วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

พระอุโบสถวัดพุทไธศวรรษ์

 

พระอุโบสถวัดพุทไธศวรรษ์ มีใบเสมาขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของพระปรางค์ ลักษณะเช่นนี้เป็นการจัดวางแผนผังในสมัยอยุธยาตอนต้น...


ชายชราจากเมืองรถม้ารู้สึกตื่นตากับใบเสมาคู่ขนาดใหญ่...


เก็บภาพมาฝากเพื่อน ๆ ที่รักแล้วดังนี้....


ดูแผนผังประกอบด้วยนะครับ...

ภาพของ Heinrich Damm - ขอขอบคุณ

เว็บถนัดจัดทัวร์กล่าวว่า...
พระอุโบสถวัดพุทไธสวรรย์ ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตก ของปรางค์ประธาน นอกระเบียงคต มีแกนกลางอยู่ในแนวเดียวกันกับองค์ปรางค์และวิหารหลวง เป็นพระอุโบสถขนาดใหญ่ปานกลาง รูปทรงแบบสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาตอนต้น กว้าง ๑๕ เมตร หลังคาทรงไทย ๓ ตับ มีมุขด้านหน้า ๓ มุขโครงหลังคาทำด้วยไม้ มุงด้วยกระเบื้องยาว ๓๒ เมตร ดินเผาไม่เคลือบสี ผนังก่ออิฐฉาบปูน เดิมเป็นผนังตัน ผนังด้านนอกปั้นปูนเป็นรูปเสาอิง และมีบัวหัวเสาปูนปั้นประดับ ภายในเป็นเสากลมทำด้วยปูน มีบัวหัวเสาเป็นรูปดอกบัวหลายรูปแบบต่าง ๆ กันไป ภายนอกด้านหน้าพระอุโบสถ มีมุขโถงยื่นออกมาเป็นลักษณะระเบียง มีเสาลอยบัว หัวเสาปั้นปูนรูปตั้งรับน้ำหนัก มีบันไดทางขึ้นด้านทิศเหนือและทิศใต้ด้านละ ๑ บันได ภายในประดิษฐาน พระประธานและพระสาวก
พระอุโบสถ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ยาว ๓๒ เมตร กว้าง ๑๔ เมตร ฐานค่อนข้างตรงไม่แอ่นท้องสำเภาเหมือนอาคารในสมัยอยุธยาตอนปลาย รูปแบบแผนผังเช่นเดียวกับพระมหาวิหาร เพียงแต่ไม่มีมุขหลังที่ไปต่อเชื่อมกับพระระเบียง กล่าวคือ ทางด้านหน้ามีมุข มีทางขึ้น  ๒ ข้าง ด้านทิศเหนือและทิศใต้ ผนังรอบมุขทำเป็นกำแพงเตี้ย ๆ มีเสารองรับเครื่องบนหลังคา ๑ คู่ และมีประตูทางเข้าทางสู่ห้องกลางพระอุโบสถ ๓ ประตูเช่นเดียวกัน ที่ผนังด้านหลังมีประตู ๒ ประตู และบันไดลงสู่ลานโดยรอบพระอุโบสถ...
 


 

 




เข้าไปดูข้างในด้วยกันนะ..
.







 

เดินออก...ระวังหกขะล้มด้วยน้าาา


เดี๋ยวไปดูพระปรางค์ด้วยกันครับ...เพื่อน ๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น