ที่วัดพระพุทธบาทผาผึ้ง บ้านผาใต้ หมู่ที่ ๑ ตำบลแม่ลาน อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน... ผมกดชัตเตอร์เก็บภาพซุ้มประตูสวยไว้เมื่อเวลา ๑๓.๑๖ น.
ตาแก่เมืองรถม้าเดินไปยังวิหาร (4) ที่เห็นอยู่เบื้องหน้า...
จากวิหารพระนางจามเทวี มาที่พระเจดีย์สีขาว (5)...
ผศ.ชาญณรงค์ ศรีสุวรรณได้เขียนไว้ว่า...
เจดีย์ทรงปราสาท หมายถึงเจดีย์รูปทรงสี่เหลี่ยม ซ้อนชั้น คล้ายรูปทรงปราสาทหรือที่อยู่ของกษัตริย์ เจดีย์รูปทรงนี้เชื่อว่าพัฒนาการมาจากเจดีย์ทรงศิขรของอินเดีย ในช่วงต้นของวัฒนธรรมล้านนา นิยมสร้างเจดีย์ทรงปราสาทที่มีการซ้อนชั้นมีซุ้มประดิษฐานโดยรอบทุกชั้น ตัวอย่างเช่นเจดีย์เหลี่ยมที่วัดจามเทวี และเจดีย์เหลี่ยมที่วัดพระธาตุหริภุญไชย จ.ลำพูน เป็นต้น ต่อมาจึงพัฒนาการเป็นเจดีย์ทรงปราสาทที่มีเรือนธาตุและมีซุ้มประดิษฐานพระ พุทธรูปภายในชั้นเดียว และมีส่วนยอดทำเป็นเจดีย์องค์ระฆังขนาดเล็กซ้อนชั้นขึ้นไป ซึ่งถือว่าเป็นรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ของเจดีย์ทรงปราสาทล้านนา...ลักษณะของเจดีย์ทรงปราสาท ประกอบไปด้วยองค์ประกอบ ๓ ส่วนใหญ่ๆ คือ ส่วนฐาน ส่วนเรือนฐาน และส่วนยอด สำหรับส่วนฐานนั้นทำเป็นฐานรูปสี่เหลี่ยมเช่นเดียวกับกับเจดีย์ทรงกลม เรียกว่าฐานเขียง และมักทำซ้อนชั้น ๒-๓ ชั้น เหนือขึ้นไปเป็นส่วนเรือนธาตุรูปทรงสี่เหลี่ยม มีช่องเพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปทั้งสี่ด้าน เหนือขึ้นไปเป็นส่วนยอดซึ่งมักจำลองเอาส่วนยอดของเจดีย์ทรงกลมมาใช้ในลักษณะเดียวกัน.... ชาวล้านนามักเรียกว่า ธาตุ หรือ กู่ เหตุที่เรียกเนื่องจากส่วนใหญ่แล้วนิยมใช้บรรจุอัฐิธาตุทั้งสิ้น และคำว่า กู่ นั้น เข้าใจว่าเป็นคำที่มาจากภาษาพม่า เจดีย์ในศิลปะล้านนาที่สำคัญมีอยู่ด้วยกันสองแบบคือ เจดีย์ทรงระฆัง และ เจดีย์ทรงปราสาท แต่ยังมีเจดีย์แบบอื่นที่แตกต่างออกไปด้วยเช่นกัน
ที่มา เว็บศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนาเรือนยอด* มีประตูและหน้าต่างบานไม้แดง ล้อมรอบด้วยกำแพงแก้วด้านหน้ามีบันไดนาคเป็นทางขึ้น...
---------------------------------------------------------
* (น.) อาคารที่มีหลังคาเป็นเครื่องยอดแบบต่าง ๆ เช่น แบบมณฑป แบบยอดปรางค์ แบบยอดปราสาท แบบยอดมงกุฎ แบบยอดเจดีย์
ซูมเก็บภาพมาฝากเพื่อน ๆ แล้วดังนี้...
วิหารวัดพระพุทธบาทผาผึ้ง สร้างขึ้นแทนศาลาหลังเก่าเมื่อพ.ศ.๒๕๕๑-๒๕๕๕
ผมเห็นชื่อคุณพิมพ์ใจ ทองดี ผู้บริจาคช่วยสร้างทั้งวิหาร บานประตู และซุ้มใหญ่ตรงทางเข้า... สาธุ ๆๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น