มีศาลหลักเมือง (Chiang Mai City Pillar) ตั้งอยู่ทางด้านซ้ายมือ เป็นวิหารจตุรมุขศิลปะแบบล้านนาประยุกต์ จุดแรกที่จะต้องแวะไปดูก่อน...
"เสาอินทขิล" ตั้งอยู่ใจกลาง เว็บศูนย์สนเทศภาคเหนือกล่าวว่า...
ด้านหน้าพระวิหารหลวง เป็นที่ตั้งของเสาอินทขิลหรือเสาหลักเมือง เสานี้ก่อด้วยอิฐถือปูน และกล่าวว่า แต่เดิมอยู่ที่วัดสะดือเมือง (หรือวัดอินทขิล) ซึ่งเป็นที่ตั้งหอประชุมติโลกราชข้างศาลากลางหลังเก่า ครั้นต่อมาในสมัยพระเจ้ากาวิละครองเมืองเชียงใหม่ ให้ย้ายเสาอินทขิลมาไว้ที่วัดเจดีย์หลวง และได้บูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ พร้อมทั้งสร้างวิหารครอบไว้เมือปี พ.ศ. ๒๓๔๓ ต่อมาวิหารอินทขิลได้ชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา พอปี พ.ศ. ๒๔๙๖ ครูบาขาวปี นักบุญแห่งล้านนาไทยอีกท่านหนึ่ง ได้สร้างวิหารอินทขิลขึ้นใหม่ในรูปทรงที่เห็นในปัจจุบัน
มีป้ายห้ามเข้าตั้งอยู่... สุภาพสตรีเข้าไปข้างในไม่ได้!
พร้อมป้ายชี้แจงเหตุผลให้ทราบดังนี้...
เสาอินทขีล เป็นเสาหลักเมืองของเชียงใหม่ เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธ์ที่ชาวไทยโดยเฉพาะชาวเชียงใหม่ให้ความเคารพ ถือเป็นหลักยึดเหนี่ยวจิตใจของเมือง ภายใต้ฐานเสาอินทขีลบรรจุเครื่องสักการะไว้เป็นจำนวนมาก จึงมีข้อห้ามสำหรับสตรีไม่ว่าชาติศาสนาใดขี้นไปบนวิหารอินทขีล เพราะสตรีมีประจำเดือน มีความเชื่อว่าจะเป็นการลบหลู่และทำลายความศักดิ์สิทธิ์ของเสาอินทขีล แม้แต่ผู้ชายที่แต่งตัวไม่เรียบร้อยและไม่เคารพก็ไม่ควรขึ้นบนวิหารเสาอินทขีล และเชื่อว่าหากมีการฝ่าฝืนจะทำให้บ้านเมืองเกิดเภทภัย
เสียดายที่สาว ๆ ไม่ได้เข้าไปเห็นภาพจิตรกรรมฝาหนังอันงดงาม...
ขอให้ผมได้ทำหน้าที่เก็บภาพมาฝากก็แล้วกัน...