อุโบสถวัดหลวง อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา ช่างงดงามยิ่งนัก...
หนังสือ "พุทธศิลป์ไทลื้อ" โดยโครงการพิพิธภัณฑ์และชาติพันธุ์ล้านนา สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หน้า ๑๓๗-๑๓๘ กล่าวว่า...
วิหารแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หันหน้าไปทางทิศตะวันออก พระพุทธรูปประดิษฐานอยูู่บนแท่นแก้วด้านในสุดของวิหาร มีส่วนน้อยที่วางแกนยาวในทิศเหนือ-ใต้ โครงสร้างวิหารจะตั้งขื่อไว้บนหัวเสาเรียงกัน ๒ ชั้น เรียกว่าโครงสร้างแบบม้าต่างไหม โดยเสาช่วงกลางจะยกหลังคาสูงกว่าเสาช่วงข้างที่เป็นโครงสร้างหลังคาชั้นสองที่ลาดต่ําลงมาก ในสมัยซ้องเรียกโครงสร้างนี้วว่า “จีนเซียงโต๋วตี่เฉา” หมายถึงการแบ่งผังเป็นสองส่วนด้วยการใช้เสาสองชั้น ลักษณะหลังคาแบบ โครงสร้างมม้าต่างไหมของสิบสองปันนานี้จะยกชั้นที่สองของโครงสร้างหลังคาสูงกว่าวิหารล้านนาจนเห็นแผงคอสองได้ชัดเจน แต่ลักษณะของช่วงคอสองที่ยกสูงนี้คล้ายกับโครงสร้างหลังคาวิหารของกลุ่มไทใหญ่ ซึ่งช่องว่างของคอสองนี้กว้างมากทั้งไทลื้อและไทใหญ่จึงได้เพิ่ม การประดับตกแต่งด้วยลวดลายต่างๆ
ลักษณะเด่นของวิหารไทลื้อคือ การนิยมตกแต่งเครื่องประดับหลังคาด้วยเซรามิคเป็นอย่างมาก สันหลังคา ตัวลํายองและสันตะเข็บชายคา ตกแต่งด้วยกระเบื้องเคลือบสีแดงเพลิงที่ เรียกว่า เมฆา หรือรูปใบไม้ม้วนที่เรียกว่า เมฆไหล ส่วนสันหลังคาด้านหน้ามีช่อฟ้ารูปสัตว์ต่าง ๆ เช่น ปลา หงส์ สิงห์ นกยูง นาค เป็นต้ ตรงกลางของสันหลังคาประดับด้วยปราสาทเฟื้อง รูปฉัตรสามชั้น ซึ่งส่วนประดังตกแต่งหลังคานี้แฝงความหมายในระบบจักรวาล เช่น ปราสาทที่อยู่บนยอดวิหารหมายถึงสวรรค์ เปรียบเสมือนวิหารเป็นวิมานบนสวรรค์ ลายเมฆไหลบนสันหลังคา หมายถึงเมฆบนท้องฟ้า รูปสัตว์ต่างๆ หมายถึงป่าหิมพานต์ เป็นต้น
ผมบันทึกภาพโดยรอบอุโบสถมาฝากเพื่อน ๆ แล้วดังนี้...
ออกจากวัดหลวงเมื่อเวลา ๙ นาฬิกา... ผมมุ่งหน้าสู่อุทยานไดโนเสาร์แก่งคอย!
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น