วันอังคารที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2567

วิหารเก่าวัดปราสาท จ.เชียงใหม่

บราณสถานสำคัญของวัดปราสาท จังหวัดเชียงใหม่ คือวิหารเก่าแก่ศิลปะล้านนา
 
 
 
กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดขอบเขตไว้ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 96 ตอนที่ 167 ลงวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2522
 
 
 

วิกิพีเดียกล่าวว่า...
วิหารศิลปะล้านนา มีฐานรากเป็นก่ออิฐถือปูน ตัววิหารสร้างด้วยไม้สัก มีเสาพระวิหารเรียงรายภายในเป็นเสากลมลงรักปิดทองเพื่อทำหน้าที่รับขื่อประธานและขื่อคัดเสาทุกด้าน ในวิหารมีซุ้มโขงขนาดใหญ่ประดิษฐานพระประธาน ซุ้มโขงมีลวดลายปูนปั้นเป็นรูปหงส์คู่ตั้งอยู่ด้านข้าง มีพญานาคขมวดเป็นหางวน ขดเป็นลวดลายกระหนกขึ้นด้านบนและมีรูปลายกนกเป็นแบบลวดลายพระจันทร์แผ่กระจายรัศมีอยู่ตรงกลาง...
ภาพจากวิกิพีเดีย - ขอขอบคุณ

ภาพจากวิกิพีเดีย - ขอขอบคุณ


ลักษณะและองค์ประกอบของวิหาร
วิหารวัดปราสาท เป็นอาคารก่ออิฐฉาบปูน ยกพื้นสูง ผนังของวิหารเป็นผนังก่ออิฐฉาบปูน
และผนังไม้ ผนังห้องแรกสุดก่ออิฐฉาบปูนทึบ ห้องที่ 2-5 ด้านล่างเป็นผนังก่ออิฐฉาบปูนจนถึงท้องหน้าต่างด้านบนเป็นผนังลูกฟักไม้ ตรงกึ่งกลางผนังจะมีหน้าต่างบานเปิดประดับด้วยไม้กลึงเป็นซี่ ห้องที่ 6 เป็นผนังทึบไม่มีการตกแต่ง ผนังด้านหลังปิดทึบจนถึงบริเวณท้องคานของหน้าบันซึ่งเชื่อมต่อกับส่วนปราสาท รูปทรงหลังคา เป็นหลังคาทรงจั่วสูง หลังคาลาดเอียง คลุมตํ่า มีการซ้อนชั้นของหลังคาด้านหน้า 3 ชั้น ด้านหลัง 2 ชั้น ลักษณะหลังคาโค้งเล็กน้อย วัสดุมุงหลังคาเป็นกระเบื้องดินขอ ปั้นลมเป็นรูปนาคตรง
โครงสร้างวิหาร
โครงสร้างวิหารเป็นโครงสร้างเสาและคาน มีผนังปิดล้อมโดยรอบ ส่วนฐานรากก่ออิฐฉาบ
ปูน ผนังมีสองรูปแบบคือผนังก่ออิฐฉาบปูนและผนังไม้ โครงสร้างหลังคา เป็นโครงสร้างไม้แบบม้าต่างไหม เสาทั้งหมดเป็นเสาไม้ เสาคู่หน้าเป็นเสาแปดเหลี่ยม เสากลางเป็นเสาไม้กลมจะทําหน้าที่รับขื่อหลวง เป็นลักษณะขื่อคู่ โดยขื่อตัวล่างใช้สําหรับการตกแต่งและช่วยรับนํ้าหนัก ขื่อตัวบนจะตั้งเสาตุ๊กตาขึ้นไปรับขื่อชั้นที่สองและลักษณะเดียวกันในชั้นมาสามตามลําดับ ส่วนโครงสร้างหลังคาตับที่สอง ก็เช่นเดียวกับโครงสร้างหลังคาหลัก แต่จะเพิ่มเสาสะโก๋นแนบเสากลาง ตั้งขึ้นไปรับแปและแผงคอสองด้านบน แต่ละช่วงของการซ้อนชั้นจะมีการเสริมความแข็งแรงโดยทําลักษณะขื่อคู่เช่นเดียวกับหลังคาตับบน โดยมีเสารอบอาคารเป็นเสาไม้สี่เหลี่ยมรับโครงสร้างหลังคาส่วนนี้
การประดับตกแต่ง
ส่วนประดับที่สําคัญคือด้านหน้าของวิหารตกแต่งด้วยปูนปั้นติดรักกระแหนะ ปิดทอง
และประดับด้วยกระจกสี ซึ่งเป็นการประดับลวดลายโดยใช้พื้นที่ว่างภายในกรอบของโครงสร้างหลังคาจึงมองเห็นโครงสร้างม้าต่างไหมได้อย่างชัดเจน หูช้างมีลักษณะแตกต่างกันออกไปเช่น รูปกินรี หนุมาน นาค ทั้งหมดอยู่ในรูปทรงสามเหลี่ยมและมีลายเครือเถาประกอบอยู่ด้วย
* ที่มา - วิทยานิพนธ์ของนายพันธ์ศักดิ์ ภักดี สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปีการศึกษา 2544





 
ฃออภัยแฟลชเสีย ภายในวิหารมืดเกินกว่าที่จะเก็บรายละเอียดภายในได้



สัญญาว่าจะกลับมาเก็บภาพฝากเพื่อน ๆ อีกครั้ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น