วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

วัดท่ากระดาษ ต.ฟ้าฮ่าม อ.เมือง จ.เชียงใหม่


จากวัดสันทรายต้นกอก (1) ผมปั่นจักรยานย้อนกลับลงมาเที่ยวหาวัดท่ากระดาษ (2) คุณป้าแม่ค้ากล้วยแขกบอกว่าต้องเลี้ยวเข้าซอยด้านซ้ายมือ...


วัดท่ากระดาษตั้งอยู่เลขที่ ๓๘ ถนนฟ้าฮ่าม ตำบลฟ้าฮ่าม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50100 สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๑๙๓๔ สังกัดมหานิกาย มีพื้นที่ ๒ไร่ ๒งาน ๓๐ ตารางวา...



มาถึงแล้วครับ "วัดท่ากระดาษ" วัดซึ่งมีอดีต (เอาไว้เล่าให้ฟังทีหลัง) ผมไม่เห็นซุ้มประตูโขง มีแต่ประตูเข้าออกธรรมดาอารักขาโดยสิงห์คู่อยู่ซ้ายขวา...


จักรพงษ์ คำบุญเรือง ได้เขียนไว้ว่า...
พุทธศาสนิกชนชาวเชียงใหม่น้อยคนนักจะรู้จักชื่อเสียงของวัดท่ากระดาษ เนื่องจากเป็นวัดเล็ก ๆ ที่มีการบูรณะขึ้นใหม่เมื่อไม่นาน ทว่าหากจะนับอายุการสร้างวัดนี้ ในตำนานล้านนาไทยกล่าวว่า วัดท่ากระดาษสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าแสนเมืองมา แต่เดิมชื่อ "วัดท่าพลูเหลือง" เนื่องจากอยู่ติดริมแม่น้ำปิง เวลายามเย็นแสงแดดจะส่องต้นพลูที่ปลูกอยู่ริมน้ำจนสีเหลืองอมร ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "วัดท่ากระดาษ" ตามอาชีพการทำกระดาษของชาวบ้าน
"วัดท่ากระดาษ" อยู่เป็นร่มเงาแก่ชาวพุทธบ้านท่ากระดาษมาเป็นเวลาหลายร้อยปี กระทั่งช่วงเวลาหนึ่งได้ถูกทิ้งให้ร้างไปเนื่องจากเกิดสงครามพม่า ในหนังสือเชียงใหม่ในมโนสำนึก เขียนโดยสุพิน ฤทธิ์เพ็ญ กล่าวถึงวัดท่ากระดาษตอนหนึ่งว่า ย้อนหลังไปประมาณ ๑๗ ปีที่แล้ว (พ.ศ. ๒๕๒๙) วัดท่ากระดาษค่อนข้างจะทรุดโทรม ทั้งภายในและนอกวัด มีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่า “วัดนี้ผีดุ” เวลาเย็นโพล้เพล้ หรือ ใกล้สว่าง ชาวบ้านที่เดินผ่านไปมาบริเวณต้นโพธิ์หัวมุมวัดมักจะเจอของดีให้ได้ขนลุกขนพองสยองเกล้า จนเจ็บไข้ได้ป่วยเป็นราย ๆ

งดงามด้วยธรรมจักรเรียงรายอยู่บนรั้ว...

  
ผมนำจักรยานเข้าไปจอดไว้หน้ารูปปั้นเจ้าแม่กวนอิมขนาดใหญ่ (2) ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับวิหารหลวง (3)...



เก็บภาพมาฝากเพื่อน ๆ ก่อนเลย...




 เดินผ่านวิหารหลวงไปก่อน ข้างหน้า (5) นั่นอะไร? ต้องไปดู!


เห็นป้าย "ตำหนักกุฏิพิเศษสกลมหาสังฆปริณายก"  อ่อ...กุฏิพระสังฆราช (5) นั่นเอง!

 
 ข

ขยับไปน่าจะเป็นศาลาบำเพ็ญบุญ (6) มีหอระฆังตั้งอยู่ข้าง ๆ





รู้สึกตื่นตา...ไม่น่าเชื่อว่าวัดเล็ก ๆ ที่เคยเห็นเมื่อ ๕๐ ปีก่อน ตอนนี้มีอาคารสูงใหญ่อลังการ


 
  
๕ ทศวรรษผ่านไป.... ผมได้กลับมาวัดท่ากระดาษอีกครั้ง! 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น