วันอาทิตย์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

ห้องครรภธาตุ พระปรางค์วัดพุทไธศวรรษ์

มองขึ้นไปยังยอดพระปรางค์แล้วถามตัวเองว่าขึ้นไหวมั้ย?


มันไม่สูงเลยถ้าจะเทียบกับยอดปราสาทนครวัด...


มีหรือที่ตาแก่เมืองรถม้าจะไม่ขึ้น! ถึงตรงนี้แล้วยังไง ๆ ก็ต้องถ่อสังขารขึ้นไปให้ได้...


คนอื่นเค้าก็ยังขึ้นมาเลย....


เก็บภาพภายในมาฝากเพื่อน ๆ แล้วดังนี้...




เว็บถนัดจัดทัวร์ ให้ข้อมูลไว้ว่า...
พระเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่อยู่ในห้องครรภธาตุ* นั้น มีลักษณะรูปทรงฐานล่างเป็นแบบทรงปราสาทหรือพระปรางค์ ส่วนยอดขึ้นเป็นบัวกลุ่ม และอาจขึ้นเป็นรูปทรงแบบเจดีย์ทรงกลม ปัจจุบันแตกหายไปจนถึงชั้นบัวกลุ่มรองรับปากระฆัง เหลือแต่เพียงแกนของพระเจดีย์เท่านั้น...







มองลงไปข้างล่าง เก็บภาพจากมุมสูงไว้อีกหน่อย...



จากนั้นก็เกาะราวบันได...ก้าวขาสั่นลงไป

---------------------------------------------------------------------------------------------------
* ส่วนสำคัญของพระสถูปหรือพระปรางค์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุหรือพระธาตุไว้ภายใน

วันเสาร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

พระมหาธาตุ (ปรางค์ประธาน) วัดพุทไธศวรรษ์

อยู่ทางเหนือไม่ค่อยได้เห็นพระปรางค์...ผมต้องลงมาภาคกลาง อย่างเช่นที่วัดพุทไธศวรรษ์ในพระนครศรีอยุธยา


ตั้งอยู่ตรงกลางพื้นที่อันกว้างใหญ่ใกล้แม่น้ำเจ้าพระยา...ขอนำแผนผังมาให้เพื่อน ๆ ดูอีกที

ภาพของ Heinrich Damm - ขอขอบคุณ

มีระเบียงโดยรอบองค์พระมหาธาตุ ด้านนอกทึบ ส่วนด้านในมีเสารับเครื่องบนหลังคาและชายคาเป็นระยะ ๆ






 
ประดิษฐานพระพุทธรูปประทับนั่งเรียงอยู่โดยรอบ...




เว็บวัดพุทไธศวรรษ์ ซึ่งมีข้อมูลวัดพุทไธศวรรษ์ไว้อย่างละเอียด กล่าวว่า...
พระมหาธาตุ (ปรางค์ประธาน) องค์พระปรางค์ซึ่งเป็นประธานของวัด ตั้งหันหน้าไปสู่ทิศตะวันออก อยู่บนฐานไฟทีที่รองรับไปถึงมณฑปที่อยู่ทางด้านทิศเหนือและทิศใต้อีก ๒ หลัง ลักษณะโดยทั่วไปขององค์พระปรางค์ได้รับอิทธิพลรูปแบบของสถาปัตยกรรมมาจาก ปราสาทขอม ซึ่งเปรียบประดุจเขาพระสุเมรุ หรือเขาไกรลาสที่ประทับของเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ ในการสร้างปราสาทตามคติเดิมของขอม ได้จำลองตัวอาคารหรือเรีอนธาตุซ้อนกันเป็นชั้นๆ ขึ้นไปตามลำดับ ซึ่งก็คือ วิมานของเทพเจ้า และมีเทพผู้รักษาทิศอยู่ครบทุกด้าน ประจำอยู่ตามทิศต่าง ๆ  พระปรางค์ประธานองค์นี้จะมีห้องพระครรภธาตุ ภายในมีพระเจดีย์ทรงปราสาทยอดที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ มีประวัติว่าได้เริ่มสร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้นและมีอายุยืนยาวมาตลอดระยะเวลา ๔๑๗ ปี ของความเป็นราชธานีกรุงศรีอยุธยา...
 

