เว็บประเพณีไทยดอทคอมได้ให้ข้อมูลไว้ว่า...
พิธีสืบชะตาแม่น้ำประยุกต์มาจากพิธีสืบชะตาคนและสืบชะตาหมู่บ้าน มีความสำคัญดังนี้ที่บ้านวอแก้วพิธีกรรมมีอยู่ด้วยกัน ๓ จุดคือ ๑) ผากลางน้ำ ๒) หินสามเส้า และ ๓) หอเสื้อบ้าน
๑. ก่อให้เกิดความร่วมมือ ความสามัคคีและช่วยเหลือเกื้อกูลกันภายในชุมชน
๒. ทำให้เกิดความเลื่อมใส เคารพต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ปกป้องรักษาแม่น้ำ
๓. เกิดความรักหวงแหนและสำนึกในการดูแลรักษาแม่น้ำ ตลอดจนต้นน้ำลำธาร
พิธีกรรม
๑. ก่อนทำพิธีสืบชะตาแม่น้ำ ชาวบ้านจะร่วมแรงร่วมใจกัน ขุดลอกลำคลองและแหล่งน้ำ โดยใช้เครื่องไม้เครื่องมือพื้นบ้าน
๒. ในวันกระทำพิธีจะมีการบวงสรวงเทวดา เพื่อเป็นการขอขมาต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ปกปักรักษาแม่น้ำ
๓. เครื่องสืบชะตาประกอบด้วย กระโจมไม้สามขา ท่อนแสก เรียกว่าสะพานเงิน สะพานทอง อีกท่อนหนึ่ง จะผูกติดด้วยไม้ค้ำท่อนเล็ก ๆ จำนวนพอประมาณแต่ลงท้ายด้วยเลข ๙ เครื่องประกอบอื่น ๆ ได้แก่กระบอกน้ำ หน่อกล้วย อ้อย ลูกมะพร้าว หม้อเงิน หม้อทอง เทียนถุง เมี้ยง บุหรี่ หมากพลู ข้าวตอกดอกไม้รวมกันในด้ง บทสวดที่ใช้ในการสืบชะตาแม่น้ำ คือบทสืบชะตาหลวง (อินทชาตา, ชินบัญชร อัฏฐอุณหัสสและธรรมสาลาวิจารสูตร)
ผากลางน้ำ |
หินสามเส้า |
หอเสื้อบ้าน |
ประกอบด้วยพระสงฆ์ ๕ รูปและชาวบ้านอีกร่วมร้อย...
จุดเทียนสายในระหว่างการสวดสืบชะตา....
กำลังนำน้ำพุทธมนต์ไปพรมที่ "ผากลางน้ำ"
สิ้นเสียงสวด "สะทา โสตถี ภะวันตุ เตตตตตต..." ชาวบ้านได้รับพรกันแล้ว ก็เป็นอันว่าเสร็จพิธี
พระสงฆ์ฉันเพล...
ตามด้วยชาวบ้านและผู้ไปร่วมพิธี...
อาหารที่ชาวบ้านร่วมมือร่วมใจกันทำมาเลี้ยงนั้นมีมากมาย พร้อมทั้งขนมและผลไม้...
ขนมจีนน้ำเงี้ยวเชิญมาทางนี้...
ท้องฟ้าแจ่มใส แสงแดดจ้า แต่อากาศไม่ยักร้อน คงเป็นเพราะอยู่ในอ้อมกอดของขุนเขาและป่าไม้อุดมสมบูรณ์!
เสร็จจากนี่แล้ว...ชาวบ้านเริ่มเดินทางต่อไปยังจุดทำพิธีที่ "หินสามเส้า"
เพื่อน ๆ ตามไปด้วยกันนะ!
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น