วัดป้านปิง ตั้งอยู่เลขที่ ๑๙๔ ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่...
๒๔ มกราคม ๒๕๖๐ ผมปั่นจักรยานถึงวัดป้านปิงเมื่อเวลา ๑๑.๕๒ น.
คำว่า "ป้านปิง" หมายถึง "ขวางหรือกั้นกระแสน้ำปิงให้ไหลไปทางอื่น" ดูจากแผนที่แล้วพบว่าวัดป้านปิงนั้นตั้งอยู่ห่างจากแม่น้ำปิงมากทีเดียว ผู้รู้บางท่านสันนิษฐานว่าชื่อวัดอาจถูกเรียกเพี้ยนออกไปก็ได้...
วิกิพีเดียกล่าวว่า...
สันนิษฐานว่าวัดสร้างขึ้นในยุคต้นของอาณาจักรล้านนา ตั้งแต่สมัยพญามังรายจนถึงสมัยพญาแสนเมืองมา (ราว พ.ศ. ๑๘๓๙ - ๑๙๕๔) เมื่ออาณาจักรล้านนาล่มสลาย วัดต่าง ๆ จึงชำรุดทรุดโทรมลงรวมทั้งวัดป้านปิงด้วย จนกระทั่งถึงช่วงสถาปนาอาณาจักรล้านนาใหม่ ราว พ.ศ. ๒๓๒๖ ได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์ขึ้นมาใหม่
ดินจี่ฮ่ออิฐฐานกุฏิ ทางวัดขุดพบจากบริเวณซากฐานกุฏิโบราณเมื่อตอนจะสร้างกุฏิเจ้าอาวาสหลังใหม่เมื่อ พ.ศ. 2475 วัดที่พบอิฐเผาชนิดนี้มี วัดพวกแต้มในเขตกำแพงเมือง พบหลายสิบก้อนและพบอีกเล็กน้อยที่วัดอุโมงค์ เชิงดอยสุเทพ ความสำคัญคือช่างล้านนาโบราณจะใช้สร้างฐานโฮงหลวง (กุฏิเจ้าอาวาส) ซึ่งเป็นอิฐเผาที่เชื่อกันว่าช่างล้านนาเรียนรู้มาจากจีนฮ่อ มณฑลยูนานที่ติดต่อค้าขายกับอาณาจักรล้านนาในยุคต้นๆ จึงเรียกอิฐนี้ว่า ดินจี่ฮ่อ เป็นอิฐดินเผาแบบจีนฮ่อ มีประมาณ ๒๐ ก้อนที่อยู่สภาพดี แต่ละก้อนยาว ๖๐ ซม. กว้างและหนา ๒๘ ซม.
(ที่มา - templeofchiangmai.weebly.com)
มองจากในวิหารผ่านช่องหน้าต่าง...
เข้ามาอยู่ในวิหารแล้วครับ... เดี๋ยวถ่ายรูปให้ดู!
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น