วันพุธที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561

Vat Phou World Heritage Site

ปิดฉากทริปปั่นจักรยานไปจำปาสักเมื่อเดือนตุลาคม ๒๕๖๐ ผมขอเล่าเพียงเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยพร้อมรูปภาพแค่พออ้างอิงว่าได้เดินทางมาถึงแล้ว...


จากที่พัก "ด้วยรักจำปาสัก" ผมขี่จักรยานไปตามถนนสายใน (เลียบแม่น้ำโขง) ข้ามสะพานห้วยสระหัว เข้าเขตเมืองเก่า เลี้ยวขวาไปยังปราสาทหินวัดพู... 


Google Maps บอกไว้อย่างแม่นยำว่าระยะทางรวม ๑๑ กิโลเมตร ตรงตามที่ผมเห็นบนป้ายบอกระยะทางในช่วงขากลับ...


ผ่าน วัดทางคบ (2) (คลิกที่นี่ เพื่อดูรูป) ผมปั่นต่ออีกไม่ไกลก็ถึงจุดจำหน่ายบัตรเข้าชมแหล่งมรดกโลกวัดพู (Vat Phou World Heritage Site)...


นักท่องเที่ยวจ่ายหัวละ ๕ หมื่นเด้อ (๒๐๐ บาท)


มีบัตรแล้วก็ขี่จักรยานไปยังจุดหมาย...


ตรงปากทางเข้าเจ้าหน้าที่ขอดูบัตร ก่อนปล่อยให้เราผ่านเข้าไปจอดรถจักรยานล็อคเข้าไว้ด้วยกัน... 


จากนั้นก็ต้องใช้สองขาเดิน... ไกลแค่ไหนเพื่อนดูเองละกัน


จุดหมายขนาดซูมสุด ๆ แล้วยังเห็นแค่เนี้ยเอง...


วิกิพีเดียกล่าวว่า...
ปราสาทหินวัดพู เป็นโบราณสถานในประเทศลาว ซึ่งเป็นมรดกโลกแห่งที่สองของประเทศลาว เป็นโบสถ์พราหมณ์ที่สร้างถวายพระศิวะ ตั้งอยู่บนเนินเขาภู หรือเรียกกันว่าภูควาย ห่างจากตัวเมืองเก่าจำปาศักดิ์ประมาณ ๖ กิโลเมตร ลักษณะของปราสาทเป็นเทวสถานขอม คล้ายกับเขาพระวิหาร สร้างในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ในสมัยของพระเจ้ามเหนทรวรมัน ถือว่าเป็นปราสาทหินที่มีอายุเก่าแก่ที่สุด

ปราสาทหินแห่งนี้เก่าแก่กว่านครวัดนครธมอีกครับ ที่ผมเห็นคือก้อนหินขนาดยักษ์ที่วางอยู่สองข้างทาง...


รู้สึกมหัศจรรย์ใจเป็นอย่างยิ่งกับอารยธรรมขอมที่รุ่งเรืองและมีมาก่อนไทยเรา แท้จริงแล้วไม่ว่าจะเป็นลายสือ ภาษา ดนตรี และศิลปะการแสดงที่เราอ้างว่าเป็นของเรา ผมว่าเราน่าจะเอาของเค้ามามากกว่า  


ดูดิ... สิ่งที่เหลือตกทอดมาเป็นมรดกโลกถึงทุกวันนี้!  ในเว็บ dputhp.wordpress.com อาจารย์ธนกฤต ลออสุวรรณ ได้ให้ความรู้ไว้ว่า...
ปราสาทวัดพู มีแผนผังตามแนวแกนตะวันออกตะวันตก จากพื้นราบตัดขึ้นไปตามเชิงภูจนถึงลานตระพักชั้นบนสุดมีความสูง ๖๐๗ เมตรจากรระดับน้ำทะเล หากเดินจากจุดเริ่มต้นด้านหน้าปราสาททางทิศตะวันออก สิ่งแรกที่พบ คือ “บาราย” สระน้ำขนาดใหญ่มีขอบสระก่อด้วยหินทราย กว้าง ๒๐๐ เมตร ยาว ๖๐๐ เมตร เชื่อเว่าเป็นสระน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ใช้น้ำสำหรับประกอบพิธีกรรมต่างๆ ชาวลาวนิยมเรียกว่า “หนองสระ” สมัยก่อนเคยมีศาลารับเสด็จเจ้ามหาชีวิต (กษัตริย์ลาว) บนฐานหินเดิม สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๐ ปัจจุบันถูกรื้อถอนออกไปแล้ว
จากนั้น จะเป็นทางเดินขึ้นยาว ระยะทาง ๒๘๐ เมตร ปูพื้นด้วยหินทราย ขอบทางเดินตั้งเสาหินรูปดอกบัวทั้งสองข้าง เรียกว่า “เสานางเรียง” ซึ่งเป็นเสาหินที่ใช้ปักกำหนดขอบเขตทางเดินว่า พื้นที่ระหว่างช่วงเสานี้สงวนไว้เฉพาะขบวนเสด็จของกษัตริยืและชนชั้นสูงเท่านั้น (ลักษณะคล้ายทางเดินที่ปราสาทพนมรุ้ง) ทางเดินดังกล่าวมีไปจนถึงลานชั้นที่ ๑ คือที่ตั้งของอาคารแผนผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ๒ หลังขนาบข้างทางเดินซ้ายขวา... 







เดินกันไกลเลยล่ะ กว่าจะถึงปราสาทหินที่อยู่เบื้องหน้า...



ผมเบิกตากว้างกับภาพที่เห็น...

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น