จากสถานีรถไฟฉะเชิงเทรา (1) ผมปั่นจักรยาน ๓ กิโลเมตรไปยังวัดโสธรวรารามวรวิหาร (2) ...
ผมเข้าทางด้านประตูหน้า ล็อคจักรยานไว้กับม้านั่ง...
"วัดโสธรวรารามวรวิหาร" ตั้งอยู่ริมแม่น้ำบางปะกง ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา เดิมชื่อว่า วัดหงษ์ สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นที่ประดิษฐาน "หลวงพ่อโสธร" หรือ "หลวงพ่อพระพุทธโสธร" เป็นพระพุทธรูปสำคัญของจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นพระพุทธรูปหินทราย ๑๑ ชิ้น สมัยอยุธยาตอนต้น หน้าตักกว้างประมาณ ๑ ศอกเศษ ปางสมาธิ พระพักตร์ค่อนข้างกลมแป้น พระขนงโก่งเล็กน้อย พระเนตรเล็กหรี่ เหลือบลงต่ำ พระโอษฐ์เล็ก สีพระพักตร์ขรึมแบบอยุธยา ที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะเขมรแต่ได้เสริมแต่งขึ้นจากเดิมโดยพอกปูนในภายหลังและลงรักปิดทองให้เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิหน้าตักกว้าง ๓ ศอก ๕ นิ้ว ศิลปะล้านช้าง (ปัจจุบันกะเทาะปูนออกแล้ว)
เข้าไปในอุโบสถหลังใหม่ซึ่งใหญ่โตมาก ผมเก็บภาพมาฝากเพื่อน ๆ แล้วดังนี้...
มีป้ายบรรยายไว้ด้วยครับ อ่านหน่อยนะ ผมพิมพ์ให้แล้ว...
พระพุทธโสธรมีประวัติอันศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เลื่องลือด้วยว่าพระพุทธโสธรลอยตามแม่น้ำบางปะกง และผุดขึ้นที่บริเวณหน้าเมืองฉะเชิงเทรา ชาวบ้านได้ประกอบพิธีอัญเชิญขึ้นฝั่งแล้วนำมาประดิษฐานที่อุโบสถวัดโสธร เรียกกันว่า "หลวงพ่อโสธร" พระพุทธโสธรเป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยทองสำริดอย่างสวยงาม ปางสมาธิ หน้าตักกว้างศอกเศษ แต่สันนิษฐานว่าประมาณ พ.ศ. ๒๓๑๓ อันเป็นสมัยต้นกรุงธนบุรี พระสงฆ์ในวัดเกรงว่าจะมีผู้มาขโมยไปจึงให้ชาวล้านนานำปูนมาพอกเสริมหุ้มองค์เดิมไว้ภายในจนมีพุทธลักษณะดังที่ปรากฏในปัจจุบันคือเป็นพระพุทธปฏิมากร ปางสมาธิ ลงรักปิดทอง พระวรกายแบบเทวรูปพระพักตร์แบบศิลปะล้านนา พระเกตุมาลาแบบปลี ข้อพระกรขวามีกำไลรัดตริงทรงจีวรแนบเนื้อ มีความกว้างของพระเพลา ๓ ศอก ๕ นิ้ว สูง ๑.๙๓ เมตร ประทับอยู่เหนือรัตนบัลลังก์ ๔ ชั้น ซึ่งปูลาดด้วยผ้าทิพย์ อันมีความหมายถึงการอยู่สูงสุด เป็นพุทธเหนืออริยบุคคล ๔ คือ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ ประดิษฐานบนแท่นฐานชุกชีรายล้อมด้วยพระพุทธรูปปางอื่นอีก ๑๒ องค์
เดินดูด้านนอกด้วยกันนะครับ...
มีความสงสัยอยู่ว่าที่ผมเห็นคือซุ้มเสมาใช่หรือไม่? รูปทรงดูคล้ายหลอดไฟ
ถ้าใช่ก็นับว่าทันสมัยน่าดู!
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น