หากเพื่อน ๆ ไปเยี่ยมชมวัดพม่า ถ้าได้ยินคำว่า "จอง" ก็หมายถึงวิหารนั่นเอง!
วิทยานิพนธ์ของคุณนัฏกานต์ ชัยพิพัฒน์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้เขียนถึงจองหรือวิหารของวัดไทใหญ่ไว้ดังนี้...
สถาปัตยกรรมทางศาสนาแบบไทใหญ่ที่พบในจังหวัดแม่ฮ่องสอนถูกนำเข้ามาจากชาวไทใหญ่ในรัฐฉานที่เข้ามาตั้งหลักแหล่งในบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอนตั้งแต่ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๔ลักษณะสถาปัตยกรรมและคติเกี่ยวกับรูปสัญลักษณ์ต่างๆในวัด ได้รับอิทธิพลและผสมผสานศิลปะพม่า-มอญ กับความเชื่อและประเพณีทางพระพุทธศาสนาของชาวไทยใหญ่ จองของไทใหญ่มีการวิวัฒนาการมาตั้งแต่ช่วงยุคพุทธศตวรรษที่ ๒๒ สมัยพระเจ้าบุเรงนองในราชวงศ์ตองอูแห่งพม่า จากการรับส่งอิทธิพลกับวัดที่อยู่ของพระสงฆ์ของพม่าและมอญในพม่าตอนล่าง รวมถึงสถาปัตยกรรมของล้านนา ลักษณะเฉพาะของจองในจังหวัดแม่ฮ่องสอน คือ สร้างด้วยไม้สัก ผังพื้นขนาดใหญ่ มีพื้นที่ที่ใช้เป็นส่วนพุทธาวาส และสังฆาวาสทั้งหมดในอาคารหลังเดียว หลังคาทอนผืนเล็กคลุมพื้นที่แต่ละส่วน มีหลังคาแบบยกคอสองซ้อนชั้นศิลปะไทใหญ่ เรียกว่า สองคอสามชาย และหลังคายอดปราสาทอิทธิพลพม่า รูปแบบของจองในวัดไทใหญ่ จังหวัดแม่ฮ่องสอนจากวัดที่เลือกศึกษาแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ จองของวัดในชนบท และจองของวัดในเมือง จองในชนบท มีการประดับตกแต่งหลังคาด้วยลวดลายฉลุสังกะสีหรือไม้ไม่มาก หรืออาจไม่มีองค์ประกอบตกแต่งเลย หลังคามักเป็นแบบยกคอสองทั้งหมด ส่วนวัดในเมืองจะมีการประดับตกแต่งมากกว่าและมีหลังคาแบบยอดปราสาทอยู่ด้วย
จองวัดไชยาทุ่งล้อม จ.ลำปาง ก็งดงาม คงไว้ซึ่งสถาปัตยกรรมเช่นเดียวกับในวัดพม่าอื่น ๆ
เสียดายที่ประตูวิหารปิดอยู่ ผมไม่มีโอกาสได้ดูข้างใน แต่ก็พอจะจินตนาการเห็นภาพ...
อยากจะให้เพื่อน ๆ ได้เห็นภาพพระประธานและภายในวิหาร จึงต้องขออนุญาตนำภาพจาก facebook แอ่วลำปางมาโพสต์ประกอบอีก ๒ บาน...
ภาพจาก facebook แอ่วลำปาง - ขอขอบคุณ |
ภาพจาก facebook แอ่วลำปาง - ขอขอบคุณ |
ตาแก่เมืองรถม้าคงได้แต่เก็บภาพภายนอกวิหารมาฝากเพื่อน ๆ ดังนี้...
จองด้านทิศใต้...
จองด้านทิศเหนือ...
มีใต้ถุนด้วยครับ เดี๋ยวไปแอบมองกันหน่อย...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น