วันพุธที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 ผมเคยเขียนถึงอุโบสถวัดสถานีรถไฟ ตอนนั้นอยู่ระหว่างการก่อสร้าง...เห็นจุดที่เค้าเตรียมไว้ฝังลูกนิมิตรและตั้งซุ้มเสมา

ลูกนิมิตเตรียมรอไว้ทำการฝัง วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี กล่าวว่า...
นิมิต หมายถึงวัตถุที่เป็นเครื่องหมายบอกกำหนดเขตหรือแดนแห่งสีมา เป็นเครื่องหมายบอกเขตสีมาที่พระวินัยกำหนดให้ใช้ได้มี 8 อย่าง คือภูเขา ศิลา ป่าไม้ ต้นไม้ จอมปลวก หนทาง แม่น้ำ น้ำ แต่ที่นิยมกันมากที่สุดคือใช้ศิลาหรือหินเป็นนิมิต
นิมิตที่เป็นศิลาหรือสกัดศิลาให้มีลักษณะกลมเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 30-38 เซนติเมตร เรียกว่า ลูกนิมิต แต่ละสีมาจะใช้ 9 ลูก ก่อนทำสังฆกรรมผูกสีมานิยมจัดงานกันเอิกเกริกโดยถือกันว่าเป็นงานบุญใหญ่เรียกว่า งานปิดทองลูกนิมิต เมื่อทำพิธีตามพระวินัยเสร็จแล้วจะฝังศิลานิมิตนั้นลงไปในดินแล้วสร้างซุ้มครอบไว้ข้างบนโดยมี ใบสีมา เป็นเครื่องหมายสังเกตว่าลูกนิมิตอยู่ตรงนั้น แต่หากใบสีมาเป็นศิลาที่ใหญ่พอ และปักติดลงไปในดิน ก็ไม่จำเป็นต้องมีลูกนิมิต อุโบสถในภาคอีสานหรือสิม มักจะมีลูกนิมิตที่เป็นก้อนหินวางอยู่รอบโบสถ์ แต่ไม่มีใบเสมากำกับ...
วันวานนี้ผมมีโอกาสผ่านไปวัดสถานีรถไฟอีกครั้ง จึงแวะถ่ายภาพด้านหลังอุโบสถซึ่งสร้างเสร็จแล้วมาให้เพื่อน ๆ ได้ดู...


ถ่ายภาพซุ้มเสมาที่ตั้งอยู่ตรงกลาง...
สร้างเสร็จมาแล้วหลายปี...โบสถ์ทั้งหลังยังดูใหม่!!
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น