วันจันทร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2568

วัดกู่อ้ายสี เวียงกุมกาม จ.เชียงใหม่

วัดกู่อ้ายสี เป็นวัดร้างตั้งอยู่หมู่ 11 บ้านช้างค้ำ ตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ พิกัด DD : 18.746849 N, 99.00469 E

 

ปั่นจักรยานมาจากวัดหัวหนอง ผมเห็นป้ายชี้ทางไปวัดกู่อ้ายสีแล้วหละ...

 

 

จากวัดหัวหนอง ลงมาทางทิศใต้ประมาณ 230 เมตรถึงวัดกู่อ้ายสี...ผมจอดจักรยานไว้ใต้ร่มริมทาง 


 

มีป้ายตั้งอยู่ อ่านหน่อยนะ...ผมพิมพ์ให้แล้ว

  

วัดกู่อ้ายสี

วัดนี้ตั้งอยู่บริเวณกลางเวียงกุมกาม ทางทิศใต้ของวัดหัวหนอง ชื่อโบราณสถานเรียกตามชื่อของเจ้าของที่ดินที่โบราณสถานตั้งอยู่ ไม่ปรากฏประวัติความเป็นมาในตำนานทางประวัติศาสตร์และเอกสารใด ๆ กรมศิลปากรดำเนินการขุดแต่งและบูรณะระหว่าง พ.ศ. ๒๕๔๒-๒๕๓๔
โบราณสถานประกอบด้วย วิหารตั้งอยู่ด้านหน้าเจดีย์ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก เจดีย์และวิหารมีรอยการก่อสร้างซ้อนทันกัน ๒ สมัย ด้านทิศใต้วิหารมีโบราณสถานที่ยังไม่ได้ขุดแต่งบูรณะ ๑ แห่ง วัดนี้ถูกบุกรุกทำลายเสียหายอย่างมาก เดิมอาจเป็นวัดที่มีความสำคัญอีกแห่งหนึ่งของเวียงกุมกาม เชื่อได้ว่าน่าจะมีส่วนประกอบทางสถาปัตยกรรมและอาคารอย่างอื่นอีกในบริเวณที่ยังคงฝังอยู่ในที่ดินของราษฎรโดยรอบ อย่างไรก็ตามสามารถกำหนดอายุสมัยวัดนี้ได้ว่าอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๑-๒๒
พระอาทิตย์เริ่มคล้อยต่ำ แสงเงาทอดยาว ยินดีที่มีแสง...ผมเก็บภาพมาฝากเพื่อน ๆ ทันที

เนื้อที่โบราณสถานวัดกู่อ้ายสีมีไม่มาก เป็นที่ลุ่มด้วย จากขอบถนนมีแผ่นไม้นำมาทอดวางให้เดินไปยังบันไดวิหาร...


ฐานข้อมูลแหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทยกล่าวว่า... 

วัดกู่อ้ายสีเป็นโบราณสถานร้าง ชื่อกู่อ้ายสี เป็นชื่อที่ชาวบ้านเรียกโบราณสถานแห่งนี้ เนื่องจากอยู่ติดกับที่ดินของนายสี กรมศิลปากรได้ดำเนินการขุดแต่งศึกษาโบราณสถานวัดกู่อ้ายสี ในปี พ.ศ. 2542 – 2543 (กรมศิลปากร 2548 : 69 – 70) พบข้อมูลของโบราณสถานและโบราณวัตถุ ประกอบด้วย เจดีย์ วิหาร แท่นบูชา และแนวกำแพงแก้วทางด้านทิศใต้ของวิหาร

ลักษณะทางสถาปัตยกรรม

 1. วิหารของวัดกู่อ้ายสี เป็นวิหารโถงในผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ยกเก็จด้านหน้า 2 ตอน ด้านหลัง 1 ตอน เพื่อเป็นห้องประดิษฐานพระประธาน มีการสร้างฐานชุกชีเต็มพื้นที่ห้อง ปรากฏร่องรอยการสร้างทับซ้อนกัน 2 สมัย ด้านหน้าวิหารมีบันไดทางขึ้น โครงสร้างหลังคาเป็นไม้ มุงด้วยกระเบื้องดินขอ

2. เจดีย์ของวัดกู่อ้ายสี อยู่ด้านหลังวิหาร ห่างประมาณ 4.8 เมตร เหลือเพียงส่วนฐานเขียงในผังสี่เหลี่ยมจตุรัส ปรากฏร่องรอยการสร้างซ้อนทับกัน 2 สมัยเช่นกัน ซึ่งสมัยหลังมีการขยายฐานเจดีย์ให้มีขนาดกว้างกว่าเดิม

เก็บภาพมาฝากเพื่อน ๆ แล้วดังนี้...

  


 



 

 


 
 
 

มีผังวัดกู่อ้ายสีมาให้เพื่อน ๆ ดูด้วย...


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น