วัดทาดอยแก้วมีศาลาครูบา (6) ตั้งอยู่ตรงข้ามกับวิหาร (1) และศาลาโครงเหล็ก (15)...
"หละปูนเมืองต๋นบุญ" ก็เหมือนกับอุบลราชธานีดินแดนอริยสงฆ์ ผมสัมผัสมาแล้วทั้งสองจังหวัด รู้สึกได้ถึงอารยธรรมวิถี วันนี้ได้มากราบนมัสการ ๔ ครูบาเจ้าที่วัดทาดอยแก้ว...
หนังสือ "อารยธรรมวิถี ๔ ครูบา : แนวคิดและกระบวนการพัฒนาสังคมในจังหวัดลําพูน" (Four Ways of Kruba Civilization: Concept and Social Development Process in Lamphun Province) โดย สามารถ บุญรัตน์ เขียนว่า...
ลําพูนมีพระอริยสงฆ์อยู่มากมายที่มีบทบาทด้านการเผยแผ่ และมีจริยา
วัตรที่เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวพุทธศาสนิกชนในลําพูนหลายรูป หลักคําสอน
หลักปฏิบัติของพระสงฆ์นั้น จนชาวลําพูนเลื่อมใสศรัทธา และนํามาเป็นวัตร
ปฏิบัติเป็นจารีตประเพณีสืบเนื่องมานาน พระอริยสงฆ์เหล่านั้น ชาวลําพูน
เรียกว่า “ครูบา”ซึ่งได้แก่ ครูบาเจ้าศรีวิชัย ,ครูบาวงค์ษาพัฒนา,ครูบาพรหมา,
ครูบาอภิชัยขาวปี เป็นต้น วัตรปฏิบัติและบทบาทด้านการเผยแผ่นั้นเป็นที่ประ
จักรแก่พุทธศาสนิกชนสังคมในลําพูน และล้านนามาช้านาน...จะเห็นได้ว่า ปฏิปทาและการประพฤติการปฏิบัติของครูบาทั้ง 4 ที่อาศัยใน
จังหวัดลําพูนได้มีส่วนสําคัญในการสร้างอารยธรรมมากมายในแง่ของความสงบสุข
ของสังคมที่ตั้งอยู่บนรากฐานแห่งศีลธรรม ความเจริญทางด้านสังคม ความเจริญ
ทางด้านวัตถุ รวมทั้งการสร้างรากฐานการประพฤติปฏิบัติของอนุชนรุ่นหลังที่
ยังคงสืบทอดเจตนารมณ์ของครูบา และความศรัทธาอย่างเหนียวแน่นในการหลัก
คําสอนของครูบา 4 มาเป็นเครื่องมือที่สําคัญในการพัฒนาสังคมแบบล้านนา...
ด้านกำแพงทิศตะวันออกมีพระประจำวัน (14) ประดิษฐานเรียงรายอยู่...
มีศาลาหมอชีวกด้วย วิกิพีเดียกล่าวว่า...
ชีวกโกมารภัจจ์ หรือ ชีวกกุมารภฤต มักย่อว่า ชีวกะ เป็นแพทย์ประจำพระองค์พระโคตมพุทธเจ้าและพระเจ้าพิมพิสารแห่งแคว้นมคธ อาศัยอยู่ในราชคฤห์ช่วง 600–500 ปีก่อนคริสตกาล มีชื่อเสียงอย่างมากในเรื่องเล่าขานของเอเชียในฐานะแพทย์ตัวอย่าง ทั้งได้รับยกย่องให้เป็นแพทย์ต้นแบบของแพทย์แผนโบราณในหลายประเทศแถบเอเชีย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น