จากวัดกู่เสือผมปั่นจักรยานผ่านสี่แยกถนนรอบเมือง (121) เลี้ยวซ้ายเข้าซอยไปบ้านกองทราย...
ตรงไปยังซุ้มประตูโขง...บ่าย ๔ โมงพอดี!
เว็บนิราศหริภุญชัยกล่าวไว้ว่า...
วัดกองทรายเดิมชื่อว่า “วัดยางหนุ่ม” เพราะบริเวณที่สร้างวัดมีต้นไม้ยาง วัดนี้ได้สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าเม็งรายมหาราช สร้างเวียงกุมกาม โดยมีเจ้าแม่คำแพร เป็นผู้สร้างและต่อมากลายเป็นวัดร้าง จนกระทั่งได้มีท้าวก้อนสิทธิ แพทย์ประจำตำบลคนหนึ่ง ได้ชักชวนราษฎรสร้างวัดขึ้นใหม่ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๓๐ เนื่องจากการสร้างวัด ขุดตรงไหนก็เจอแต่ทราย จึงเปลี่ยนนามวัดใหม่เป็น "วัดกองทราย"ผมรู้สึกสับสนกับคำว่า "กอง" เพราะเคยเข้าใจว่า "กอง" ในที่นี้ ถ้าเป็นคำพื้นเมืองมีความหมายว่า "ซอยหรือทางเข้า" อย่างเช่น "บ้านปากกอง" หมายถึงหมู่บ้านที่อยู่ปากทาง - "เตียวเข้ากอง" คือ "เดินเข้าซอย" - "กองต้า" (ที่ลำปาง) คือ "ถนนท่าน้ำ"
หมู่บ้านซึ่งอยู่ไม่ไกลจากแม่น้ำปิงนี้ แต่ก่อนคงอุดมด้วยทรายและมีถนนเข้าออกที่เป็นทราย (หรืออาจมีทรายเป็นกอง ๆ) อันเป็นที่มาของชื่อ "บ้านกองทราย" ถ้าเป็นเช่นนั้นชื่อวัดน่าจะถูกเปลี่ยนให้เข้ากับชื่อของหมู่บ้านมากกว่า (ท่านใดทราบคำตอบที่แท้จริง...กรุณาชี้แจงด้วยน้า)
ผ่านซุ้มประตูโขงเข้าไป ผมหันหลังกลับไปถ่ายภาพเส้นทางมาจากทางหลวงเชียงใหม่-ลำพูน
เพื่อน ๆ สำรวจในวัดด้วยกันนะครับ...
พระเจดีย์อยู่หลังวิหารตามสูตรเป๊ะ...
หอระฆัง....
โชคดีวัดนี้สุนัขไม่ดุ!...
วัดต่อไปคือ "วัดดอนจืน" ต้องข้ามถนนไปฝั่งโน้นครับ!
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น