาย แต่ก็ไม่ลืม...ใบเสมา!

นับว่าโชคดีที่ได้มาเห็นครับ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น