อาคารหลังนี้ไม่ปรากฏชื่อที่แท้จริงในเอกสารทางประวัติศาสตร์ แต่นักวิชาการในสมัยหลังได้สมมุติเรียกอาคารหลังนี้ว่า "ตำหนักพระพุทธโฆษาจารย์"
ในแผนผังวัดพุทไธศวรรษ์ที่เห็นก็ไม่ระบุตำหนักพระพุทธโฆษาจารย์ไว้...
อาคารหลังดังกล่าวไม่น่าที่จะเป็นตำหนักหรือเรือนที่พักได้
หากแต่พิจารณาจากตำแหน่งที่ตั้งถัดจากอุโบสถเหมือนกับอาคารทรงตึกที่วัดเจ้าย่า
จึงชวนให้คิดว่าอาคารหลังนี้น่าที่จะเป็นศาลาการเปรียญของวัด
putthaijatukam.com กล่าวว่า....
ตำหนักพระพุทธโฆษาจารย์ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเขต พุทธาวาส เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนทรงไทย ๒ ชั้น ลักษณะอาคารเป็นทรงเรือสำเภา ขนาดความยาว ๗ ห้อง ชั้นบนมีประตูทางเข้า ๓ ประตู อยู่ทางทิศเหนือ ทิศใต้ และทิศตะวันตก ด้านละ ๑ ประตู มีหน้าต่างรูปสี่เหลี่ยมผื่นผ้าอยู่ทางด้านทิศตะวันออก ๗ ช่อง ทิศตะวันตก ๖ ช่อง ภายในอาคารมีภาพจิตกรรมฝาผนังโดยรอบ ชั้นล่างของอาคารมีช่องประตูและหน้าต่างเหมือนกับขั้นบน แต่หน้าต่างมี ลักษณะเป็นซุ้มโค้งยอดแหลมภาพจิตกรรมในพระตำหนัก ทางด้านทิศเหนือหรือผนังด้านตัด เขียนเรื่องไตรภูมิโดยตอนบนสุดของผนังเขียนเป็นวิมารที่เรียงรายอยู่เป็นแถว ตลอดแนวผนั้งชั้นกลางเขียนเป็นเขาพระสุเมรุและเขาสัตตบรรพต แม่น้ำนทีสีทันดร ทางด้านทิศตะวันตกเป็นภาพป่าหิมพานต์ และการกำเนิดของแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ ๔ สาย ที่ไหลออกมาจากปาก ช้าง ม้า วัว และสิงห์ ตอนล่างของภาพแสดงขุมนรกต่าง ๆ ทางด้านทิศตะวันออกเป็นรูปพระเวสสันดร
จิตรกรรมฝาผนังวัดพุทไธศวรรย์Wat Buddhaisawan's Mural Paintings
ภาพจิตรกรรมภายในตำหนักสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ เป็นงานจิตรกรรมในสมัยอยุธยาที่ทรงคุณค่ายิ่ง เพราะเป็นการเขียนภาพที่บอกเล่าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ศาสนา สังคม และวัฒนธรรม ภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในตัวอาคารสามารถลำดับเรื่องราวได้ดังนี้ ผนังด้านทิศเหนือเขียนเป็นภาพไตรภูมิ ผนังด้านทิศใต้เขียนภาพพุทธประวัติตอนมารวิชัย ผนังด้านทิศตะวันตกเขียนเรื่องทศชาติชาดก และผนังทางด้านทิศตะวันออกเขียนเล่าเรื่องเกี่ยวกับประวัติสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์เสด็จไปนมัสการรอยพระพุทธบาท ณ ประเทศลังกา
ลักษณะของงานจิตรกรรมที่ตำหนักสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์นี้ จัดเป็นงานจิตรกรรมในช่วงสมัยอยุธยาตอนปลาย ซึ่งตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระเพทราชา ราวปี พ.ศ.๒๒๓๑ ถึงปี พ.ศ.๒๒๔๕
อยากรู้จังว่าช่วงน้ำท่วมใหญ่ปี ๕๔ ระดับน้ำจะอยู่สูงขนาดไหน?
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น