วันจันทร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

ตุงไจยวัดป่าเป้า

ที่วัดป่าเป้า จังหวัดเชียงใหม่ ผมเห็นเสาตุงไจย (ธงชัย) สีทองตั้งอยู่ข้าง ๆ เจดีย์สร้างใหม่ พ.ศ. ๒๕๙๙....

กล่าวว่าชนชาติมอญมีการสร้าง "เสาหงส์" เป็นพุทธบูชามาตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ คือในปี พ.ศ. ๑๑๔๓  เปรียบเสมือน “เสาธง” ตามความเชื่อเรื่องการบูชาพระพุทธเจ้าด้วยธง...

ตุงล้านนา หมายถึงเครื่องใช้ในการประดับหรือใช้ในการประกอบพิธีกรรมอย่างหนึ่งของคนล้านนา คำว่า “ตุง” ตรงกับภาษาบาลีว่า “ปฏากะ” หรือ "ธงปฏาก"  มีลักษณะเป็นแผ่นวัตถุทำจากผ้าหรือไม้ก็ได้ ส่วนปลายจะแขวนห้อยเป็นแผ่นยาวลงมา

 

ตุงกระด้างมีลักษณะเป็นธงตะขาบ ทำด้วยแผ่นไม้ สังกะสี หรือวัสดุอื่น ประดับด้วยลวดลายวิจิตรบรรจง ที่สวนปลายทั้งสองด้านมักจะทำให้แหลมขนาดพอเหมาะใช้แขวนติดกับเสา ลวดลายที่แกะสลักบนตุงกระด้างได้แก่ ลายพฤกษา ลายดอกไม้ ลายนักษัตร สันนิษฐานว่า ตุงกระด้าง เป็นวัฒนธรรมที่ล้านนารับมาจากพม่า ชาวพม่านิยมสร้างตุงกระด้างสำหรับถวายแด่พระรัตนตรัยอย่างถาวร มักถวายเป็นคู่ไว้หน้าพระประธานหรือหน้าอุโบสถ วิหาร บางแห่งทำไว้กลางลานวัดหรือใกล้พระเจดีย์  

ตามตำนานกล่าวว่าสร้างขึ้นเพื่อบูชาพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งเสด็จลงมาจากดาวดึงส์ หลังไปเทศน์โปรดพุทธมารดา ดังนั้นบนยอดเสาธงจึงทำเป็นรูปสัตว์ต่างๆ ในวรรณคดี เช่น ช้างสามเศียร ม้า กินนร กินรีเป็นต้น ไม่จำเป็นต้องเป็นรูปหงส์ ส่วน “เสาหงส์” สร้างขึ้นตามตำนาน “หงสาวดี” ในอดีตวัดมอญจึงมีการสร้างเสาทั้ง ๒ ชนิด นั่นคือ เสาธง ๑ เสา และ เสาหงส์ ๑ เสา ภายหลังคงพิจารณาเห็นว่า เกิดความยุ่งยาก สิ้นเปลือง จึงรวมความเชื่อทั้งสองประการเข้าไว้ด้วยกัน เหลือเพียงเสาหงส์เสาเดียวใช้แขวนธงด้วย

(ที่มา - chiangmainews.co.th  และ thai.tourismthailand.org)

ผมขออนุญาตนำภาพจากอินเทอร์เน็ตมาให้เพื่อน ๆ ดูอีก ๒ บานดังนี้...

วัดช้างมูบ จ.เชียงรายสร้างโดยกลุ่มชนไทใหญ่ เมื่อ พ.ศ.2420 - ที่มา board.postjung.com

เสาหงส์วัดไจ๊ปุ่น เมืองพะโค (หงสาวดี) : ที่มา wp.me

นี่ครับที่ วัดป่าเป้า เสาตุงตั้งอยู่บนฐาน ๖ เหลี่่ยม...


 
 

คิดถึงอาจารย์ดำ (ดร.ธงชัย) อ่ะ น่าจะตั้งชื่อใหม่ว่า "อาจารย์ตุงไชย" 555 :)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น