วันศุกร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568

เจดีย์ช้างล้อม วัดหัวหนอง เวียงกุมกาม

วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2568 ผมมีโอกาสได้มาดูเจดีย์ช้างล้อมที่วัดหัวหนอง...

เว็บ finearts.go.th อธิบายเกี่ยวกับเจดีย์ช้างล้อมว่า...
หลักฐานการสร้างประติมากรรมรูปช้างประดับที่ฐานเจดีย์นั้น พบครั้งแรกที่สถูปรุวันเวลิ ในประเทศศรีลังกา ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๔ ตรงกับสมัยอนุราธปุระ สร้างโดยพระเจ้าทุฏฐคามินีอภัย เมื่อครั้งที่พระองค์ชนะการกระทำยุทธหัตถีดับพระเจ้าเอฬาร กษัตริย์ทมิฬซึ่งเชื่อว่าเจดีย์/สถูปองค์นี้เป็นต้นแบบในการสร้งเจดีย์ช้างล้อมในดินแดนประเทศไทย
คติการสร้างเจดีย์ช้างล้อมนี้ มี ๒ แนวทาง คือ
๑. สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ในการชนะการทำสงคราม โดยเฉพาะการกระทำยุทธหัตถี ซึ่งเป็นคติจากสถูปรุวันเวลิของพระเจ้าทุฏฐคามินีอภัย
๒. เพื่อเป็นสัญลักษณ์แทนการเป็นศูนย์กลางจักรวาล โดยมีพระเจดีย์แทนพระจุฬามณีเจดีย์ ซึ่งตั้งอยู่บนเขาพระสุเมรุ มีช้างอยู่ประจำตามทิศเบื้องล่างลงไป
สำหรับเมืองศรีสัชนาลัย มีการสำรวจพบเจดีย์ที่ประดับฐานด้วยประติมากรรมรูปช้างอย่างน้อย ๕ แห่ง ได้แก่ เจดีย์ประธานวัดช้างล้อม เจดีย์ประธานวัดนางพญา เจดีย์ประธานวัดสวนสัก(องค์ใน) เจดีย์ประธานวัดศรีมหาโพธิ์(องค์นอก) และเจดีย์รายหมายเลข ๑๘ วัดเจดีย์เจ็ดแถว


เอกสารวิชาการของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ฉบับหนึ่งกล่าวว่า...
เจดีย์ช้างล้อมที่ปรากฏมีอยู่ในดินแดนล้านนาจะมีจำนวนอยู่ทั้งสิ้น ๑๑ แห่ง โดยกระจายอยู่ในพื้นที่ต่าง ๆ ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ ๗ แห่ง คือ เจดีย์วัดป่าแดง (ร้าง) พระเจดีย์หลวงวัดเจดีย์หลวง พระเจดีย์เชียงมั่นวัดเชียงมั่น เจดีย์ประธานวัดพระสิงห์วรมหาวิหาร เจดีย์ประธานวัดสวนดอก เจดีย์ประธานวัดหัวหนอง (ร้าง) และเจดีย์ประธานวัดช้างค้ำ ในบริเวณเวียงกุมกาม ที่เมืองเชียงแสน จังหวัดเชียงราย มีอยู่ ๒ แห่ง คือเจดีย์วัดช้างเผือกหรือช้างค้ำ (ร้าง) พระธาตุเจดีย์วัดพระธาตุภูข้างหรือปูเจ้า ที่จังหวัดน่านจำนวน ๑ แห่ง  คือ เจดีย์ประธานวัดช้างค้ำวรวิหาร และที่จังหวัดแพร่อีก ๑ แห่ง คือ เจดีย์ประธานวัดหลวง เป็นต้น
 
วัดหัวหนอง ตั้งอยู่ในเขตคูเมือง กำแพงเมืองค่อนไปทางทิศเหนืออยู่ลึกจากผิวดินปัจจุบัน ประมาณ 50 - 80 เซนติเมตร ประกอบด้วย ซุ้มประตูอุโบสถและมณฑป และวิหารใหญ่ องค์ประกอบเจดีย์ พบว่ามีการก่อสร้างเพิ่มเติมซ้อนทับกันมาอย่างน้อย 2 ครั้ง หลักฐานที่สำคัญคือเจดีย์หลังวิหาร เมื่อลอกฐานกระดานออกดูด้านหนึ่ง คือทางด้านทิศใต้มีปฏิมากรรมปูนปั้นรูปช้างคำหมอบรอบองค์เจดีย์... 
 
