วันพุธที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2563

จิตรกรรมฝาผนังวิหารวัดเจดีย์เหลี่ยม

สถานการณ์โควิดยังปิดเมือง คงเป็นเรื่องถ้าจะออกไปถ่ายภาพวัดวาอารามมาเพิ่มเติม ต้องขออนุญาตนำภาพที่ยังเหลือ ซึ่งมีอีกมากมาย มาโพสต์แก้ขัดไปก่อน...


วิหารวัดเจดีย์เหลี่ยมนอกจากดูสงบเงียบแล้ว...ภายในยังสวยงามด้วยภาพจิตรกรรมพุทธประวัติ


สำนักพิมพ์เมืองโบราณกล่าวว่า...
งานจิตรกรรมไทย คือภาพวาดที่นิยมเขียนตกแต่งภายในผนังพระอุโบสถหรือวิหาร รวมถึงตกแต่งผนังกรุหรือผนังซุ้มเจดีย์ที่ทำเป็นคูหาประดิษฐานพระพุทธรรูป ภาพจิตรกรรมไทยประเพณีนิยมวาดภาพพุทธประวัติตอนสำคัญ ทศชาติชาดก เทพชุมนุม...
ผมเก็บภาพมาฝากเพื่อน ๆ แล้วดังนี้...


 
 








 

แขวนประดับด้วยตุงลูกปัด ตุงฝ้ายถัก และตุงโคม...




ต้องแหงนหน้าดู!  ถ่ายรูปชุดนี้แล้ว...เห็นทีตาแก่เมืองรถม้าคงจะปวดคอเป็นแน่แท้

วันอังคารที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2563

วิหารวัดเจดีย์เหลี่ยม เชียงใหม่


วิหารหลังใหญ่ (3) ตั้งอยู่ตรงกับพระเจดีย์ (1)



หลังคาลดชั้น ๒ ระดับ...


บันไดนาคนำทางสู่มุขด้านหน้า...

  

ด้านหน้ามีสามช่องประตูพร้อมซุ้มงดงาม ประตูเล็กซ้ายขวาปิดอยู่ ส่วนประตูใหญ่ตรงกลางเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าไปดูในวิหารได้...


 
  
มองเวลาเที่ยงกว่า ๆ ตาแก่เมืองรถม้าเก็บภาพมาฝากเพื่อน ๆ แล้วดังนี้...


 









ออกมาเดินรอบ ๆ วิหาร...
  


บันไดตัวมอมนำทางขึ้นสู่มุขด้านหลัง ผมเห็นจิตรกรรมฝาผนังตรงกลางเป็นรูปพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ มีประตูออกด้านข้างซ้ายขวา ตรงกลางประดิษฐานพระพุทธรูปองค์ใหญ่องค์เล็ก....


 




 วิหารเสากลม อุโบสถเสาเหลี่ยม เดี๋ยวไปดูด้วยกันนะครับ!

วันจันทร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2563

พระธาตุเจดีย์เหลี่ยม


ป้ายเก่า "พระธาตุเจดีย์เหลี่ยม" ซึ่งดูโบราณมากตั้งอยู่นอกรั้ว ไม่ไกลจากป้ายใหม่บอกชื่อวัดเจดีย์เหลี่ยม (กู่คำหลวง) 




ข้อมูลจากหนังสือ "นำชมโบราณสถาน เวียงกุมกาม: ราชธานีแรกเริ่มของล้านนา" โดย นายไกรสิน อุ่นใจจินต์ ่กล่าวว่า...
พระบรมธาตุเจดีย์ วัดเจดีย์เหลี่ยม (กู่คำหลวง) บรรจุพระเกศาธาตุและพระบรมธาตุส่วนคางเบื้องขวาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเอาไว้ ลักษณะทางศิลปะสถาปัตยกรรมพระเจดีย์เหลี่ยม ซึ่งถือเป็นหลักฐานสำคัญแสดงถึงการรับอิทธิพลรูปแบบการก่อสร้างพุทธศาสนสถานจากแค้วนล้านนา ลักษณะเป็นเจดีย์ทรงมณฑปสี่เหลี่ยมลด ๕ ชั้นคล้ายทรงปิรามิด สร้างก่ออิฐฉาบปูนขาว ฐานล่างเป็นแบบเขียงสี่เหลี่ยมใหญ่ (เฉพาะตอนล่างก่อด้วยศิลาแลง) ล้อมรอบด้วยขอบเขตกำแพงแก้วทั้ง ๔ ด้าน ขนาด ๑๗.๔๕ X ๑๗.๔๕ เมตร
ตัวมณฑปก่อสร้างเป็นชั้นของห้องสี่เหลี่ยม บนชั้นย่อเก็จบัวคว่ำและหน้ากระดานท้องไม้ลูกแก้ว จำนวน ๕ ชั้น ขนาดลดหลั่นกันขึ้นไป มณฑปแต่ละชั้นทำซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปประทับยืนปางต่าง ๆ ด้านละ ๓ ซุ้ม รวมทั้งหมด ๖๐ ซุ้ม
ที่มุมฐานเขียงทั้ง ๔ ตั้งประดับด้วยประติมากรรมปูนปั้นลอยตัวรูปสิงห์ นั่งชันขาหน้าหันหน้าเหลียวออก ตอนกลางระหว่างสิงห์แต่ละด้านสร้างเป็นซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปประทับนั่งปางต่างๆ ในรูปแบบศิลปะแบบพม่า-พุกาม ที่นิยมทำซุ้มประกอบด้วยข้างซ้ายและขวา ตกแต่งกรอบและซุ้มด้วยลวดลายปูนปั้นพรรณพฤกษาแบบก้านดอกใบเกี่ยวกับสอดลอยตัวและลอยตามผ้านูนต่ำ และแบบพญานาค ๒ ตัวหางพันสลับชั้นกันขึ้นไป มุมตอนบนทั้ง ๔ ของมณฑปแต่ละชั้นประดับเจดีย์จำลอง ตกแต่งลายปูนปั้นยอดประดับฉัตรโลหะรวมจำนวน ๒๐ องค์

ตาแก่เมืองรถม้าเดินเก็บภาพมาฝากเพื่อน ๆ แล้วดังนี้...













 






ภาพเยอะหน่อยนะ... ตื่นตาตื่นใจที่ได้เห็นครับ!