วันพฤหัสบดีที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2563

วัดพระธาตุดวงเดียว อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน

วัดพระธาตุดวงเดียว (เวียงเจดีย์) ตั้งอยู่ที่บ้านพระธาตุห้าดวง หมู่ ๑๕ ตำบลลี้ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน...


จาก วัดหล่ายหิน (W1) บนทางหลวงหมายเลข 106 ผมปั่นจักรยาน ๑.๘ กิโลเมตรถึงวัดวัดพระธาตุดวงเดียว (W2)...


เห็นซุ้มประตูทางเข้างดงามยิ่งทางด้านซ้ายมือ...



ถนนคอนกรีตเรียงรายด้วยไฟประดับเสาหงษ์นำทางไปยังตัววัดซึ่งห่างเข้าไปไกลเกือบสุดสายตา...



museumthailand.com กล่าวว่า...
ในสมัยของพระนางจามรี ที่ได้หนีภัยสงครามจากหลวงพระบาง มาสร้างเมืองที่อำเภอลี้แห่งนี้ได้ตั้งสัจจะอธิษฐานว่า ถ้าจะได้สร้างเมืองที่นี่จริง ๆ เพื่อเป็นที่ลี้ภัย ก็ขออำนาจเทพยาดลจิต นำพญาช้างคู่บุญไปแสวงหาที่ตั้งบ้านเมืองด้วยเถิด เทพเทวาได้ดลใจให้พญาช้าง ขึ้นไปตามห้วยแม่แต๊ะที่มีแสงแดดสาดส่องและได้พบกับลูกแก้วลอยออกจากจอมปลวกใหญ่ มีแสงสว่างทั่วบริเวณนั้น ลอยออกไปและกลับมาอยู่ถึงห้าครั้งในค่ำคืนนั้น ระหว่างบริเวณวัดพระธาตุดวงเดียวและวัดพระธาตุห้าดวงในปัจจุบัน พระนางจามรีจึงเอานิมิตหมายอันดีนี้ สร้างให้เป็นเมืองและวัดขึ้นในสมัยนั้น  ปัจจุบันนี้ยังคงมีร่องรอยคันภูเวียงให้เห็นอยู่บ้างตามริมถนน ส่วนสิ่งปลูกสร้างภายในวัด รวมทั้งองค์พระธาตุดวงเดียว ล้วนสร้างขึ้นมาภายหลังโดยการนำของครูบาศรีวิชัย...

ตาแก่เมืองรถม้านำจักรยานจอดพิงต้นไม้ไว้... แล้วเดินเก็บภาพมาฝากเพื่อน ๆ












วัดนี้มีตู้ยาสามัญบริการญาติโยมตั้งไว้ด้วย...





museumthailand.com กล่าวว่า...
ในสมัยของพระนางจามรี ที่ได้หนีภัยสงครามจากหลวงพระบาง มาสร้างเมืองที่อำเภอลี้แห่งนี้ได้ตั้งสัจจะอธิษฐานว่า ถ้าจะได้สร้างเมืองที่นี่จริง ๆ เพื่อเป็นที่ลี้ภัย ก็ขออำนาจเทพยาดลจิต นำพญาช้างคู่บุญไปแสวงหาที่ตั้งบ้านเมืองด้วยเถิด เทพเทวาได้ดลใจให้พญาช้าง ขึ้นไปตามห้วยแม่แต๊ะที่มีแสงแดดสาดส่องและได้พบกับลูกแก้วลอยออกจากจอมปลวกใหญ่ มีแสงสว่างทั่วบริเวณนั้น ลอยออกไปและกลับมาอยู่ถึงห้าครั้งในค่ำคืนนั้น ระหว่างบริเวณวัดพระธาตุดวงเดียวและวัดพระธาตุห้าดวงในปัจจุบัน พระนางจามรีจึงเอานิมิตหมายอันดีนี้ สร้างให้เป็นเมืองและวัดขึ้นในสมัยนั้น  ปัจจุบันนี้ยังคงมีร่องรอยคันภูเวียงให้เห็นอยู่บ้างตามริมถนน ส่วนสิ่งปลูกสร้างภายในวัด รวมทั้งองค์พระธาตุดวงเดียว ล้วนสร้างขึ้นมาภายหลังโดยการนำของครูบาศรีวิชัย...
 ถ่ายภาพช้างเสี่ยงทายไว้หน่อย...




สร้างไว้สวยงามเป็นสัดส่วนด้วย "ระเบียงคด*" (3)
----------------------------------------------------------------------------------------------------- 
* ระเบียงคต คือระเบียงทางเดินที่มีหลังคาคลุมสร้างล้อมรอบสิ่งก่อสร้างประธาน มักมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยม ซึ่งวิหารคด
คือส่วนหนึ่งของสถาปัตยกรรมพุทธศาสนสถาน มีลักษณะเป็นวิหารล้อมรอบลานด้านในของวิหารหลัก คดเป็นข้อศอกตรงมุม
(ที่มา - ศัพทานุกรมโบราณคดี กรุงเทพฯ: สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร, ๒๕๕๐)...





ภาพจิตรกรรมบนระเบียงคด...









ไปดูโบสถ์และวิหารด้วยกันนะครับ!

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น