เดินอ้อมไปเข้าทางด้านหน้าวิหารด้านทิศตะวันออก ผมกดชัตเตอร์เก็บภาพบันไดนาคและซุ้มประตูวิหารไว้ก่อน...
เว็บ dannipparn.com กล่าวถึงประวัติความเป็นมาของพระวิหารไว้ดังนี้...
วิหารหลวงหลังแรกสร้างโดยพระนางติโลกจุฑา พระราชมารดาของพระเจ้าสามฝั่งแกน เมื่อปี พ.ศ. ๑๙๕๔ โดยหล่อพระอัฏฐารสพุทธปฏิมาประธาน และพระอัครสาวกโมคคัลลานะ สารีบุตรไว้ในวิหาร ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๐๑๗ พระเจ้าติโลกราชให้รื้อวิหารหลังเก่าแล้วสร้างวิหารหลังใหม่ขนาดกว้าง ๙ วา ยาว ๑๙ วาขึ้นแทนไม่ว่าใครก็ต้องเบิกตากว้างเมื่อได้เห็นความงดงามภายใน!
ในปี พ.ศ. ๒๐๕๘ พระเมืองแก้วก็ได้รื้อวิหารหลังเก่าแล้วสร้างขึ้นใหม่ในที่เก่าอีก จนถึงสมัยพระเมกุฏิสุทธิวงศ์ ได้เกิดไฟไหม้วิหารเสียหาย จึงต้องรื้อแล้วสร้างใหม่ทับที่เดิมอีก ยุคก่อนนั้นคงทำด้วยไม้ จึงมีการสร้างและรื้อถอนกันบ่อย ๆ ในยุคเจ้าหลวงอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ ๗ ราชวงศ์ทิพจักรก็ทำเช่นกัน...
ส่วนวิหารหลังปัจจุบันได้รับการสร้างขึ้นในยุคเจ้าแก้วนวรัฐ ผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ ๙ ในปี พ.ศ. ๒๔๗๑ ในปีถัดมาสร้างเป็นครั้งที่ ๖ ขยายให้มีขนาดใหญ่ขึ้นคือกว้าง ๑๗.๗๐ เมตร ยาว ๕๐.๘๐ เมตร ไม่ให้มีหลังคาที่มุขตรงบันไดทางขึ้นวิหารด้านเหนือและใต้เหมือนของเก่า ระเบียงหลังพระวิหารไม่มีหลังคา มุขหน้าหลังคาลดหลั่นเป็น ๔ ชั้น ผืนหลังคาซ้อน ๓ ตับ มุขหลังคาลดหลั่นเป็น ๒ ชั้น ผืนหลังคาซ้อน ๓ ตับ หน้าบันเป็นรูปช้างเอราวัณสามเศียร กล่าวได้ว่าเป็นรูปทรงสถาปัตยกรรมแบบรัตนโกสินทร์หรือแบบไทยภาคกลางหลังแรกที่มีในนครเชียงใหม่และล้านนาซึ่งถือว่าเป็นของแปลกในยุคนั้น การสร้างครั้งสุดท้าย (ที่ ๗) เริ่มเมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๐ ใช้เวลาถึง ๑๐ ปีจึงแล้วเสร็จ ทันทำบุญฉลองสมโภชในวันที่ ๒๘-๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๒...
กล่าวว่าตั้งแต่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๑๖ เป็นต้นมา พระวิหารหลวงที่เห็นจึงต้องเป็นทั้งพระวิหารและพระอุโบสถในหลังเดียวกัน เลิกใช้อุโบสถหลังเก่าที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของพระธาตุเจดีย์ ผมขอนำภาพอุโบสถหลังเก่ามาให้เพื่อน ๆ ดูด้วยดังนี้...
จากนี้ไปวิหารหลังใหม่คงไม่ต้องรื้อแล้วสร้างใหม่อีกแล้วนะครับ!
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น