วันอาทิตย์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2563

วัดสุวรรณาวาส พระนครศรีอยุธยา

ผมอยากจะเรียกวัดสุวรรณาวาส ตำบลท่าวาสุกี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยาว่า "วัดร้าง"...  คิดว่าน่าจะได้!



ดร. ประภัสสร์ ชูวิเชียรศิลป เขียนไว้ในนิตยสารวัฒนธรรม ฉบับเมษายน ๒๕๕๘ ว่า...
“วัดร้าง” โดยความหมายคือพุทธสถานที่หมดหน้าที่ใช้งานอย่างเป็นทางการไปแล้ว มีตั้งแต่การขาดพระสงฆ์จำพรรษาประจำวัด การถูกยุบรวมกับวัดอื่น ๆ ไปจนถึงถูกทำลายโดยภัยหายนะ สงคราม จนกระทั่งกลายเป็นเศษซากโบราณสถาน บางแห่งเหลือไว้เพียงชื่อและตำแหน่งที่จดจำต่อ ๆ กันมา
เราอาจคุ้นเคยกับ “วัดร้าง” ในรูปแบบของซากอิฐปูน สถูปเจดีย์ ที่กระจัดกระจายตามเมืองโบราณเช่น สุโขทัย ศรีสัชนาลัย ลพบุรี อยุธยา แต่สำหรับในเขตกรุงเทพมหานครทั้งสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา คือฝั่งธนบุรีและฝั่งพระนครอันเป็นเมืองหลวงของประเทศไทยในปัจจุบันนั้นยังมี “วัดร้าง” ตกค้างอยู่ในย่านชุมชนต่าง ๆ มากมาย ซึ่งเป็นที่รู้จักกันสำหรับคนในท้องถิ่น แต่สำหรับคนทั่วไปแล้วนับเป็นเรื่องค่อนข้างไกลตัวและเข้าถึงยาก
คั่นด้วยถนนชีกุน วัดสุวรรณาวาส วัดร้างที่ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์แล้ว อยู่หน้าโรงเรียนอนุบาลพระนครศรีอยุธยา




ตรงข้ามกับประตูทางเข้าวัดราชประดิษฐาน (1) ผมเห็นโบสถ์เก่า (2) และพระเจดีย์...



มองผ่านประตูเข้าไปเห็นพระประธาน (3) ผนังโบสถ์ด้านหลังไม่มีแล้ว เห็นทะลุไปจนถึงพระเจดีย์ด้านหลัง...


วัดนี้มีป้ายบรรยายขยายความ เพื่อน ๆ อ่านหน่อยนะ ผมพิมพ์ให้แล้ว...
วัดสุวรรณาวาส
Wat Suwannawas
        ตั้งอยู่ในเขตตำบลประตูชัย อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ภายในเกาะเมืองอยุธยาด้านทิศเหนือ วัดนี้ไม่ปรากฏหลักฐานความเป็นมาเกี่ยวกับการสร้างวัด
        ในสมัยอยุธยาวัดสุวรรณาวาสนี้ตั้งอยู่ในบริเวณย่านป่าตะกั่วและป่ามะพร้าว (ตลาดจำหน่ายสินค้าจำพวกตะกั่ว เครื่องจับปลาและมะพร้าวประเภทต่าง ๆ) และเป็นที่ตั้งของโรงช้างหลวง จึงสันนิษฐานได้ว่าวัดนี้อาจเป็นวัดที่ขุนนางผู้ใหญ่ซึ่งได้รับราชการอยู่ในกรมพระคชบาลสมัยอยุธยาเป็นผู้สร้างขึ้น เพื่อให้เป็นวัดประจำตระกูล
        จากหลักฐานทางด้านสถาปัตยกรรมที่ปรากฏภายในวัดคือ มีเจดีย์ประธานทรงระฆังกลมเป็นประธานของวัด และมีเจดีย์ทรงกลมบนฐานแปดเหลี่ยมแบบที่สร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้น จึงพอจะสันนิษฐานได้ว่าวัดนี้น่าจะสร้างขึ้นแล้วอย่างน้อยในสมัยอยุธยาตอนกลาง และมีร่องรอยการบูรณปฏิสังขรณ์ในสมัยอยุธยาตอนปลาย และรัตนโกสินตอนต้นรัชกาลสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว



เดินเก็บภาพมาฝากเพื่อน ๆ แล้วดังนี้...





























มีแต่รูป... โชคไม่ดีที่ผมไม่มีความรู้เรื่องกู่เรื่องเจดีย์ ไม่งั้นแล้วบล็อกนี้คงจะมีสาระกว่านี้เยอะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น