 
เก็บภาพฝากเพื่อน ๆ ดังนี้...
 









 


 
 
 


 
มีหญิงคนหนึ่งขับรถเก๋งมาเที่ยวชมเจดีย์ฯ...




ตาแก่เมืองรถม้าเก็บภาพพุ่มไม้สวยไว้อีกหนึ่งบาน ก่อนที่จะเดินไปสำรวจฐานวิหาร...
 

รู้สึกโชคดี...มีโอกาสได้เห็นเจดีย์ช้างล้อมมาหลายแห่งแล้ว!!

วัดพันเลา ต.หนองหอย อ.เมือง จ.เชียงใหม่

ากวัดเสาหิน (W1) ผมปั่นจักรยานระยะทางประมาณ 650 เมตร ถึงวัดพันเลา (W2) 

ผ่านสำนักงานเทศบาลตำบลหนองหอย...

 

 เห็นป้ายตั้งอยู่ด้านหน้า...

m-culture.in.th กล่าวว่า...

วัดพันเลา อยู่ในท้องที่ตำบลหนองหอย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นวัดร้างขื่อดั้งเดิมที่ชุมชนเรียกสืบทอดต่อกันมา คาดว่ามาจากชื่อวัดที่มีคำนำหน้าว่า “พัน” นำหน้านั้น น่าจะหมายถึง ยศทางทหาร หรือขุนนาง ที่เดิมวัดนี้อาจเป็นวัดอุปถัมภ์ของนายทหารหรือขุนนางชื่อ “เลา” ตั้งอยู่ริมถนนท่าวังตาลซึ่งอยู่นอกเวียงกุมกามทางด้านทิศเหนือ สภาพโบราณสถานมีการก่ออิฐกระจายหลายแห่ง พบชิ้นส่วนของพระพุทธรูป และสิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่ไม่สามารถระบุได้ชัดเจนว่าเป็นอะไร และยังคงคาดว่ามีอีกหลายวัดที่จมอยู่ใต้พื้นดิน และบ้านเรือนของชาวบ้านที่กำลังรอการบูรณะขึ้นมา

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี เสริมด้วยว่า...

วัดนี้ถูกขุดค้นระหว่างปี 2002 ถึง 2003 เผยให้เห็นโครงสร้างขนาดใหญ่กลุ่มหนึ่งที่มีรูปแบบที่ซับซ้อนซึ่งเชื่อกันว่าได้มาจากการเพิ่มพื้นที่ในบริเวณนั้น เมื่อเวลาผ่านไปโครงสร้างเหล่านี้อยู่ลึกลงไปเพียง 50 ซม. ใต้พื้นผิว เนื่องจากก่อนการขุดค้น บริเวณนั้นถูกทำลายโดยรถปราบดิน การสร้างถนน และการบุกรุกโดยที่อยู่อาศัย โบราณวัตถุค้นพบพระพุทธรูปสำริดลงรักปิดทอง สูง 27.2 ซม. ศิลปะเชียงแสนสมัยศตวรรษที่ 16 มีลวดลายปูนปั้นรูปเกลียวและดอกไม้ ราวบันได แบบตวงเงา (ภาษาไทยถิ่นเหนือ) เศษกระเบื้องหลังคาและชั้นของขอบเจดีย์ ที่โค้งมน หลักฐานบ่งชี้ว่าฐานรากขนาดใหญ่เป็นอาคารทางศาสนา ฐานรากแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มแกนตะวันออก-ตะวันตก และกลุ่มแกนตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้

 นำจักรยานเข้าจอดไว้แล้วเดินเก็บภาพมาฝากเพื่อน ๆ ทันที...



 
 










 
  

 
 
 
 
 
 
 
 
 
หอเสื้อวัดตั้งอยู่ตรงมุมนี้... 

 
 
 
 
เป็นวัดร้างซึ่งขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแล้วครับ...