เก็บภาพมาฝากเพื่อน ๆ แล้วดังนี้...














พระปรางค์หันหน้าสู่ทิศตะวันออก ตั้งอยู่บนฐานไพที*  มีความสูงจากระดับพื้นถึงยอดปรางค์ ๓๔ เมตร ความกว้างและความยาวที่ระดับฐาน ๑๕ เมตรและ ๒๕ เมตรตามลำดับ




เริ่มขาสั่นแล้วนะเนี่ย!!
---------------------------------------------------------------------------
* ฐานบัวควํ่าบัวหงายที่พระเจดีย์.

วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

พระอุโบสถวัดพุทไธศวรรษ์

 

พระอุโบสถวัดพุทไธศวรรษ์ มีใบเสมาขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของพระปรางค์ ลักษณะเช่นนี้เป็นการจัดวางแผนผังในสมัยอยุธยาตอนต้น...


ชายชราจากเมืองรถม้ารู้สึกตื่นตากับใบเสมาคู่ขนาดใหญ่...


เก็บภาพมาฝากเพื่อน ๆ ที่รักแล้วดังนี้....


ดูแผนผังประกอบด้วยนะครับ...

ภาพของ Heinrich Damm - ขอขอบคุณ

เว็บถนัดจัดทัวร์กล่าวว่า...
พระอุโบสถวัดพุทไธสวรรย์ ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตก ของปรางค์ประธาน นอกระเบียงคต มีแกนกลางอยู่ในแนวเดียวกันกับองค์ปรางค์และวิหารหลวง เป็นพระอุโบสถขนาดใหญ่ปานกลาง รูปทรงแบบสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาตอนต้น กว้าง ๑๕ เมตร หลังคาทรงไทย ๓ ตับ มีมุขด้านหน้า ๓ มุขโครงหลังคาทำด้วยไม้ มุงด้วยกระเบื้องยาว ๓๒ เมตร ดินเผาไม่เคลือบสี ผนังก่ออิฐฉาบปูน เดิมเป็นผนังตัน ผนังด้านนอกปั้นปูนเป็นรูปเสาอิง และมีบัวหัวเสาปูนปั้นประดับ ภายในเป็นเสากลมทำด้วยปูน มีบัวหัวเสาเป็นรูปดอกบัวหลายรูปแบบต่าง ๆ กันไป ภายนอกด้านหน้าพระอุโบสถ มีมุขโถงยื่นออกมาเป็นลักษณะระเบียง มีเสาลอยบัว หัวเสาปั้นปูนรูปตั้งรับน้ำหนัก มีบันไดทางขึ้นด้านทิศเหนือและทิศใต้ด้านละ ๑ บันได ภายในประดิษฐาน พระประธานและพระสาวก
พระอุโบสถ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ยาว ๓๒ เมตร กว้าง ๑๔ เมตร ฐานค่อนข้างตรงไม่แอ่นท้องสำเภาเหมือนอาคารในสมัยอยุธยาตอนปลาย รูปแบบแผนผังเช่นเดียวกับพระมหาวิหาร เพียงแต่ไม่มีมุขหลังที่ไปต่อเชื่อมกับพระระเบียง กล่าวคือ ทางด้านหน้ามีมุข มีทางขึ้น  ๒ ข้าง ด้านทิศเหนือและทิศใต้ ผนังรอบมุขทำเป็นกำแพงเตี้ย ๆ มีเสารองรับเครื่องบนหลังคา ๑ คู่ และมีประตูทางเข้าทางสู่ห้องกลางพระอุโบสถ ๓ ประตูเช่นเดียวกัน ที่ผนังด้านหลังมีประตู ๒ ประตู และบันไดลงสู่ลานโดยรอบพระอุโบสถ...
 


 

 




เข้าไปดูข้างในด้วยกันนะ..
.







 

เดินออก...ระวังหกขะล้มด้วยน้าาา


เดี๋ยวไปดูพระปรางค์ด้วยกันครับ...เพื่อน ๆ